วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

Sprinkler สำหรับอาคารคลังสินค้า (2)

กลับมาพบกันอีกครั้งกับตอนที่ 2 นะครับ หายไปนานทีเดียวรอบนี้ แต่รับรองครับว่ายังอยู่ และเรื่องนี้ตั้งใจแล้วว่าจะเขียนไว้เพื่อเปิดประเด็น ถ้าใครสนใจรายละเอียดก็จะได้ไปหาข้อมูลต่อกันได้ เพราะได้ยินประโยคที่ว่า บ้านเราเขาไม่ทำกันหรอกแบบนี้ ถ้าไม่ใชj ประกันที่ FM มาตรวจ เลยทำให้กลับมาคิดว่า สงสัยต้องกลับไปเริ่มศึกษาโปรแกรม Simulation แบบจริงจังหน่อยซะแล้ว ถ้าใครจะแนะนำก็บอกกันได้นะครับ หรือจะมาช่วยสอนคิดค่าใช้จ่าย ก็ได้ แต่อย่าแพงมากนะครับ

วันนี้บ่นมาซะยาวเลยไม่เจอกันนาน เริ่มเรื่องกันดีกว่า

จากครั้งที่แล้วที่ได้พูดถึง ประเภทของสินค้า (Commodity) ว่ามีทั้งหมด 4 ประเภท วันนี้เรามาทำความรู้จักกับชั้นวางสินค้ากันดีกว่า โดย ชั้นวางสินค้า (Rack) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. Single Row

2. Double Row

3. Multi Row



โดยคำศัพท์ต่างๆ ที่ควรทราบ สำหรับ Rack มีดังนี้

A = Load Depth                    F = Rack Depth
B = Load Width                    G = Longitudinal Flue Space
C = Storage Height               H = Transverse Flue Space
D = Commodity                    I  = Aisle Width
E = Pallet

การแบ่งประเภทของ Rack ระยะที่เราใช้พิจารณาหลักๆ คือระยะ I กับระยะ F ตามรูปด้านบน ซึ่ง

Single Row Rack ระยะ I จะมีค่าอย่างน้อย 3.5 ft. (1.10 m.) และค่า F น้อยกว่า 6 ft. (1.80 m.)
นอกจากนี้จะไม่มีการเว้นช่องว่างของระยะ G (ระยะ G = 0)

Double Row Rack ระยะ I จะมีค่าอย่างน้อย 3.5 ft. (1.10 m.) และค่า F ไม่มากกว่า 12 ft. (3.70 m.)

Multi Row Rack ระยะ I จะมีน้อยกว่า 3.5 ft. (1.10 m.) และค่า F มากกว่า 12 ft. (3.70 m.)


ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจดูสรุปตามด้านล่างนะครับ อาจจะเข้าใจได้ง่ายกว่า




นอกจากนี้ถ้าไม่ได้จัดเก็บสินค้าไว้บนชั้นวางสินค้าในมาตรฐาน NFPA ก็จะแยกไว้ว่ารูปแบบการจัดเก็บเป็นลักษณะ On Floor

แถมให้อีกรูปครับสำหรับวันนี้ รูปด้านล่างนี้เอาไว้ใช้ประกอบสำหรับตอนที่ 3 ด้วย เป็น Lecture ที่ผมแอบเข้าไปเรียนกับน้องๆ ป.ตรี หลังจากจบมาแล้ว ซัก 1 ปี ถือว่าเป็นรูปหายากนะครับเพราะอายุมันหลายสิบปีอยู่ 555