ปกติผมมักจะบอกเพื่อนๆ เสมอว่าเวลาไปนอนค้างโรงแรม ก่อนอาบน้ำฝักบัว ให้เปิดน้ำร้อนทิ้งไว้ซัก 5-10 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน แต่ส่วนตัวแล้วก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ทำไมผมถึงบอกเพื่อนอย่างนั้นละ?
และถ้าใครออกแบบระบบน้ำร้อน เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราต้องออกแบบน้ำร้อนที่ 55-60 องศาเซลเซียส ในเมื่อเวลาเราอาบน้ำ ก็ต้องผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็น เพื่อให้เป็นน้ำอุ่น สำหรับอาบอยู่ดี และหายากมากๆ ถ้าใครจะอาบน้ำที่อุณหภูมิน้ำร้อน แต่ถ้าคนญี่ปุ่นไม่แน่นะ (เคยได้ยินมาอย่างนั้น)
ทั้ง 2 ถามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มาจากสาเหตุเดียวกัน นั่นคือ เพื่อต้องการจะไม่ให้เชื้อลีจิโอเนลลาเติบโต วันนี้มาตรวจงานต่างจังหวัดและกำลังจะอาบน้ำพอดี เลยมานั่งคิดว่าแล้วที่เปิดน้ำร้อนทิ้งไว้ 5-10 นาที มันได้ผลจริงหรือ เลยต้องหาคำตอบเสียหน่อย
แต่ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับ ลีจิโอเนลลา กันซักเล็กน้อย แต่ถ้าใครอยากทราบแบบละเอียดๆ แนะนำว่า Google คงช่วยท่านได้มากแน่นอน
เชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลา จัดเป็นเชื้อแบคทีเรีย โดยเป็นเชื้อที่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งเช่น น้ำใน Cooling Tower ตามอาคารต่างๆที่มีการใช้งานไม่
ว่าจะเป็นโรงแรม ห้างสรรพสินค้า และโรงพยาบาล รวมไปถึงอ่างน้ำวน เครื่องทำน้ำร้อน
และฝักบัวอาบน้ำที่ไม่มีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างถูกต้อง และเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเชื้อสามารถรวมกลุ่มกันอยู่ภายในระบบการส่งน้ำ และโดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อคือ 20-50 องศาเซลเซียส
และนี่คือที่มาว่าทำไมต้องออกแบบระบบน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส แต่จากข้อมูลเบื้องต้น เชื้อลีจิโอเนลลา จะเริ่มตายที่อุณหภูมิสูงกว่า 56 องศาเซลเซียส และถ้าให้ดีจะต้องให้ความร้อนสูงถึง 70 องศาเซลเซียส คงที่ตลอด 10 นาที เชื้อถึงจะตาย
แสดงว่าที่บอกเพื่อนให้เปิดน้ำร้อนทิ้งไว้คงไม่ได้ผล 100% แต่ก็ดีกว่าไม่ทำนะ บอกไว้ก่อน
แล้วจะมีวิธีใดบ้างที่จะกำจัดเชื้อออกจากระบบท่อส่งน้ำได้ จึงขอยกเป็นตารางเปรียบเทียบให้ดูกันนะครับ ไปเจอตารางนี้ ผมดูแล้วว่าเอาไว้เป็นไอเดีย ได้ดีทีเดียว เลยเอามาฝากกัน
ว่าแล้วก็ขอตัวไปอาบน้ำก่อนนะครับ แล้วเจอกันเรื่องหน้านะครับ
วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Sprinkler สำหรับอาคารคลังสินค้า (3)
มาพบกันตอนที่ 3 ครับ ซึ่งเป็นตอนจบ ค้างไว้นานครับสำหรับตอนนี้ แต่ไม่กี่วันมานี้มีข่าวไฟไหม้คลังสินค้าที่บางปู เลยต้องรีบเขียน ก็หวังว่าเผื่อจะมีใครเห็นบทความนี้ แล้วเอาไปศึกษาในตัวมาตรฐานเพิ่มเติมกันต่อไป เพราะต้องบอกครับว่า บางทีก็ท้อๆ เพราะสุดท้ายเจ้าของบอก ราคาสูง เอามันธรรมดานี่แหละ ติดตั้งแบบ Ordinary Hazard พอ ยิ่ง Consult ผสมเข้าไปอีกว่าไม่จำเป็น ผมไม่เคยเห็นมาตรฐานอะไรพวกนี้ สุดท้ายจบลงประโยคเด็ด "บริษัทประกันก็ของผม อาคารก็ของผม ไม่มีใครมาตรวจหรอก" ถ้าเป็นภาษาวัยรุ่น ก็คงบอกว่า "จบปะ" ในใจก็นึกไปว่า ขอให้อาคารปลอดภัยครับ
มาเข้าเรื่องกันดีกว่า สำหรับในตอนสุดท้ายนี้ ผมจะขอยกตัวอย่างตารางที่มาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบ Sprinkler โดยผมขออ้างอิงมาตรฐาน NFPA 13 : 2010 ดังนี้ครับ
กรณี Miscellaneous Storage ให้ดูที่ Chapter 13
กรณี Protection of Class I to Class IV Commodities และจัดเก็บในลักษณะ Palletized, Solid Piled, Bin Boxes, Shelf Storage, Back-to-Back Shelf Storage ให้ดูที่ Chapter 14
กรณี Protection of Plastic and Rubber Commodities และจัดเก็บในลักษณะ Palletized, Solid Piled, Bin Boxes, Shelf Storage, Back-to-Back Shelf Storage ให้ดูที่ Chapter 15
กรณี Protection of Class I Through Class IV Commodities และจัดเก็บในลักษณะ on Racks ให้ดูที่ Chapter 16
กรณี Protection of Plastic and Rubber Commodities และจัดเก็บในลักษณะ on Racks ให้ดูที่ Chapter 17
กรณี Protection Rubber Tire Storage ให้ดูที่ Chapter 18
กรณี Protection of Roll Paper ให้ดูที่ Chapter 19
สำหรับรูปด้านล่างผมขอยกตัวอย่างใน Chapter 14 กรณีเราเลือกติด Sprinkler เป็นชนิด ESFR
ถ้าเราเลือก ESFR ที่ K=25.2 และ
- Maximum Storage Height = 6.10 m.
- Maximum Roof Height = 7.60 m.
นั่นหมายถึงค่าที่เราต้องใช้ในการคำนวณหาขนาดท่อ และขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง นั้นต้องใช้ค่าดังต่อไปนี้
- จำนวน Sprinkler ที่จะนำไป Calculation = 12 Heads
- ความดันต่ำสุดของ Sprinkler = 15 psi.
- ปริมาณน้ำสำรองดับเพลิง ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
ซึ่งถ้าเราเลือกค่า K น้อยกว่า 25.2 ค่าต่างๆ ก็จะเปลี่ยนไปดังที่แสดงในตาราง
ซึ่งการคำนวณต้องใช้วิธี Hydraulic Calculation นะครับ
สำหรับข้อมูลโดยละเอียดแนะนำให้หามาตรฐานมาอ่านนะครับ เพราะว่ามีอีกหลายส่วน หรือถ้าใครอยากจะหาคนสอนก็แนะนำว่าลองดูคอร์ส ที่ วสท. จัดดูนะครับ ซึ่งมีจัดทุกปี
ไว้ติดตามกันเรื่องหน้านะครับ ช่วงที่ผ่านมาหายๆ ไปบ้าง ไม่ได้ไปไหนครับ ไปหาประสบการณ นี่ก็คิดไว้หลายเรื่องอยู่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)