วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563

บ่อหน่วงน้ำ กับ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 2556

เมื่อหลายปีก่อนเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องบ่อหน่วงน้ำไป ซึ่งถือว่าเป็นบทความต้นๆ ของ Blog ที่มีคนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งว่ากันตามตรงแล้วบทความชุดนั้นก็เขียนมาหลายปีแล้ว แต่ถ้าดูกันที่เนื้อหาการออกแบบก็ต้องบอกว่า จริงๆ แล้วยังไม่เปลี่ยน แต่ที่เปลี่ยนไป ก็มีบ้าง เช่น วิธีการหน่วงน้ำ , การระบายน้ำออกจากพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งก็ถือว่าเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ซึ่งก็มีปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่คณะกรรมการผู้พิจารณารายงาน EIA หรือแม้กระทั่งที่ปรึกษา EIA บางครั้งออกรายการคำนวณไปก็ยังคิดอยู่ว่ามันถูกหรือ แต่เพื่อให้การทำงานระหว่างผู้ออกแบบ กับ ที่ปรึกษา EIA เป็นไปอย่างราบรื่น ก็ยอมๆ ทำไป แต่อย่างไรก็ดี ขนาดบ่อจะต้องไม่น้อยกว่าที่เราคิดว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้อง

เหมือนสมัยนี้ยุค 4.0 อะไรๆ ที่ใช้การคำนวณมืออาจไม่เป็นที่ยอมรับ ก็ต้องไปหาโปรมแกรมมาใช้ ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องการออกแบบบ่อหน่วงน้ำแล้วในบ้านเรา ก็ใช้โปรแกรม Monkey 1.0 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ออกมาเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว คงไม่ต้องบรรยายถึงความเก่า แต่ก็ถือว่าเป็นโปรแกรม ที่ใช้ได้นะ แต่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่สามารถกำหนดอัตราการระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ ถ้าจำไม่ผิดตัวโปรแกรมนี้ถูกออกแบบมา ใช้สำหรับพื้นขนาดเล็ก เช่น บ้านพักอาศัย (ส่วนนี้ถ้าผิดก็แย้งมาได้นะครับ หนังสือคู่มือที่มากับตัวโปรแกรม ผมหาไม่เจอจริงๆ แต่ยังจำเนื้อหาบางส่วนได้) แต่สมัยนี้เรากลับเอามาใช้กับการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ก็ไม่ได้บอกว่าผิดนะครับ เพราะถ้าขนาดบ่อหน่วงน้ำใหญ่ ก็หมายถึงการลดภาระในส่วนของระบบระบายน้ำสาธารณะ

นึกแล้วยังเสียดายเขียนโปรแกรมไม่เป็น ถ้าไม่อย่างนั้นนะทำโปรแกรมแล้ว หุหุ

มาเข้าเรื่องดีกว่า วันนี้เอาเนื้อหาบางส่วนของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 2556 ที่เกี่ยวกับบ่อหน่วงน้ำมาฝากกัน คือในกรณีที่โครงการไหน จะขอโบนัส ในการก่อสร้างอาคาร ให้ได้มากกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือเรียกง่ายๆ ว่า โบนัส FAR (สำหรับความหมายของ FAR ลองหาใน google นะครับ) ก็จะต้องเตรียมบ่อหน่วงน้ำขนาด ตั้งแต่ 1 ลูกบาศก์เมตร ถึง 4 ลูกบาศก์เมตร ต่อพื้นที่ดิน 50 ตารางเมตร ให้มี FAR Bonus ได้ไม่เกินร้อยละ 5 จนถึงร้อยละ 20


ถ้าว่าไปแล้วก็ถือว่าสมเหตุสมผลนะ ถ้าคุณจะสร้างอาคารที่มีพื้นที่มากขึ้น ก็ต้องแลกกับข้อกำหนดที่ดีขึ้น

วันนี้เอาโปรมแกรม Monkey 1.0 มาฝากกันนะครับ พอดีได้ตัวโปรมแกรมมา เลยมาแจกฟรี ให้คนสนใจ ถ้าอย่างไร E-Mail มาขอนะครับ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563

LPCB APPROVED

LPCB ก็เหมือนองค์กรอิสระ ที่ให้การรับรอง วัสดุต่างๆ ได้แก่

Construction Products Regulation
Pressure Equipment Directive
Marine Equipment Directive
Transport Pressure Equipment Directive
เป็นต้น

ถ้าว่าไปแล้วฝั่ง USA มี UL รับรอง ส่วนฝั่งยุโรป (รวมอังกฤษ) ก็มี LPCB นี่แหละ

ในระบบดับเพลิงอุปกรณ์ที่ผลิตตาม BS Standard เช่น Fire Hose Reels ถ้าจะซื้อ คงต้องดูว่าได้ LPCB APPROVED หรือเปล่า วันนี้เลยเอารายชื่ออุปกรณ์แต่ละยี่ห่อ ที่ได้ LPCB APPROVED มาฝาก
โดยสามารถกดดาวน์โหลดเอกสารตาม Link ข้างล่างได้เลยนะครับ

https://www.redbooklive.com/pdfdocs/redbook-vol1part2.pdf

(Update 14 April 2020)





วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563

ระบบ Sprinkler สำหรับห้องเก็บสารเคมีที่ติดไฟได้

บทความนี้จะพูดถึงการออกแบบย่อๆ ไว้สำหรับคนที่ต้องการจะหาแหล่งอ้างอิง โดยหากจะหาเนื้อหาที่พูดถึงมาตรฐานอย่างละเอียด แนะนำว่าให้ไปอ่าน NFPA 30 เพิ่มเติม นะครับ

ก่อนอื่นต้องทราบกันก่อนว่าสารเคมีติดไฟได้ ตามมาตรฐาน NFPA นั้นแบ่งกันอย่างไร ตามมาตรฐานสากลแล้วมี 2 มาตรฐาน ที่นิยมอ้างอิงกัน คือ NFPA และ OSHA แต่จะขออ้างอิงตาม NFPA นะครับ โดยสามารถแบ่งได้ ดังนี้
ที่มา : Glen Carter Sr. Engineer Justrite Manufacturing Company LLC

สำหรับอาคารที่จัดเก็บสารเคมีติดไฟได้ ถือว่าเป็น Special Occupancy ซึ่งการออกแบบระบบ Sprinkler นั้นเราจะอ้างอิงตาม มาตรฐาน NFPA 30 Flammable and Combustible Liquids Code

โดยเนื้อหาสำหรับการออกแบบสามารถสรุป ได้ดังนี้



ที่มา : NFPA 30 Flammable and Combustible Liquids Code