เมื่อช่วงเดือนที่แล้ว มีโอกาสเข้าคณะพิจารณาทบทวน รายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พบว่ามีบางรายการที่เปลี่ยนไปจากแบบที่เราเคยทำอยู่บ้าง แต่ในภาพรวมถือยังไม่แตกต่างมากนัก วันนี้เลยรวบรวมรายการที่ทาง EIA Consultant ต้องการจากงานระบบ และรายการที่เพิ่มเติมเข้ามา ไว้เป็นแนวทางกันครับ
รายการเอกสารงานระบบสุขาภิบาล
1. รายการคำนวณ (น้ำใช้,ขยะ,ระบบบำบัดน้ำเสียช่วงดำเนินการ, ระบบบำบัดน้ำเสียช่วงก่อสร้าง,บ่อหน่วงน้ำ,ปริมาณไฟฟ้าสำหรับบ่อหน่วงน้ำและบ่อบำบัด,ระบบดับเพลิง, Water Reuse, การบำบัดก๊าซมีเทน,การฆ่าเชื้อสระว่ายน้ำ)
2. ปริมาณการใช้น้ำแยกแต่ละกิจกรรม และรายการ (น้ำใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค,น้ำล้างห้องพักมูลฝอย, น้ำเติมสระว่ายน้ำ) นิดหนึ่งนะครับข้อนี้ ต้องดูว่าเขาปลูกไม้คลุมดินหรือเปล่า ถ้าเป็นไม้คลุมดินให้คิดประมาณน้ำใช้ 20 ลิตร/ตร.ม.-วัน
3. ผังแนวดิ่งระบบจ่ายน้ำใช้ของโครงการ
4. ผังแสดงเมนระบบประปา ขนาดท่อ จุดรับน้ำประปา ผังแสดงตำแหน่งถังเก็บน้ำใต้ดินและชั้นดาดฟ้า
5. รูปตัดฝาถังเก็บสำรองน้ำใช้ของโครงการทั้งหมด (อย่าลืมมี 2 ฝา นะครับ)
6. ระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล ระบุ
- ประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียที่เลือกใช้ในโครงการ คำนวณปริมาณตะกอนจากระบบและวิธีการกำจัด (ถังเก็บตะกอนกำหนดไว้ 30 วัน)
- แบบแปลนแสดงตำแหน่งที่ตั้งและผังแสดงระบบ
- แบบแปลนแสดงแนวท่อน้ำเสียและน้ำทิ้งภายในโครงการ
- แสดงจุดปล่อยน้ำหลังผ่านการบำบัดลงแหล่งน้ำสาธารณะหรือลงท่อสาธารณะ
- ท่อยืนรวบรวมน้ำเสียภายในอาคาร
- รายการคำนวนค่าไฟฟ้าของระบบบัดน้ำเสีย
- ผังระบายน้ำเสียจากห้องเก็บมูลฝอยรวมเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียโดยเพิ่มเติมลงในผังระบายน้ำเสีย
(ข้อนี้มี Comment เพิ่มโดย ให้เพิ่มถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป รับน้ำเสียจากห้องพักขยะก่อนเข้าระบบบำบัดน้ำเสียรวม)
- รูปตัด รูปขยายของระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมรายการคำนวณระบบบัดบ้ำเสีย และผังแสดงขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย (ให้ก้นถังตกตะกอนทำมุม 60 องศา)
- รายการคำนวณระบบบำบัดละอองน้ำ Aerosal และการกำจัดก๊าซมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมแบบประกอบ
- บ่อ Polishing pond ของระบบบำบัดน้ำเสียจะต้องออกแบบให้สามารถรองรับน้ำทิ้งทั้งหมดได้นาน 1 ชั่วโมงก่อนระบายออกนอกโครงการ
- รายการคำนวณการฆ่าเชื้อสระว่ายน้ำ
7. การระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม
- รายละเอียดระบบระบายน้ำของโครงการ เช่น ขนาดท่อ หรือรางระบายน้ำแต่ละบริเวณของโครงการ ระดับความลาดเอียงของท่อระบายน้ำ เป็นต้น
- แบบแปลนแสดงแนวท่อระบายน้ำหรือรางระบายน้ำฝนของโครงการทั้งหมด
- ผังแนวดิ่งระบบรวมรวมน้ำฝน พร้อมระบุขนาดท่อระบายน้ำฝน
- รูปตัดขวางทางชลศาสตร์ระบบระบายน้ำ
- แบบแปลนตำแหน่งบ่อหน่วง แบบขยาย ระดับกักเก็บ
- รายการคำนวณการระบายน้ำ บ่อหน่วงน้ำและการควบคุมการระบายน้ำ
(ไม่ต้องใช้การหน่วงในเส้นท่อ แล้วนะครับ)
8. ระบบอัคคีภัยและมาตรการรักษาความปลอดภัย
- ท่อยืนดับเพลิงภายในอาคาร
- ผังแนวดิ่งระบบป้องกันอัคคีภัย (แสดงการเชื่อมต่อท่อกับระบบน้ำใช้ชั้นดาดฟ้า)
- ตำแหน่งจุดจอดรถดับเพลิงที่ใกล้เคียงกับหัวรับน้ำดับเพลิง
- รายการคำนวณทางหนีไฟ
ลองเอาไปเป็นข้อมูลนะครับจะได้ไม่ต้องทำกันหลายรอบ
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559
ระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับสถานีบริการน้ำมัน
ถ้าจะพูดถึงสถานีบริการน้ำมัน สำหรับการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย สมัยก่อนก็จะมองว่ามีเพียงน้ำเสียจากห้องน้ำ ซึ่งค่า BOD ก็จะเป็นค่าทั่วไปที่ใช้ออกแบบ คือประมาณ 250 mg/l แต่ถ้าเป็นปัจจุบัน ปั๊มน้ำมัน บางที่ก็เหมือนกับ Open Mall ย่อมๆ มีทั้งขายเสื้อผ้า, อาหารและเครื่องดื่ม และศูนย์อาหาร สารพัด ดังนั้นการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย คงจะมองเฉพาะน้ำเสียจากห้องน้ำอย่างเดียวไม่ได้แล้ว
แล้วถ้าจะออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
1. ระบบบำบัดต้องรับ Peak ของเสียได้ดี อันนี้สำคัญเพราะนึกภาพดูนะครับ ช่วงเทศกาลปริมาณน้ำเสียจะเยอะกว่าปกติมาก
2. พื้นที่ข้างเคียง ประเด็นนี้หลายคนอาจมองข้าม แต่ถ้าโครงการตั้งติดกับรั้วบ้านคนอื่น ถ้าระบบมีส่วนที่มีโอกาสเกิดกลิ่น เช่น Septic Tank ก็อาจมีเรื่องฟ้องร้องกันได้
3. Operated ต้องไม่ซับซ้อน เพราะอย่าลืมว่าตอน Operated ใครจะมาดูแล
4. ประหยัดพลังงาน เพราะถ้าจะเปิดเครื่องเติมอากาศ 24 ชั่วโมง ในช่วงที่น้ำเสียเข้ามาน้อย ก็จะสิ้นเปลืองพลังงาน
สำหรับสถานีน้ำมันแห่งนี้อยู่ในกรุงเทพฯ โดยออกแบบเป็นระบบ SBR (Sequencing Batch Reactor) แบบ Continuous Flow
ขนาดของระบบ 20 ลบ.ม./วัน ค่า BOD เข้าเฉลี่ย 400 มก./ล ตอนนี้เพิ่ง Start Up ครับ เดินระบบมา 6 เดือน ระบบยังไม่นิ่งเท่าไหร่ ต้องเลี้ยงเชื้ออีก น้ำเสียออกเหลืองเล็กน้อย โดยมาจากร้านกาแฟ ที่อยู่ในปั๊ม แต่ค่าน้ำทิ้งก็ผ่านตามมาตรฐานน้ำทิ้ง วันนี้เลยเอาภาพของ Plant มาฝากกัน ถ้าใครออกแบบก็อย่าลืมประเด็นที่ฝากไว้นะครับ
ภาพรวมของบ่อบำบัดน้ำเสีย
(บนดินค่าก่อสร้าง จะประหยัดกว่า)
ตู้ควบคุมไฟฟ้า
ค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO)
ในบ่อเติมอากาศ
น้ำทิ้งจากระบบบำบัด
แล้วถ้าจะออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
1. ระบบบำบัดต้องรับ Peak ของเสียได้ดี อันนี้สำคัญเพราะนึกภาพดูนะครับ ช่วงเทศกาลปริมาณน้ำเสียจะเยอะกว่าปกติมาก
2. พื้นที่ข้างเคียง ประเด็นนี้หลายคนอาจมองข้าม แต่ถ้าโครงการตั้งติดกับรั้วบ้านคนอื่น ถ้าระบบมีส่วนที่มีโอกาสเกิดกลิ่น เช่น Septic Tank ก็อาจมีเรื่องฟ้องร้องกันได้
3. Operated ต้องไม่ซับซ้อน เพราะอย่าลืมว่าตอน Operated ใครจะมาดูแล
4. ประหยัดพลังงาน เพราะถ้าจะเปิดเครื่องเติมอากาศ 24 ชั่วโมง ในช่วงที่น้ำเสียเข้ามาน้อย ก็จะสิ้นเปลืองพลังงาน
สำหรับสถานีน้ำมันแห่งนี้อยู่ในกรุงเทพฯ โดยออกแบบเป็นระบบ SBR (Sequencing Batch Reactor) แบบ Continuous Flow
ขนาดของระบบ 20 ลบ.ม./วัน ค่า BOD เข้าเฉลี่ย 400 มก./ล ตอนนี้เพิ่ง Start Up ครับ เดินระบบมา 6 เดือน ระบบยังไม่นิ่งเท่าไหร่ ต้องเลี้ยงเชื้ออีก น้ำเสียออกเหลืองเล็กน้อย โดยมาจากร้านกาแฟ ที่อยู่ในปั๊ม แต่ค่าน้ำทิ้งก็ผ่านตามมาตรฐานน้ำทิ้ง วันนี้เลยเอาภาพของ Plant มาฝากกัน ถ้าใครออกแบบก็อย่าลืมประเด็นที่ฝากไว้นะครับ
ภาพรวมของบ่อบำบัดน้ำเสีย
(บนดินค่าก่อสร้าง จะประหยัดกว่า)
ตู้ควบคุมไฟฟ้า
ค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO)
ในบ่อเติมอากาศ
น้ำทิ้งจากระบบบำบัด
วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559
Water Spray System for LPG Gas Tank
เริ่มต้นศักราชใหม่ กันแล้วนะครับ สวัสดีปีใหม่กันทุกคนครับ
วันนี้ถือโอกาสในวันสดใสเอาเรื่องมาฝากกัน ก็เป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจงกันเสียหน่อย
ได้มีโอกาสไปสำรวจอาคารหลายที่พบว่าระบบดับเพลิงด้วย Sprinkler
สำหรับ
ถัง Bulk LPG Gas ของบ้านเรายังติดตั้งไม่ตามมาตรฐาน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะกฎหมายที่ใช้กันอยู่ไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ มีบังคับเพียง ถังดับเพลิงมือถือ และหัวดับเพลิงขนาดใหญ่ (2.5 นิ้ว)
เท่านั้น วันนี้เลยนำบางส่วนของมาตรฐาน
NFPA 15 Standard for Water Spray Fixed System for Fire Protection มาฝากกัน
สำหรับการออกแบบ Sprinkler สำหรับ Bulk LPG Gas นั้น
สิ่งที่ต้องทราบ เบื้องต้นได้แก่
1. Protection Area โดยหาได้จากขนาดของพื้นที่หน้าตัดของ Tank ทุกด้านรวมกัน
(π X D X
H) + (π X D2) :
D = เส้นผ่านศูนย์กลางของถัง
R = รัศมีของถัง
H = ความยาวของถัง
Note : สูตรข้างบนเป็น Hemispherical
Note : สูตรข้างบนเป็น Hemispherical
2. หาปริมาณน้ำที่ต้องการ ตามมาตรฐานกำหนดไว้ที่ 0.25
gpm/sq.ft
3. กำหนด Layout ของ Nozzle
โดยเลือก
Nozzle ที่มี Patterns ที่เหมาะสมโดยให้คลุมโดยรอบ
4. คำนวณอัตราการใช้น้ำ และขนาดท่อ ด้วยวิธี Hydraulic
Calculations โดยคิด Minimum operating pressure = 20 psi
และอย่าลืมนะครับระบบ Sprinkler เป็น Deluge
Type นะครับ โดยถ้าเลือกใช้ Pilot-Type Sprinkler เป็น Detector
และติดตั้ง
แบบ Outdoors ระยะของ Pilot Sprinkler จะต้องไม่มากว่า 2.5 m.
ไว้พบกันเรื่องหน้านะครับ สวัสดีปีใหม่ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)