วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

Activated Sludge กับปัญหาแบคทีเรียสายใย (2)

วันนี้มาต่อกันตอนที่ 2 ของเรื่องปัญหาแบคทีเรียสายใยกันครับ






ลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ แต่ถ้าใครอยากปรึกษาก็เมล์ มาถามกันได้เหมือนเดิมนะครับ

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

Activated Sludge กับปัญหาแบคทีเรียสายใย (1)

ช่วงเดือนนี้มีคนโพสต์เข้ามาถามเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย กันหลายคน โดยทุกปัญหาจะถามเกี่ยวกับการที่สลัดจ์ในบ่อตกตะกอนไม่จมตัว ซึ่งต้องบอกว่าปัญหานี้อยู่คู่กับระบบ Activated Sludge มาแต่ไหนแต่ไรครับ ผมถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิด แต่ถ้าเกิดแล้วก็ต้องแก้ครับ


และพอดีเคยอ่าน Paper ของ ผศ.พนาลี ชีวกิดาการ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

ซึ่งผมว่าท่านเขียนได้ครบถ้วนเลยทีเดียว เลยขอถือโอกาสมาแชร์ให้ทุกคนนะครับ

ซึ่ง เรื่องนี้จะลง 2 ตอน นะครับ และถ้าใครอ่านแล้วต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ E-mail มาถามได้เหมือนเดิมนะครับ ส่วนภาค 3 ผมขอเขียนเองใน Style ของผมดูบ้าง ค่อยรออ่านกันนะครับ










วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

Ultrafiltration (UF) กับ เทคโนโลยีการรีไซเคิลน้ำ


บทความนี้ผมเรียบเรียงมาจากแหล่งที่มาอื่น ต้องบอกว่าไม่ได้เขียนเองนะครับ 
(แหล่งที่มาอยู่ด้านล่างนะครับ)

แต่เป็นประเด็นที่น่าสนใจและในช่วงหลังมีคนมาปรึกษาบ่อย เกี่ยวกับการนำ Ultrafiltration (UF) มาใช้ในกระบวนการ Recycle น้ำรวมทั้งการผลิตน้ำจากแหล่งน้ำที่มาจากแม่น้ำ ก็เลยนำมาฝากกัน



 (Source : http://tanteotohs.blogspot.com/)

อาหารและน้ำคือสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ และจากข้อมูลที่ได้มีการศึกษากันมา การขาดแคลนน้ำจะเกิดมากในประเทศยากจนที่มีแหล่งน้ำจำกัดแต่มีอัตราการเพิ่ม ประชากรสูงและรวดเร็ว เช่นประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกาและบางส่วนของเอเชีย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2550) พื้นที่ชุมชนเมืองขนาดใหญ่และปริมณฑลโดยรอบจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นใหม่ให้มากพอสำหรับการประปาเพื่อแจกจ่ายน้ำสะอาดและปลอดภัยแก่ประชากรและ เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาระบบสาธารณสุขที่เพียงพอ ดังนั้น ความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้เพื่อการเกษตรซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดใน ปัจจุบันกับการใช้น้ำสำหรับชุมชนเมืองย่อมมีความรุนแรงขึ้น
ดังนั้นในปัจจุบันจะพบว่าประเทศต่างๆและองค์กรทั่วโลก จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการรีไซเคิลน้ำ รวมทั้งกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์สำหรับการจัดการน้ำในอนาคต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นทางเลือกที่จำเป็นสำหรับประเทศที่มีทรัพยากรน้ำจืดค่อนข้างจำกัด
และหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีการน้ำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อการรีไซเคิลน้ำ ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีการกรองแบบ Membrane เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถผลิตน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางด้านคุณภาพน้ำ และกำลังการผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของ Membrane ที่เลือกใช้ โดยชนิดของ Membrane ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบ Ultrafiltration (UF) และ ระบบ Reverse Osmosis (RO) เป็นต้น


สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น สิงคโปร์ถือว่าเป็นประเทศที่นำเทคโนโลยีการรีไซเคิลน้ำ ด้วยระบบ Membrane มาใช้เพื่อเป็นแหล่งน้ำหลักของประเทศในอนาคต ซึ่งถูกเรียกว่า NEWater



NEWater เป็นโรงงานนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ ที่ได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1998 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสาธารณูปโภคแห่งสิงคโปร์ และกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ เพื่อให้ NEWater เป็นแหล่งผลิตน้ำสำหรับการอุปโภคในประเทศสิงคโปร์ โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย จนได้น้ำที่มีคุณภาพสูง เป้าหมายในการใช้แหล่งน้ำจาก NEWater นั้น ได้เพิ่มจาก 30 % ของปริมาณน้ำใช้ทั้งหมดในปี ค.ศ.2010 เป็น 50 % ในปี ค.ศ. 2060 นั่นหมายถึงในอนาคตไม่ไกลนี้ NEWater จะถูกกำหนดให้เป็นแหล่งน้ำหลักของประเทศ ดังนั้นกำลังการผลิตของ NEWater จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างสอดคล้องกัน เมื่อถึงปี ค.ศ. 2060 จะมีโรงงานผลิตน้ำ NEWater ทั้งสิ้น 5 แห่ง


น้ำคุณภาพสูงจากระบบผลิต NEWater จะจ่ายเข้าระบบเส้นท่อที่แยกเฉพาะเจาะจงไม่ปนกับน้ำประปาจากโรงงานผลิตน้ำ อื่น ๆ เพื่อส่งให้ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการน้ำคุณภาพดีพิเศษ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ, ฟอกย้อม ,อิเลคทรอนิคส์ , semi conductor, electroplating หรือนำไปใช้ในระบบ Boiler และ Cooling system


ตลอดจนตึกสูงและอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยรัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำ NEWater ด้วยมาตรการทางภาษีที่ยกเว้นการคิดราคา WCT (Water Conservation Tax) ที่สูงถึง 30% รวมไปกับค่าน้ำ เนื่องจากการใช้น้ำ NEWater ถือเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแล้วเช่นกัน


การผลิตน้ำ NEWater จึงเป็นการนำเทคโนโลยีเมมเบรนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากภาวะความจำเป็นในการจัดการแก้ไขปัญหาปริมาณน้ำในภาวะที่ไม่มีทาง ให้เลือก โดยมุ่งเน้นในการใช้งานเพื่อการอุปโภค และส่งเสริมการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม แม้น้ำที่ได้จะมีคุณภาพดีเยี่ยม ทั้งสะอาดและปราศจากสิ่งเจือปน แต่น้ำ NEWater ไม่ได้ถูกผลิตเพื่อนำมาใช้ในการบริโภคโดยตรง

สำหรับภูมิภาคเอเชียนั้น นอกจาก NEWater ของสิงคโปร์แล้ว โครงการที่มีการนำเทคโนโลยี Membrane มาใช้และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยรู้จักกันในชื่อ “Water Plaza Kitakyushu” ในประเทศญี่ปุ่น



ที่มา




http://www.tcdc.or.th/src/17311/www-tcdc-or-th/Water-Plaza-ต้นแบบการรีไซเคิลน้ำแห่งคิตะคิวชู




http://www.mwa.co.th/download/prd01/water_technology/pdf_water_treatment_plant/awtp2.pdf