วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2567

SDG Index ของประเทศไทย ปี 2023

ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติรวม 193 ประเทศ ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาของโลกเพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนา ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศดำเนินการร่วมกัน โดยที่ SDGs มีทั้งสิ้น 17 ตัวชี้วัด ได้แก่

SDG1 ยุติความยากจน
SDG2 ขจัดความหิวโหย
SDG3 สุขภาพเเละความเป็นอยู่ที่ดี
SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม เเละอุตสาหกรรม
SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
SDG11 เมืองเเละชุมชนที่ยั่งยืน
SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
SDG15 ระบบนิเวศบนบก
SDG16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ซึ่งในปี 2023 ที่ผ่านมา ประเทศไทย จัดอยู่ใน อันดับ 43 ของโลก, อันดับ 3 ของเอเชีย และอันดับ 1 ของอาเซียน



ซึ่งถ้าดูจากข้อมูล ตัวชี้วัดที่ประเทศไทยบรรลุตามเป้าหมาย แล้ว 2 เรื่อง คือ

SDG1 ยุติความยากจน
เส้นความยากจนสากล คือ 1.90 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 60 บาท ถึงแม้ค่าเฉลี่ยของจะสูงกว่าเส้นความยากจนสากล แต่สถานการณ์ความยากจนความเหลื่อมล้ำ ของคนในประเทศ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยก็มีคนที่ยากจนค่อนข้างมาก

SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
โดยมี 4 ตัวชี้วัด ได้แก่
(1) ร้อยละของเด็กอายุ 4-6 ปีที่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนประถมศึกษา
(2) อัตราการเข้าเรียนสุทธิในระดับประถมศึกษา
(3) อัตราการสำเร็จการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
(4) อัตราการรู้หนังสือของประชากรอายุ 15 – 24 ปี

ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ยังคงรุนแรงในประเทศไทยจะเป็นปัจจัยเชิงลบที่ส่งผลต่อการเข้าถึงการศึกษา ดังนั้น ในการประเมินสถานการณ์ด้านการศึกษาเพื่อตอบคำถามว่าประเทศไทยบรรลุ SDG4 หรือไม่นั้นยังจำเป็นต้องอาศัยชุดข้อมูลในมิติอื่น ๆ พิจารณาควบคู่กันไปด้วย

ข้อมูลจากhttps://www.sdgmove.com/

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เชื้อไวรัส COVID-19 ในน้ำดื่ม น้ำประปา น้ำทิ้ง และสิ่งปฏิกูล

 วันนี้หาข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่เหมาะสมในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19

พอดีเจอเอกสารแนบ จากหนังสือทางราชการจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ส่งถึง ศคบ. และนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 เห็นว่าเป็นประโยชน์ ก็เลยเอามาแชร์ ครับ


ดูจากข้อมูลแล้ว สรุปว่ายังมีความเสี่ยงต่ำ แต่ผมคิดว่าการจัดสร้างหรือปรับปรุง ระบบอาจต้องพิจารณารูปแบบการเติมอากาศ และการจัดการละอองฝอย จากระบบบำบัดน้ำเสีย ให้สัมผัสกับบุคคลที่รับผิดชอบให้น้อยที่สุด และสุดท้ายก็ต้องมีระบบฆ่าเชื้อโรคในน้ำทิ้ง ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะต่อไป