เหลือสองวันจะสิ้นเดือน ที่สำคัญต้องลงบทความให้ครบตามที่สัญญาไว้ด้วย 5555 ช่วงนี้ยุ่งจริงๆครับ นี่ก็เพิ่งไปอบรมให้กับกลุ่ม จป.ลำพูน กลับมาก้อดึกพอควร แต่ต้องขอชื่นชมนะครับว่า ชมรมจป. ที่นั่นรวมตัวกันได้เหนี่ยวแน่นดีและมีการจัดกิจกรรมตลอด ก้อยินดีนะครับถ้าจะให้ไปจัดอีก แต่คราวหน้าคงต้องเปลี่ยนตัววิทยากร น่าจะเบื่อผมกันแล้ว เข้าเรื่องดีกว่า
ระบบประกอบอาคารระบบหนึ่งที่ผมมักพบว่าถูกทอดทิ้งและไม่ค่อยมีใครเหลียวแล มากที่สุดระบบหนึ่งก็คือระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะกรณีที่ใช้เป็นระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปด้วยแล้วบอกได้เลยว่าบางที่ฝังลืมเลยจะมารู้ตัวอีกทีก้อตอนที่ระบบแย่แล้ว บางที่หนักถึงขั้นต้องขุดออกมาเพื่อติดตั้งถังใหม่ก็มี วันนี้ก็ขอนำข้อแนะนำสำหรับการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปมาฝากกัน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ดูแลว่าจะต้องเตรียมการอย่างไรบ้าง สำหรับข้อมูลที่นำมาเสนอนั้นผมนำมาจากเอกสารของบริษัทที่จำหน่ายถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งรายละเอียดการบำรุงรักษา จะเป็นถังที่มีขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ ไว้เอาไปปรับใช้ให้เหมาะกับแต่ละที่กันดู นะครับ
ข้อแนะนำในการบำรุงดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
1. ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องเป่าอากาศ ถ้าหากมีน้อยเกินไปก็ให้เติมน้ำมันหรือจาระบีชนิดที่ใช้เฉพาะกับเครื่องของทางบริษัทฯ
2. ตรวจสอบตัวกรองอากาศของเครื่องเป่าอากาศ ถ้ามีฝุ่นละอองสะสมอยู่มากให้เป่าทำความสะอาดโดยใช้อากาศอัดเข้าไปเท่านั้น
3. ตรวจสอบตะกอนและของแข็งต่างๆ ซึ่งอาจทับถมอยู่ในช่องบำบัดส่วนต่างๆ ถ้าหากมีตะกอนมากเกินไปให้ทำการสูบตะกอนเหล่านั้นออก โดยปกติการสูบตะกอนจะทำทุกๆ 2 ปี ในกรณีที่มีการทิ้งขยะหรือกระดาษชำระลงมามาก ช่วงเวลาที่ต้องทำการสูบตะกอนทิ้งก็จะสั้นเข้ามา
4. ตรวจสอบท่อเติมอากาศภายในถัง ถ้าหากมีการรั่วหรืออุดตันให้แก้ไขทันที
5. ตรวจสอบท่อสูบตะกอนกลับและท่อส่งอากาศ ถ้ามีการอุดตันให้แก้ไขทันที
6. ตรวจสอบคุณภาพน้ำตามตัวชี้วัดต่อไปนี้ BOD,SS,pH (เพื่อการประเมินขั้นต้น)
โดยการบำรุงดูแลรักษาในให้ทำเป็นประจำทุกๆ 3 เดือน
และวันนี้ผมนำรูปถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปที่แตกเสียหายมาฝากกัน สาเหตุไม่แน่ชัด แต่การสูบตะกอนออกจากถังหรือการติดตั้งถังใหม่ ระวังด้วยนะครับจะต้องมีน้ำอยู่ในถังประมาณ 1 ใน 3 เป็นอย่างน้อย (ข้อนี้ขอให้ปรึกษาผู้ผลิตนะครับ) ไม่อย่างนั้นความดันของดินโดยรอบจะดันให้ถังแตกเสียหายได้
วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ข้อกำหนดในการติดตั้งไฟแสงสว่างฉุกเฉิน
เข้าเรื่องเลยแล้วกันวันนี้ไม่ต้องพรรณนามาก
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาช่วงสองสามปีที่ได้มีโอกาสตรวจสอบอาคารนั้นพบว่าระบบพื้นฐานด้านความปลอดภัยของอาคารนอกจากระบบดับเพลิงแล้ว ระบบที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือระบบการอพยพผู้คนออกจากอาคารซึ่งก็ประกอบไปด้วยระบบบันไดหนีไฟ ทางหนีไฟ ป้ายทางออกฉุกเฉิน ไฟแสงสว่างฉุกเฉิน รวมถึงระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ วันนี้จึงขอหยิบยกเรื่อง "ไฟแสงสว่างฉุกเฉิน" มาเล่าสู่กันฟัง ตอนแรกก็คิดอยู่ว่ามันจะง่ายไปหรือเปล่า คนน่าจะรู้กันหมดแล้ว แต่จากที่ได้สัมผัสมาพบว่าการติดตั้งไฟแสงสว่างฉุกเฉินในอาคารใหม่บางแห่งก็ยังติดตั้งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งบ้านเรานั้นคงต้องอ้างอิงตามมาตรฐานของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ซึ่งฉบับใหม่ล่าสุดนั้นปรับปรุงเมื่อปี 2551 จึงขอนำบางตอนของมาตรฐานมาเล่าให้ฟังว่าข้อกำหนดที่ต้องพิจารณาในการติดตั้งนั้นมีอะไรกันบ้าง ดูกันนะครับเผื่อว่าต้องปรับปรุงจะได้ให้เป็นไปตามมาตรฐานหน่อย
ขอสรุปประเด็นหลักๆเป็นข้อๆ ดังนี้
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้าแสงสว่างให้ใช้โคมที่จ่ายไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ สามารถประจุกลับเข้าไปใหม่ได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน
2. ต้องให้ความสว่างติดต่อกันนานไม่น้อยกว่า 90 นาที (สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง ตามที่กฎหมายกำหนด และสถานพยาบาล ต้องมีความส่องสว่างติดต่ิอกันนานไม่น้อยกว่า 120 นาที
3. โคมไฟฟ้าฉุกเฉินต้องติดตั้งจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร โดยวัดจากพื้นถึงด้านล่างของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน กรณีติดตั้งต่ำกว่า 2 เมตร จะต้องไม่กีดขวางเส้นทางหนีภัย
4. ระดับความสว่างเพื่อการหนีภัย โดยที่เส้นกึ่งกลางของทางหนีภัยต้องไม่น้อยกว่า 1 ลักซ์
5. พื้นที่เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์แจ้งเหตุ และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ความส่องสว่างในแนวระดับที่พื้น ต้องไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ ในรัศมีจากตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ (จากข้อนี้ผมตีความว่าจริงๆแล้วทางหนีไฟภายในพื้นที่ก็ต้องมีความส่องสว่างไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ เนื่องจากเรามีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงและอุปกรณ์แจ้งเหตุไว้)
6 นอกจากพิจารณาถึงความส่องสว่างภายในพื้นที่แล้ว โคมไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องเพิ่มเติมในจุดต่างๆ เหล่านี้ อันได้แก่
เช่นเคยครับวันนี้มีภาพมาฝากผมเคยนำรูปป้ายหัวรับน้ำดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่มาให้ชมกัน วันนี้เลยขอนำภาพป้ายทางหนีไฟที่ผมคิดว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมานะครับ ถ้าใครเจอใหญ่กว่านี้ส่งมาให้ดูกันบ้างนะครับ ไว้เจอกันเรื่องหน้าครับ
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาช่วงสองสามปีที่ได้มีโอกาสตรวจสอบอาคารนั้นพบว่าระบบพื้นฐานด้านความปลอดภัยของอาคารนอกจากระบบดับเพลิงแล้ว ระบบที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือระบบการอพยพผู้คนออกจากอาคารซึ่งก็ประกอบไปด้วยระบบบันไดหนีไฟ ทางหนีไฟ ป้ายทางออกฉุกเฉิน ไฟแสงสว่างฉุกเฉิน รวมถึงระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ วันนี้จึงขอหยิบยกเรื่อง "ไฟแสงสว่างฉุกเฉิน" มาเล่าสู่กันฟัง ตอนแรกก็คิดอยู่ว่ามันจะง่ายไปหรือเปล่า คนน่าจะรู้กันหมดแล้ว แต่จากที่ได้สัมผัสมาพบว่าการติดตั้งไฟแสงสว่างฉุกเฉินในอาคารใหม่บางแห่งก็ยังติดตั้งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งบ้านเรานั้นคงต้องอ้างอิงตามมาตรฐานของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ซึ่งฉบับใหม่ล่าสุดนั้นปรับปรุงเมื่อปี 2551 จึงขอนำบางตอนของมาตรฐานมาเล่าให้ฟังว่าข้อกำหนดที่ต้องพิจารณาในการติดตั้งนั้นมีอะไรกันบ้าง ดูกันนะครับเผื่อว่าต้องปรับปรุงจะได้ให้เป็นไปตามมาตรฐานหน่อย
ขอสรุปประเด็นหลักๆเป็นข้อๆ ดังนี้
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้าแสงสว่างให้ใช้โคมที่จ่ายไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ สามารถประจุกลับเข้าไปใหม่ได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน
2. ต้องให้ความสว่างติดต่อกันนานไม่น้อยกว่า 90 นาที (สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง ตามที่กฎหมายกำหนด และสถานพยาบาล ต้องมีความส่องสว่างติดต่ิอกันนานไม่น้อยกว่า 120 นาที
3. โคมไฟฟ้าฉุกเฉินต้องติดตั้งจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร โดยวัดจากพื้นถึงด้านล่างของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน กรณีติดตั้งต่ำกว่า 2 เมตร จะต้องไม่กีดขวางเส้นทางหนีภัย
4. ระดับความสว่างเพื่อการหนีภัย โดยที่เส้นกึ่งกลางของทางหนีภัยต้องไม่น้อยกว่า 1 ลักซ์
5. พื้นที่เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์แจ้งเหตุ และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ความส่องสว่างในแนวระดับที่พื้น ต้องไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ ในรัศมีจากตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ (จากข้อนี้ผมตีความว่าจริงๆแล้วทางหนีไฟภายในพื้นที่ก็ต้องมีความส่องสว่างไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ เนื่องจากเรามีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงและอุปกรณ์แจ้งเหตุไว้)
6 นอกจากพิจารณาถึงความส่องสว่างภายในพื้นที่แล้ว โคมไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องเพิ่มเติมในจุดต่างๆ เหล่านี้ อันได้แก่
- หน้าป้ายทางออกชนิดส่องสว่างจากภายนอกหรือบริเวณทางออก
- ทางแยก ให้ติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินห่างจากทางแยกไม่เกิน 2 เมตรในแนวระดับ
- ให้ติดเพิ่มเติมที่จุดแจ้งเหตุเพลิงไหม้ จุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
- ติดเพิ่มเติมในส่วนของห้องเครื่อง ห้องควบคุม ห้องต้นกำลัง ห้องสวิตช์ และบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟแสงสว่างปกติและไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
- ห้องน้ำให้ติดตั้งในห้องน้ำทั่วไปที่มีพื้นที่มากกว่า 8 ตารางเมตร และห้องน้ำสำหรับคนพิการ
เช่นเคยครับวันนี้มีภาพมาฝากผมเคยนำรูปป้ายหัวรับน้ำดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่มาให้ชมกัน วันนี้เลยขอนำภาพป้ายทางหนีไฟที่ผมคิดว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมานะครับ ถ้าใครเจอใหญ่กว่านี้ส่งมาให้ดูกันบ้างนะครับ ไว้เจอกันเรื่องหน้าครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)