วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ระบบดับเพลิงด้วยก๊าซไนโตรเจน

ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้นานแล้ว ตั้งแต่เขียนเรื่อง FM-200 แต่ติดที่ระบบดับเพลิงด้วยก๊าซไนโตรเจน บ้านเรายังมีไม่แพร่หลาย (หรือผมอาจเจอน้อย) ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะพื้นที่ติดตั้งที่ต้องการมากกว่าระบบอื่นๆ (ยกเว้นระบบ Inergen) และความดันในระบบที่ใช้งานค่อนข้างสูง ราคาของระบบจึงสูงกว่าระบบทั่วไปเล็กน้อย แต่ถ้าเทียบเรื่องค่าใช้จ่ายของสารที่เอามาเติมแล้ว ก็ถือว่าเป็นระบบที่น่าสนใจทีเดียว

วันนี้เลยนำข้อมูลการออกแบบเบื้องต้นมาฝากไว้ให้อ่านกัน ถ้าใครสนใจจะหาข้อมูลการออกแบบเพิ่มก็สามารถดูได้จาก มาตรฐาน NFPA 2001 : Standard on Clean Agent Fire Extinguishing System


ที่มา : เอกสารวิชาการ สมาคมวิศวกรรมปรับกาศแห่งประเทศไทย

ใครอยากได้เอกสารของสมาคมฉบับเต็มไปอ่านก็ E-mail มาขอได้นะครับ

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเลือกหน้าแปลนท่อสำหรับระบบดับเพลิง



ไม่ได้ Update บทความมาซักพักใหญ่ แต่ไม่ได้หายไปไหนครับ ช่วงที่ผ่านมามัววุ่นๆ กับกับภาระกิจใหม่ๆ ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยก็เลยใช้เวลาพอสมควร วันนี้ขอหยิบยกการเลือกหน้าแปลนสำหรับการติดตั้งท่อน้ำดับเพลิงมาฝากกัน ส่วนตัวแล้วก็เคยเลือกผิดมาเหมือนกัน (เลือกใหญ่ไป ออกแนวแพงเกินไป)

ต้องบอกว่าหน้าแปลนนั้นมีด้วยกันหลายมาตรฐาน และมีอยู่หลายชนิดขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ที่คุ้นๆ ก็เป็นมาตรฐาน ANSI ซึ่ง

ANSI เป็น องค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไร ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรม, องค์กรพัฒนามาตรฐาน, สมาคมการค้า, ผู้เชี่ยวชาญ, สมาคมด้านเทคนิค , รัฐบาล, แรงงาน และกลุ่มผู้บริโภค
ANSI ได้ก่อตั้งขึ้นมาในชื่อ คณะกรรมการมาตรฐานวิศวกรรมอเมริกัน หรือ American Engineering Standards Committee เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1918
ภารกิจของ ANSI คือ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทั้งในตลาดโลกของธุรกิจอเมริกา และคุณภาพชีวิตของอเมริกา โดยการปรับปรุงและสร้างมาตรฐานและระบบที่ประเมินร่วมกัน

สิ่งที่จะมาแชร์วันนี้ขอหยิบยกในประเด็นของ CLASS หน้าแปลนที่เหมาะสมกับแรงดันใช้งานในระบบ โดยส่วนใหญ่แล้วการเลือกอุปกรณ์ในระบบดับเพลิง ผู้ออกแบบจะเลือกอุปกรณ์ให้สามารถทนแรงดันได้ไม่น้อยกว่า 1.50 เท่าของแรงดันใช้งาน (Working Pressure) ซึ่งหน้าแปลนก็เช่นกัน
โดยการเลือกหน้าแปลนที่เหมาะสมสิ่งที่ต้องทราบคือ วัสดุของหน้าแปลน และอุณหภูมิใช้งาน

ซึ่งแรงดันที่หน้าแปลนสามามารถรับได้ เป็นไปตามตารางที่แสดงด้านล่าง
สำหรับตารางมีเฉพาะ CLASS 150 กับ 300 นะครับเนื่องจากปกติแล้วจะใช้อยู่ 2 CLASS





วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การคำนวณระยะเวลาอพยพหนีไฟ

นั่งเชียร์ฟุตบอลคู่ไทยกับพม่า ชิงซีเกมส์ ระหว่างพักครึ่งแรก ก็เลยถือโอกาสหาเนื้อหาดีๆ มาฝากทุกคน พอดีว่าต้องทำรายการคำนวณการอพยพหนีไฟของอาคาร เมื่อก่อนที่เคยทำก็จะหาสูตรง่ายๆ มาคิดคำนวณ แต่พอได้อ่านบทความในวรสาร (จำไม่ได้ว่าเล่มไหน) ซึ่งมีการสรุปวิธีการคิดเอาไว้ค่อนข้างเข้าใจง่าย จึงใช้วิธีนี้คิดมาตลอด และก็ตามเคยมีอะไรน่าสนใจก็จะต้องมาแชร์ให้อ่านกัน ปีนี้ครึ่งปีหลังคงต้องขยัน Update บทความเสียหน่อย เดี๋ยวจะไม่ได้เป้าตามที่วางไว้

ขอตัวเชียร์บอลต่อนะครับ Thailand สู้ๆ
 






วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การทดสอบระบบอัดอากาศเพื่อควบคุมควันไฟ



ตอนแรกตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ไฟไหม้ที่อาคาร SCB สำนักงานใหญ่ แต่เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ก็จะได้จากภาพข่าวและการให้ข่าว จากหลายๆ ฝ่าย รวมทั้งไม่ทราบข้อมูลเชิงลึก เอาอย่างง่ายๆว่าสรุปแล้วพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ ติดตั้งระบบดับเพลิงชนิด Sprinkler หรือระบบอื่น กันแน่ ข่าวแต่ละที่ยังต่างกันเลย เลยคิดว่าเอาเฉพาะส่วนที่เห็นจากภาพข่าว และเป็นข้อสงสัยส่วนตัว มาแชร์ให้เพื่อนน่าจะดีกว่า

โดยประเด็นที่ผมสงสัย คืออาคารระดับนี้ ทำไมขณะเกิดเหตุ ถ้าดูจากภาพข่าวแล้วเหมือนระบบอัดอากาศสำหรับบันไดหนีไฟ จึงไม่มีประสิทธิภาพ มีกลุ่มควันเข้าสู่บันไดหนีไฟ

(แต่จะว่าไปก็สงสัยอยู่หลายเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมควัน เช่น ตำแหน่งของโถงลิฟต์ดับเพลิง และ...)

วันนี้จึงขอนำมาตรฐานที่เกี่ยวกับการทดสอบความดันและความเร็วลมของระบบอัดอากาศมาฝาก

โดยอ้างอิงตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานเลขที่ มอก.2541 เล่ม 6-2555 ข้อกำหนดในการป้องกันอัคคีภัย เล่มที่ 6 ระบบอัดอากาศเพื่อควบคุมควันไฟ ซึ่งตามมาตรฐานได้กำหนดถึงการทดสอบไว้ดังนี้


 

สำหรับตารางที่ 1


โดยกำหนดระยะเวลาในการบำรุงดูแลรักษาระบบ ดังนี้


ส่วนรายละเอียดของมาตรฐานทั้งหมด ก็ลองหา ใน Google กันได้นะครับ ใครที่ทำงานทางด้านนี้ก็ได้นำไปเป็นเอกสารอ้างอิง นอกเหนือจากมาตรฐาน วสท. ที่ใช้กัน

ไว้เจอกันเรื่องหน้านะครับ