วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

จุดรวมพล



ช่วงปลายปีแบบนี้ เทศกาลอย่างหนึ่งสำหรับหลายๆ ท่าน คือการซ้อมอพยพหนีไฟ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบ และซ้อมเป็นประจำทุกปี ส่วนตัวแล้วปีนี้ซ้อมไป 2 รอบ รอบแรกเป็นการซ้อมที่ตึกที่ทำงานประจำ อีกรอบไปซ้อมกับอาคารที่ไปพบลูกค้า ถึงแม้จะสำคัญแต่หลายคนก็บ่นและไม่ค่อยซ้อมกัน ซึ่งจะเห็นว่าพอใกล้เวลาซ้อมก็จะหายไปทานกาแฟกันบ้าง

ในระหว่างการซ้อมตอนอยู่ที่จุดรวมพลมันดูวุ่นๆ นิดหน่อย ก็เลยขอนำเรื่องพื้นที่จุดรวมพลมาฝาก
ซึ่งถ้าพูดถึงจุดรวมพลแล้ว ตามมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัย ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนี้

1. จุดรวมพลต้องมีขนาดพื้นที่เพียงพอกับจำนวนคนทั้งหมด อย่างน้อย 0.25 ตารางเมตรต่อคน

2. ที่ตั้งของจุดรวมพล ต้องเป็นสถานที่ปลอดภัยจากอันตรายที่เกิดจากเพลิงไหม้หรือภัยประเภทอื่นๆ เช่น การถล่มของอาคาร หรือเศษกระจกหรือวัสดุที่อาจตกหล่นจากอาคาร เป็นต้น หรือห่างจากอาคารไม่น้อยกว่าความสูงของอาคารและไม่น้อยกว่า 20 เมตร จุดรวมพลต้องไม่เป็นพื้นที่ภายในอาคาร หรือโถงภายในอาคาร รวมทั้งถนน หรือผิวถนนโดยรอบอาคาร

แต่สำหรับอาคารใน กทม. ถ้าจะให้เป็นไปตามมาตรฐาน 100% อาจจะเป็นเรื่องที่ยากโดยเฉพาะอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างมานานแล้ว ก็คงต้องปรับตามเหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งการซ้อมนี่แหละเป็นสิ่งสำคัญว่าจะจัดการบริหารความปลอดภัยในเรื่องนี้กันอย่างไร

ใครโดดซ้อมบ่อยๆ ก็ลองซ้อมดูนะครับ ผมว่าสนุกดี เพราะเมื่อเกิดเหตุจริงๆ มันทำให้เราตั้งสติได้ ส่วนตัวแล้วเคยผ่านประสบการณ์อพยพจริงมา 2 ครั้ง เชื่อหรือไม่ครับ ผมใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที อพยพจากชั้น 28 มาชั้นล่าง ถือว่าออกกำลังกายครับ

พบกันปีหน้านะครับ สวัสดีปีใหม่ 2558 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

Activated Sludge กับปัญหาแบคทีเรียสายใย (2)

วันนี้มาต่อกันตอนที่ 2 ของเรื่องปัญหาแบคทีเรียสายใยกันครับ






ลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ แต่ถ้าใครอยากปรึกษาก็เมล์ มาถามกันได้เหมือนเดิมนะครับ

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

Activated Sludge กับปัญหาแบคทีเรียสายใย (1)

ช่วงเดือนนี้มีคนโพสต์เข้ามาถามเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย กันหลายคน โดยทุกปัญหาจะถามเกี่ยวกับการที่สลัดจ์ในบ่อตกตะกอนไม่จมตัว ซึ่งต้องบอกว่าปัญหานี้อยู่คู่กับระบบ Activated Sludge มาแต่ไหนแต่ไรครับ ผมถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิด แต่ถ้าเกิดแล้วก็ต้องแก้ครับ


และพอดีเคยอ่าน Paper ของ ผศ.พนาลี ชีวกิดาการ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

ซึ่งผมว่าท่านเขียนได้ครบถ้วนเลยทีเดียว เลยขอถือโอกาสมาแชร์ให้ทุกคนนะครับ

ซึ่ง เรื่องนี้จะลง 2 ตอน นะครับ และถ้าใครอ่านแล้วต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ E-mail มาถามได้เหมือนเดิมนะครับ ส่วนภาค 3 ผมขอเขียนเองใน Style ของผมดูบ้าง ค่อยรออ่านกันนะครับ










วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

Ultrafiltration (UF) กับ เทคโนโลยีการรีไซเคิลน้ำ


บทความนี้ผมเรียบเรียงมาจากแหล่งที่มาอื่น ต้องบอกว่าไม่ได้เขียนเองนะครับ 
(แหล่งที่มาอยู่ด้านล่างนะครับ)

แต่เป็นประเด็นที่น่าสนใจและในช่วงหลังมีคนมาปรึกษาบ่อย เกี่ยวกับการนำ Ultrafiltration (UF) มาใช้ในกระบวนการ Recycle น้ำรวมทั้งการผลิตน้ำจากแหล่งน้ำที่มาจากแม่น้ำ ก็เลยนำมาฝากกัน



 (Source : http://tanteotohs.blogspot.com/)

อาหารและน้ำคือสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ และจากข้อมูลที่ได้มีการศึกษากันมา การขาดแคลนน้ำจะเกิดมากในประเทศยากจนที่มีแหล่งน้ำจำกัดแต่มีอัตราการเพิ่ม ประชากรสูงและรวดเร็ว เช่นประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกาและบางส่วนของเอเชีย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2550) พื้นที่ชุมชนเมืองขนาดใหญ่และปริมณฑลโดยรอบจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นใหม่ให้มากพอสำหรับการประปาเพื่อแจกจ่ายน้ำสะอาดและปลอดภัยแก่ประชากรและ เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาระบบสาธารณสุขที่เพียงพอ ดังนั้น ความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้เพื่อการเกษตรซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดใน ปัจจุบันกับการใช้น้ำสำหรับชุมชนเมืองย่อมมีความรุนแรงขึ้น
ดังนั้นในปัจจุบันจะพบว่าประเทศต่างๆและองค์กรทั่วโลก จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการรีไซเคิลน้ำ รวมทั้งกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์สำหรับการจัดการน้ำในอนาคต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นทางเลือกที่จำเป็นสำหรับประเทศที่มีทรัพยากรน้ำจืดค่อนข้างจำกัด
และหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีการน้ำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อการรีไซเคิลน้ำ ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีการกรองแบบ Membrane เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถผลิตน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางด้านคุณภาพน้ำ และกำลังการผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของ Membrane ที่เลือกใช้ โดยชนิดของ Membrane ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบ Ultrafiltration (UF) และ ระบบ Reverse Osmosis (RO) เป็นต้น


สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น สิงคโปร์ถือว่าเป็นประเทศที่นำเทคโนโลยีการรีไซเคิลน้ำ ด้วยระบบ Membrane มาใช้เพื่อเป็นแหล่งน้ำหลักของประเทศในอนาคต ซึ่งถูกเรียกว่า NEWater



NEWater เป็นโรงงานนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ ที่ได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1998 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสาธารณูปโภคแห่งสิงคโปร์ และกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ เพื่อให้ NEWater เป็นแหล่งผลิตน้ำสำหรับการอุปโภคในประเทศสิงคโปร์ โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย จนได้น้ำที่มีคุณภาพสูง เป้าหมายในการใช้แหล่งน้ำจาก NEWater นั้น ได้เพิ่มจาก 30 % ของปริมาณน้ำใช้ทั้งหมดในปี ค.ศ.2010 เป็น 50 % ในปี ค.ศ. 2060 นั่นหมายถึงในอนาคตไม่ไกลนี้ NEWater จะถูกกำหนดให้เป็นแหล่งน้ำหลักของประเทศ ดังนั้นกำลังการผลิตของ NEWater จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างสอดคล้องกัน เมื่อถึงปี ค.ศ. 2060 จะมีโรงงานผลิตน้ำ NEWater ทั้งสิ้น 5 แห่ง


น้ำคุณภาพสูงจากระบบผลิต NEWater จะจ่ายเข้าระบบเส้นท่อที่แยกเฉพาะเจาะจงไม่ปนกับน้ำประปาจากโรงงานผลิตน้ำ อื่น ๆ เพื่อส่งให้ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการน้ำคุณภาพดีพิเศษ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ, ฟอกย้อม ,อิเลคทรอนิคส์ , semi conductor, electroplating หรือนำไปใช้ในระบบ Boiler และ Cooling system


ตลอดจนตึกสูงและอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยรัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำ NEWater ด้วยมาตรการทางภาษีที่ยกเว้นการคิดราคา WCT (Water Conservation Tax) ที่สูงถึง 30% รวมไปกับค่าน้ำ เนื่องจากการใช้น้ำ NEWater ถือเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแล้วเช่นกัน


การผลิตน้ำ NEWater จึงเป็นการนำเทคโนโลยีเมมเบรนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากภาวะความจำเป็นในการจัดการแก้ไขปัญหาปริมาณน้ำในภาวะที่ไม่มีทาง ให้เลือก โดยมุ่งเน้นในการใช้งานเพื่อการอุปโภค และส่งเสริมการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม แม้น้ำที่ได้จะมีคุณภาพดีเยี่ยม ทั้งสะอาดและปราศจากสิ่งเจือปน แต่น้ำ NEWater ไม่ได้ถูกผลิตเพื่อนำมาใช้ในการบริโภคโดยตรง

สำหรับภูมิภาคเอเชียนั้น นอกจาก NEWater ของสิงคโปร์แล้ว โครงการที่มีการนำเทคโนโลยี Membrane มาใช้และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยรู้จักกันในชื่อ “Water Plaza Kitakyushu” ในประเทศญี่ปุ่น



ที่มา




http://www.tcdc.or.th/src/17311/www-tcdc-or-th/Water-Plaza-ต้นแบบการรีไซเคิลน้ำแห่งคิตะคิวชู




http://www.mwa.co.th/download/prd01/water_technology/pdf_water_treatment_plant/awtp2.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิธีการฆ่าเชื้อลีจิโอเนลลา (Legionella) ในระบบท่อน้ำ

ปกติผมมักจะบอกเพื่อนๆ เสมอว่าเวลาไปนอนค้างโรงแรม ก่อนอาบน้ำฝักบัว ให้เปิดน้ำร้อนทิ้งไว้ซัก 5-10 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน แต่ส่วนตัวแล้วก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ทำไมผมถึงบอกเพื่อนอย่างนั้นละ?

และถ้าใครออกแบบระบบน้ำร้อน เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราต้องออกแบบน้ำร้อนที่ 55-60 องศาเซลเซียส ในเมื่อเวลาเราอาบน้ำ ก็ต้องผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็น เพื่อให้เป็นน้ำอุ่น สำหรับอาบอยู่ดี และหายากมากๆ ถ้าใครจะอาบน้ำที่อุณหภูมิน้ำร้อน แต่ถ้าคนญี่ปุ่นไม่แน่นะ (เคยได้ยินมาอย่างนั้น)


ทั้ง 2 ถามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มาจากสาเหตุเดียวกัน นั่นคือ เพื่อต้องการจะไม่ให้เชื้อลีจิโอเนลลาเติบโต วันนี้มาตรวจงานต่างจังหวัดและกำลังจะอาบน้ำพอดี เลยมานั่งคิดว่าแล้วที่เปิดน้ำร้อนทิ้งไว้ 5-10 นาที มันได้ผลจริงหรือ เลยต้องหาคำตอบเสียหน่อย

แต่ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับ ลีจิโอเนลลา กันซักเล็กน้อย แต่ถ้าใครอยากทราบแบบละเอียดๆ แนะนำว่า Google คงช่วยท่านได้มากแน่นอน
 

เชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลา จัดเป็นเชื้อแบคทีเรีย โดยเป็นเชื้อที่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งเช่น น้ำใน Cooling Tower ตามอาคารต่างๆที่มีการใช้งานไม่ ว่าจะเป็นโรงแรม ห้างสรรพสินค้า และโรงพยาบาล รวมไปถึงอ่างน้ำวน เครื่องทำน้ำร้อน และฝักบัวอาบน้ำที่ไม่มีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างถูกต้อง และเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเชื้อสามารถรวมกลุ่มกันอยู่ภายในระบบการส่งน้ำ และโดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อคือ 20-50 องศาเซลเซียส

และนี่คือที่มาว่าทำไมต้องออกแบบระบบน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส แต่จากข้อมูลเบื้องต้น เชื้อลีจิโอเนลลา จะเริ่มตายที่อุณหภูมิสูงกว่า 56 องศาเซลเซียส และถ้าให้ดีจะต้องให้ความร้อนสูงถึง 70 องศาเซลเซียส คงที่ตลอด 10 นาที เชื้อถึงจะตาย

แสดงว่าที่บอกเพื่อนให้เปิดน้ำร้อนทิ้งไว้คงไม่ได้ผล 100% แต่ก็ดีกว่าไม่ทำนะ บอกไว้ก่อน

แล้วจะมีวิธีใดบ้างที่จะกำจัดเชื้อออกจากระบบท่อส่งน้ำได้ จึงขอยกเป็นตารางเปรียบเทียบให้ดูกันนะครับ ไปเจอตารางนี้ ผมดูแล้วว่าเอาไว้เป็นไอเดีย ได้ดีทีเดียว เลยเอามาฝากกัน


 ว่าแล้วก็ขอตัวไปอาบน้ำก่อนนะครับ แล้วเจอกันเรื่องหน้านะครับ

Sprinkler สำหรับอาคารคลังสินค้า (3)


มาพบกันตอนที่ 3 ครับ ซึ่งเป็นตอนจบ ค้างไว้นานครับสำหรับตอนนี้ แต่ไม่กี่วันมานี้มีข่าวไฟไหม้คลังสินค้าที่บางปู เลยต้องรีบเขียน ก็หวังว่าเผื่อจะมีใครเห็นบทความนี้ แล้วเอาไปศึกษาในตัวมาตรฐานเพิ่มเติมกันต่อไป เพราะต้องบอกครับว่า บางทีก็ท้อๆ เพราะสุดท้ายเจ้าของบอก ราคาสูง เอามันธรรมดานี่แหละ ติดตั้งแบบ Ordinary Hazard พอ ยิ่ง Consult ผสมเข้าไปอีกว่าไม่จำเป็น ผมไม่เคยเห็นมาตรฐานอะไรพวกนี้ สุดท้ายจบลงประโยคเด็ด "บริษัทประกันก็ของผม อาคารก็ของผม ไม่มีใครมาตรวจหรอก" ถ้าเป็นภาษาวัยรุ่น ก็คงบอกว่า "จบปะ" ในใจก็นึกไปว่า ขอให้อาคารปลอดภัยครับ


มาเข้าเรื่องกันดีกว่า สำหรับในตอนสุดท้ายนี้ ผมจะขอยกตัวอย่างตารางที่มาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบ Sprinkler โดยผมขออ้างอิงมาตรฐาน NFPA 13 : 2010 ดังนี้ครับ

กรณี Miscellaneous Storage ให้ดูที่ Chapter 13

กรณี Protection of Class I to Class IV Commodities และจัดเก็บในลักษณะ Palletized, Solid Piled, Bin Boxes, Shelf Storage, Back-to-Back Shelf Storage ให้ดูที่ Chapter 14

กรณี Protection of Plastic and Rubber Commodities และจัดเก็บในลักษณะ Palletized, Solid Piled, Bin Boxes, Shelf Storage, Back-to-Back Shelf Storage ให้ดูที่ Chapter 15

กรณี Protection of Class I Through Class IV Commodities และจัดเก็บในลักษณะ on Racks ให้ดูที่ Chapter 16

กรณี Protection of Plastic and Rubber Commodities และจัดเก็บในลักษณะ on Racks ให้ดูที่ Chapter 17
 
กรณี Protection Rubber Tire Storage ให้ดูที่ Chapter 18

กรณี Protection of Roll Paper ให้ดูที่ Chapter 19


สำหรับรูปด้านล่างผมขอยกตัวอย่างใน Chapter 14 กรณีเราเลือกติด Sprinkler เป็นชนิด ESFR

ถ้าเราเลือก ESFR ที่ K=25.2 และ
- Maximum Storage Height =  6.10 m.
- Maximum Roof Height     =  7.60 m.

นั่นหมายถึงค่าที่เราต้องใช้ในการคำนวณหาขนาดท่อ และขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง นั้นต้องใช้ค่าดังต่อไปนี้

- จำนวน Sprinkler ที่จะนำไป Calculation = 12 Heads
- ความดันต่ำสุดของ Sprinkler = 15 psi.
- ปริมาณน้ำสำรองดับเพลิง ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง

ซึ่งถ้าเราเลือกค่า K น้อยกว่า 25.2 ค่าต่างๆ ก็จะเปลี่ยนไปดังที่แสดงในตาราง

ซึ่งการคำนวณต้องใช้วิธี Hydraulic Calculation นะครับ




สำหรับข้อมูลโดยละเอียดแนะนำให้หามาตรฐานมาอ่านนะครับ เพราะว่ามีอีกหลายส่วน หรือถ้าใครอยากจะหาคนสอนก็แนะนำว่าลองดูคอร์ส ที่ วสท. จัดดูนะครับ ซึ่งมีจัดทุกปี

ไว้ติดตามกันเรื่องหน้านะครับ ช่วงที่ผ่านมาหายๆ ไปบ้าง ไม่ได้ไปไหนครับ ไปหาประสบการณ นี่ก็คิดไว้หลายเรื่องอยู่

วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

Sprinkler สำหรับอาคารคลังสินค้า (2)

กลับมาพบกันอีกครั้งกับตอนที่ 2 นะครับ หายไปนานทีเดียวรอบนี้ แต่รับรองครับว่ายังอยู่ และเรื่องนี้ตั้งใจแล้วว่าจะเขียนไว้เพื่อเปิดประเด็น ถ้าใครสนใจรายละเอียดก็จะได้ไปหาข้อมูลต่อกันได้ เพราะได้ยินประโยคที่ว่า บ้านเราเขาไม่ทำกันหรอกแบบนี้ ถ้าไม่ใชj ประกันที่ FM มาตรวจ เลยทำให้กลับมาคิดว่า สงสัยต้องกลับไปเริ่มศึกษาโปรแกรม Simulation แบบจริงจังหน่อยซะแล้ว ถ้าใครจะแนะนำก็บอกกันได้นะครับ หรือจะมาช่วยสอนคิดค่าใช้จ่าย ก็ได้ แต่อย่าแพงมากนะครับ

วันนี้บ่นมาซะยาวเลยไม่เจอกันนาน เริ่มเรื่องกันดีกว่า

จากครั้งที่แล้วที่ได้พูดถึง ประเภทของสินค้า (Commodity) ว่ามีทั้งหมด 4 ประเภท วันนี้เรามาทำความรู้จักกับชั้นวางสินค้ากันดีกว่า โดย ชั้นวางสินค้า (Rack) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. Single Row

2. Double Row

3. Multi Row



โดยคำศัพท์ต่างๆ ที่ควรทราบ สำหรับ Rack มีดังนี้

A = Load Depth                    F = Rack Depth
B = Load Width                    G = Longitudinal Flue Space
C = Storage Height               H = Transverse Flue Space
D = Commodity                    I  = Aisle Width
E = Pallet

การแบ่งประเภทของ Rack ระยะที่เราใช้พิจารณาหลักๆ คือระยะ I กับระยะ F ตามรูปด้านบน ซึ่ง

Single Row Rack ระยะ I จะมีค่าอย่างน้อย 3.5 ft. (1.10 m.) และค่า F น้อยกว่า 6 ft. (1.80 m.)
นอกจากนี้จะไม่มีการเว้นช่องว่างของระยะ G (ระยะ G = 0)

Double Row Rack ระยะ I จะมีค่าอย่างน้อย 3.5 ft. (1.10 m.) และค่า F ไม่มากกว่า 12 ft. (3.70 m.)

Multi Row Rack ระยะ I จะมีน้อยกว่า 3.5 ft. (1.10 m.) และค่า F มากกว่า 12 ft. (3.70 m.)


ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจดูสรุปตามด้านล่างนะครับ อาจจะเข้าใจได้ง่ายกว่า




นอกจากนี้ถ้าไม่ได้จัดเก็บสินค้าไว้บนชั้นวางสินค้าในมาตรฐาน NFPA ก็จะแยกไว้ว่ารูปแบบการจัดเก็บเป็นลักษณะ On Floor

แถมให้อีกรูปครับสำหรับวันนี้ รูปด้านล่างนี้เอาไว้ใช้ประกอบสำหรับตอนที่ 3 ด้วย เป็น Lecture ที่ผมแอบเข้าไปเรียนกับน้องๆ ป.ตรี หลังจากจบมาแล้ว ซัก 1 ปี ถือว่าเป็นรูปหายากนะครับเพราะอายุมันหลายสิบปีอยู่ 555