วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ตรวจจับแก๊สรั่ว สำหรับ LPG Gas Station




ตามประกาศกระทรวงพลังงาน "เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 สำหรับสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ พ.ศ. 2554"
กำหนดให้สถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่มีปริมาณการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวรวมกันเกิน 500 กิโลกรัม ต้องติดตั้งเครื่องส่งเสียงดังเมื่อก๊าซรั่วไว้ที่บริเวณที่ตั้งก๊าซหุงต้ม หรือถังเก็บและจ่ายก๊าซ อย่างน้อยบริเวณละหนึ่งเครื่อง

วันนี้เลยขอหยิบยกเรื่องการตั้งค่าการแจ้งเตือนของอุปกรณ์ตรวจจับแก๊สรั่ว (Gas Leak Detector) ฝากกัน เพราะที่ผ่านมา จากประสบการณ์ที่ตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าว พบว่า การตั้งค่าระดับการแจ้งเตือนยังไม่สอดคล้องกับคุณสมบัติของ LPG Gas ซึ่งพบอยู่หลายที่เลย

สำหรับค่าขีดจำกัดการติดไฟ ของ LPG จะมีค่าอยู่ระหว่า 2-12 Vol% ดังนั้นการตั้งค่าการแจ้งเตือนของ Gas Detector จะต้องตั้งไว้ในช่วงดังกล่าว (แต่ถ้าดูใน MSDS ของ ปตท. ค่าจะอยู่ระหว่าง 2-9 Vol%)

เพราะปริมาณก๊าซที่รั่วไหล ถ้ามากหรือน้อยกว่าช่วง นี้แล้ว ก็จะไม่เกิดการระเบิด

ก็ลองตรวจเช็คกันดูนะครับว่าอาคารของเราตั้งค่ากันถูกหรือเปล่า และสำหรับการตรวจวัดใช้ก๊าซของไฟแช็คก็พอได้นะครับ แต่ถ้าจะใช้แก๊สจริงๆ ปล่อยออกมาเลยก็ต้องระวังด้วยนะครับ


วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001


ช่วงนี้มาตรฐานการจัดการพลังงาน (ISO 50001) เริ่มมีการขอการรับรองกันแล้ว ส่วนกฎหมายวิธีการจัดการพลังงาน ของกระทรวงพลังงานก็มีผลบังคับใช้ไปแล้ว โดยโรงงานควบคุมส่วนใหญ่ ก็ได้มีการส่งรายงานไปเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ที่ผ่านมา สำหรับในเบื้องต้นแล้ว ตามที่ได้ดูเนื้อหา ในการจัดทำทั้งสองส่วน (ISO 50001 VS กฎหมายวิธีการจัดการพลังงาน) ภาพโดยรวมถือว่าใกล้เคียงและสอดคล้องกัน จะบอกว่าเหมือนกันก็ไม่เชิงนะครับ เพราะยังมีบางส่วนที่แตกต่างกัน วันนี้เลยหยิบยกบางส่วนมาฝากกัน

เอาตั้งแต่นโยบายกันดีกว่า สำหรับกฏกระทรวง เรื่องกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงาน ในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม 2552 กำหนดนโยบายว่าอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. ข้อความระบุว่าการอนุรักษ์พลังงานเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุม

2. นโยบายอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสมกับลักษณะและปริมาณพลังงานที่ใช้ในโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุม


3. การแสดงเจตจำนงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน


4. แนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง


5. แนวทางในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินการตามวิธีการจัดการพลังงาน


ให้เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมจัดให้มีการเผยแพร่นโยบายอนุรักษ์พลังงาน โดยปิดประกาศไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่ายในโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุม หรือโดยวิธีการอื่นที่เหมาะสม เพื่อให้บุคลากรของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมทราบและปฏิบัติตามนโยบายอนุรักษ์พลังงานได้


คราวนี้มาดูข้อกำหนดของ ISO 50001 กันบ้างว่าเป็นอย่างไร (ตัวนี้เป็น Draft นะครับ แต่คงไม่ต่างจากที่ประกาศใช้)



จะเห็นว่าภาพโดยรวมนั้นถือว่าใกล้เคียงกัน โดยบางข้อของนโยบายตาม ISO 50001 ไม่ได้อยู่ในหมวดของนโยบายตามกฎกระทรวง แต่อยู่ในหมวดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน

แต่มีอยู่ข้อหนึ่งที่แตกต่างคือเรื่อง การจัดซื้อ โดยตามมาตรฐาน ISO 50001 กำหนดให้อาคารหรือโรงงาน จะต้องทำการจัดซื้อ จัดหาเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิต และบริการอื่นๆ ที่จำเป็น โดยต้องพิจารณาถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการดังกล่าว รวมทั้งจะต้องพิจารณาการออกแบบเพื่อการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานด้วย

ก็ลองพิจารณาดูนะครับ แต่ถ้าให้ดีกำหนดนโยบายตาม ISO 50001 ก็จะครอบคลุมครับ