ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยสำหรับอาคารที่ก่อสร้างติดกับชายทะเล คือปัญหาการเกิดสนิม กับวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาทิตย์ที่ผ่านมามีโอกาสไปตรวจงานที่ภูเก็ต ก็เลยนำรูปมาฝากกันเล็กน้อย
ผมว่าผู้ออกแบบหลายๆ ที่นั้นในปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญกับการเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับโครงการมากขึ้น โดยจะพบว่าอาคารใหม่ๆ ที่ก่อสร้างใกล้กับพื้นที่ชายทะเล ในส่วนของระบบท่อน้ำประปา มีการเลือกใช้วัสดุท่อที่เป็นพลาสติกกันเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ชนิด PE (Polyethylene) หรือ ชนิด PB (Polybutylene) หรือ PVC (Polyvinyl Chloride) หรือจะเป็น ชนิด PP-R (Random Copolymer Polypropylene) ซึ่งการเลือกใช้ ก็คงจะต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมทั้งทางด้านจุดที่จะนำไปใช้งาน และงบประมาณของโครงการด้วย ส่วนในระบบท่อน้ำร้อน ตามความเห็นของผมนะครับ ถ้าทองแดงราคาไม่สูงจนน่าตกใจเหมือนที่เคยผ่านมาช่วงหนึ่ง ก็ยังเป็นท่อที่ยังเหมาะสมที่จะใช้กับระบบน้ำร้อน
ขอนำรูปตัวอย่างอาคารที่มีการปรับปรุงระบบท่อมาให้ไว้เป็นไอเดียสำหรับทุกคนนะครับ
ตอนแรกกะว่าจะฟันธงให้เลยว่าส่วนใหนของระบบให้ใช้ท่ออะไร แต่คิดไปคิดมาไม่เอาดีกว่าเพราะว่าแต่ละอาคารมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ถ้าให้ดีก็ศึกษาจากผู้ขายหลายๆ ที่แล้วมาเปรียบเทียบกัน แต่แนะนำนะครับอย่าเชื่อผู้ขายเสียทั้่งหมด 5555..... อีกอย่างอย่าลืมนึกถึงตอนซ่อมนะครับว่าจะซ่อมยังไงไม่ใช่ว่าติดตั้งไปพอเวลามีปัญหา หาเครื่องมือไม่ได้ หรือช่างอาคารไม่มีทักษะพอ ซ้ำร้ายบริษัทฯที่ขายของให้ก็ไม่มีฝ่ายบริการ อันนี้ก็สำคัญนะครับ
และตามเคยวันนี้มีรูปมาฝากกัน เป็นรูปตู้ฉีดน้ำดับเพลิง แน่นอนครับสำหรับอาคารที่อยู่ใกล้ทะเล ที่ไปตรวจมานะครับทางอาคารเลือกใช้วัสดุที่เป็น Stainless กับ Fiberglass ยิ่งชนิดที่เป็น Fiberglass ตอนเห็นทีแรกผมยังคิดว่าเป็นตู้เหล็ก พอดูใกล้ๆ Fiberglass นี่ ว่าแล้วทำไมมันไม่ผุเลย แต่ลืมถามไปตู้ใบละเท่าไหร่ ในใจผมว่า ถ้าติดตั้งนอกอาคารเอาเป็นตู้ไม้เลยก็ดีนะครับคลาสสิคดีแล้วติดป้ายแสดงสัญลักษณ์ไว้เสียหน่อย ไว้ถ้าเจอที่ไหนมีแล้วจะเอามาฝากกันนะครับ
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
หัวรับน้ำดับเพลิง
ใจจริงแล้วตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องอื่นแต่บังเอิญว่าช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเจอคำถามเกี่ยวกับหัวรับน้ำดับเพลิงมาพอสมควรก็เลยถือโอกาสมาเล่าให้ฟัง ว่าเจ้าหัวรับน้ำดับเพลิงนั้นถ้าจะมีหรือติดตั้งจะต้องพิจารณาอะไรกันบ้าง
มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหัวรับน้ำดับเพลิง
1. หัวรับน้ำดับเพลิงจะต้องติดตั้งร่วมกับระบบท่อดับเพลิงภายในอาคารและระบบท่อดับเพลิงภายนอกอาคาร สำหรับเติมน้ำเข้าระบบท่อ
2. หัวรับน้ำดับเพลิงควรมีหัวรับน้ำอย่างน้อย 2 ทาง มีลิ้นกันกลับอยู่ในตัว หัวรับน้ำดับเพลิงเป็นชนิดตัวผู้สวมเร็ว พร้อมฝาครอบตัวเมีย และโซ่คล้องครบชุด ตัวหัวรับน้ำทำด้วยอลูมิเนียม ทองเหลือง หรือเป็นวัสดุที่เทียบเท่า
3. ขนาดของหัวรับน้ำดับเพลิงจะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร
4. หัวรับน้ำดับเพลิงจะต้องมีวาล์วกันกลับ (Check Valve) ติดตั้งต่างหากในเส้นท่ออีกด้วย
5. สำหรับอาคารหรือโรงงานที่มีการแบ่งระบบท่อน้ำดับเพลิงเป็นโซนจะต้องออกแบบให้มีหัวรับน้ำดับเพลิงแยกสำหรับแต่ละโซน และมีป้ายบ่งบอกอย่างชัดเจน
6. ไม่ให้มีวาล์วปิด-เปิด ระหว่างหัวรับน้ำดับเพลิงกับระบบท่อยืน
7. หัวรับน้ำดับเพลิงจะต้องติดตั้งอยู่ในที่ๆ พนักงานดับเพลิงเข้าถึงได้โดยง่าย และไม่มีอุปสรรคใดๆ และอยู่ใกล้กับหัวดับเพลิงสาธารณะ (Public Hydrant) (ข้อนี้ก็สำคัญนะครับเพราะน้ำดับเพลิงไม่ใช่ว่าจะเอามาจากรถดับเพลิงเพียงอย่างเดียวนะครับ เพราะน้ำของรถดับเพลิงมีปริมาณ 10-15 ลบ.ม. คงไม่เพียงพอ)
8. ระดับติดตั้งหัวรับน้ำดับเพลิงควรติดตั้งในระดับที่พนักงานดับเพลิงสามารถต่อสายดับเพลิงได้อย่างสะดวก ในส่วนของมาตรฐาน NFPA ระบุให้ติดตั้งสูงจากพื้นไม่มากกว่า 1.2 เมตร
สำหรับเรื่องขนาดป้ายแสดงตำแหน่งหัวรับน้ำดับเพลิงนั้นตามมาตรฐานทั่วไปกำหนดให้มีป้ายตัวอักษรอ่านได้ชัดเจนขนาด 5 เซ็นติเมตร แต่จากประสบการณ์แล้วผมแนะนำให้ใช้ตัวอักษรขนาดประมาณ 10 เซ็นติเมตร น่าจะดีเพราะสังเกตเห็นได้ง่าย วันนี้เลยเอารูปป้ายหัวรับน้ำดับเพลิงที่ที่หนึ่งที่ผมว่าน่าจะใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาเลยนะครับ ชัดเจนดีครับ
มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหัวรับน้ำดับเพลิง
1. หัวรับน้ำดับเพลิงจะต้องติดตั้งร่วมกับระบบท่อดับเพลิงภายในอาคารและระบบท่อดับเพลิงภายนอกอาคาร สำหรับเติมน้ำเข้าระบบท่อ
2. หัวรับน้ำดับเพลิงควรมีหัวรับน้ำอย่างน้อย 2 ทาง มีลิ้นกันกลับอยู่ในตัว หัวรับน้ำดับเพลิงเป็นชนิดตัวผู้สวมเร็ว พร้อมฝาครอบตัวเมีย และโซ่คล้องครบชุด ตัวหัวรับน้ำทำด้วยอลูมิเนียม ทองเหลือง หรือเป็นวัสดุที่เทียบเท่า
3. ขนาดของหัวรับน้ำดับเพลิงจะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร
4. หัวรับน้ำดับเพลิงจะต้องมีวาล์วกันกลับ (Check Valve) ติดตั้งต่างหากในเส้นท่ออีกด้วย
5. สำหรับอาคารหรือโรงงานที่มีการแบ่งระบบท่อน้ำดับเพลิงเป็นโซนจะต้องออกแบบให้มีหัวรับน้ำดับเพลิงแยกสำหรับแต่ละโซน และมีป้ายบ่งบอกอย่างชัดเจน
6. ไม่ให้มีวาล์วปิด-เปิด ระหว่างหัวรับน้ำดับเพลิงกับระบบท่อยืน
7. หัวรับน้ำดับเพลิงจะต้องติดตั้งอยู่ในที่ๆ พนักงานดับเพลิงเข้าถึงได้โดยง่าย และไม่มีอุปสรรคใดๆ และอยู่ใกล้กับหัวดับเพลิงสาธารณะ (Public Hydrant) (ข้อนี้ก็สำคัญนะครับเพราะน้ำดับเพลิงไม่ใช่ว่าจะเอามาจากรถดับเพลิงเพียงอย่างเดียวนะครับ เพราะน้ำของรถดับเพลิงมีปริมาณ 10-15 ลบ.ม. คงไม่เพียงพอ)
8. ระดับติดตั้งหัวรับน้ำดับเพลิงควรติดตั้งในระดับที่พนักงานดับเพลิงสามารถต่อสายดับเพลิงได้อย่างสะดวก ในส่วนของมาตรฐาน NFPA ระบุให้ติดตั้งสูงจากพื้นไม่มากกว่า 1.2 เมตร
สำหรับเรื่องขนาดป้ายแสดงตำแหน่งหัวรับน้ำดับเพลิงนั้นตามมาตรฐานทั่วไปกำหนดให้มีป้ายตัวอักษรอ่านได้ชัดเจนขนาด 5 เซ็นติเมตร แต่จากประสบการณ์แล้วผมแนะนำให้ใช้ตัวอักษรขนาดประมาณ 10 เซ็นติเมตร น่าจะดีเพราะสังเกตเห็นได้ง่าย วันนี้เลยเอารูปป้ายหัวรับน้ำดับเพลิงที่ที่หนึ่งที่ผมว่าน่าจะใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาเลยนะครับ ชัดเจนดีครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)