เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ถ้าติดตามข่าวก็น่าจะพอทราบว่าในกรุงเทพมหานคร มีเหตุการณ์ไฟไหม้ติดต่อกัน 3 อาคาร ในเวลา 1 สัปดาห์ และพบว่าในเหตุการณ์เหล่านี้มีผู้เสียชีวิตด้วย โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตเกิดจากควันไฟที่เกิดขึ้น และถ้าใครยังจำภาพเหตุการณ์ไฟไหม้อาคาร FICO ได้จะเห็นว่าต้นเพลิงอยู่ที่ชั้น 7 แต่ว่าชั้นด้านบนไฟได้ลามขึ้นไปติดทั้งหมด ลักษณะนี้เรียกว่าเกิดการลามไฟระหว่างชั้น
เมื่อเกิดการลามไฟระหว่างชั้นในลักษณะนี้ถือว่ายากแก่การควบคุม ด้งนั้นสำหรับอาคารที่ก่อสร้างใหม่ข้อบัญญัติ กทม. จึงระบุไว้ว่าช่องเปิดทะลุต่างๆ เช่น ช่องท่อของงานระบบ จะต้องมีการปิดกั้นด้วยวัสดุที่ทนไฟ รวมทั้งในกฎกระทรวงมหมาดไทย ก็ยังระบุให้บันไดกลาง (บันไดที่ใช้สัญจรระหว่างชั้น) จะต้องมีการปิดล้อมด้วยส่วนที่ทนไฟ ดังนั้นจะเห็นว่าตึกใหม่ๆ จะไม่พบว่ามีบันไดกลาง (แต่จะใช้บันไดหนีไฟเป็นทางสัญจรแทนแล้วก็จะเปิดค้างไว้ตลอด 555 ไม่ถูกนะครับ บันไดต้องปิดไว้ตลอดเวลา)
วันนี้ผมเลยนำรูปแบบการติดตัั้งวัสดุปิดช่องท่อสำหรับงานระบบ เรียกสั้นๆว่า Fire Barrier แล้วกันนะครับ
สำหรับการติดตั้ง Fire Barrier ที่เอามาให้เป็นตัวอย่างนี้ เป็นรูปแบบที่ใช้กับช่องท่อของงานระบบไฟฟ้าและงานระบบสุขาภิบาล โดยเฉพาะท่อสำหรับงานสุขาภิบาลที่ใช้เป็นท่อ PVC จะต้องมีการป้องกันพิเศษหน่อยเพราะว่า เมื่อไฟไหม้แล้ว PVC จะหลอมตัวทำให้เกิดช่องว่างได้
(สำหรับรูปแบบการติดตั้งได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท Masstec Link Co.,Ltd.
ถ้าใครอยากทราบ Spec. ก็สอบถามไปได้นะครับ)
การติดตั้ง Fire Barrier สำหรับช่องท่องานระบบไฟฟ้า
การติดตั้ง Fire Barrier สำหรับช่องท่องานระบบสุขาภิบาล
เช่นเคยครับติดไว้วันก่อนวันนี้มีรูปมาฝากกันเป็นรูปหินงอกหินย้อยในอาคาร แซวกันเล่นๆนะครับ
อาคาร Fico ไฟลามข้ามชั้นผ่านทางรอยต่อของผนังกระจกและพื้นอาคารครับ ถึงแม้อาคารไม่ได้ปิดล้อมช่องชาฟท์ แต่ไฟไม่ได้ลามทางนั้น
ตอบลบถ้าให้ดีแชร์กันเรื่องการป้องกันการลามไฟจากรอยต่อของผนังกระจกก็ดีนะครับ จะได้เป็นความรู้ด้วยครับ และรบกวนด้วยนะครับว่าบทความบอกตรงไหนบ้างว่า Case นี้เกิดจากการลามไฟที่ช่องชาร์ฟ จะได้ลบออก เพราะผมก็ไม่ได้ไปตรวจที่นั่น เกรงว่าจะมีคนเข้าใจผิดได้
ลบขอบคุณครับ
ประมุข
ขออภัยครับ เผอิญดูรูปช่องชาฟท์แล้ว ใจมันยังอินกับรูปอยู่
ตอบลบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่กันไฟลามตามกรณีที่ว่าครับ
http://www.metacaulk.com/fsgdata/System/cw-d-2016.pdf
ผมก็เขียนสั้นไปหน่อย คืออยากจะบอกว่าส่วนใหญ่เราจะไปปิดล้อมหรือป้องกันไฟลามกันแต่เฉพาะช่องชาฟท์ โถงโล่ง หรือช่องบันได แต่มีอีกหลายอาคารที่ใช้ระบบผนังกระจก แต่มองข้ามการลามไฟข้ามชั้นที่บริเวณรอยต่อของพื้นกับ curtain wall (ซึ่งอาคาร fico เป็นกรณีนี้)
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดีๆครับ
ลบประมุข
ช่องชาร์ปของระบบไฟฟ้ากับระบบประปา สามารถอยู่ในชาร์ปเดียวกันได้มั้ยครับ
ตอบลบไม่ควรอยู่ช่องเดียวกันครับ ถึงแม้จะกั้นชาร์ป แยกกัน ก็ไม่ควรอยู่ใกล้กันครับ
ลบ