จากประสบการณ์ที่ผ่านมาช่วงสองสามปีที่ได้มีโอกาสตรวจสอบอาคารนั้นพบว่าระบบพื้นฐานด้านความปลอดภัยของอาคารนอกจากระบบดับเพลิงแล้ว ระบบที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือระบบการอพยพผู้คนออกจากอาคารซึ่งก็ประกอบไปด้วยระบบบันไดหนีไฟ ทางหนีไฟ ป้ายทางออกฉุกเฉิน ไฟแสงสว่างฉุกเฉิน รวมถึงระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ วันนี้จึงขอหยิบยกเรื่อง "ไฟแสงสว่างฉุกเฉิน" มาเล่าสู่กันฟัง ตอนแรกก็คิดอยู่ว่ามันจะง่ายไปหรือเปล่า คนน่าจะรู้กันหมดแล้ว แต่จากที่ได้สัมผัสมาพบว่าการติดตั้งไฟแสงสว่างฉุกเฉินในอาคารใหม่บางแห่งก็ยังติดตั้งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งบ้านเรานั้นคงต้องอ้างอิงตามมาตรฐานของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ซึ่งฉบับใหม่ล่าสุดนั้นปรับปรุงเมื่อปี 2551 จึงขอนำบางตอนของมาตรฐานมาเล่าให้ฟังว่าข้อกำหนดที่ต้องพิจารณาในการติดตั้งนั้นมีอะไรกันบ้าง ดูกันนะครับเผื่อว่าต้องปรับปรุงจะได้ให้เป็นไปตามมาตรฐานหน่อย
ขอสรุปประเด็นหลักๆเป็นข้อๆ ดังนี้
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้าแสงสว่างให้ใช้โคมที่จ่ายไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ สามารถประจุกลับเข้าไปใหม่ได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน
2. ต้องให้ความสว่างติดต่อกันนานไม่น้อยกว่า 90 นาที (สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง ตามที่กฎหมายกำหนด และสถานพยาบาล ต้องมีความส่องสว่างติดต่ิอกันนานไม่น้อยกว่า 120 นาที
3. โคมไฟฟ้าฉุกเฉินต้องติดตั้งจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร โดยวัดจากพื้นถึงด้านล่างของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน กรณีติดตั้งต่ำกว่า 2 เมตร จะต้องไม่กีดขวางเส้นทางหนีภัย
4. ระดับความสว่างเพื่อการหนีภัย โดยที่เส้นกึ่งกลางของทางหนีภัยต้องไม่น้อยกว่า 1 ลักซ์
5. พื้นที่เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์แจ้งเหตุ และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ความส่องสว่างในแนวระดับที่พื้น ต้องไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ ในรัศมีจากตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ (จากข้อนี้ผมตีความว่าจริงๆแล้วทางหนีไฟภายในพื้นที่ก็ต้องมีความส่องสว่างไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ เนื่องจากเรามีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงและอุปกรณ์แจ้งเหตุไว้)
6 นอกจากพิจารณาถึงความส่องสว่างภายในพื้นที่แล้ว โคมไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องเพิ่มเติมในจุดต่างๆ เหล่านี้ อันได้แก่
- หน้าป้ายทางออกชนิดส่องสว่างจากภายนอกหรือบริเวณทางออก
- ทางแยก ให้ติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินห่างจากทางแยกไม่เกิน 2 เมตรในแนวระดับ
- ให้ติดเพิ่มเติมที่จุดแจ้งเหตุเพลิงไหม้ จุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
- ติดเพิ่มเติมในส่วนของห้องเครื่อง ห้องควบคุม ห้องต้นกำลัง ห้องสวิตช์ และบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟแสงสว่างปกติและไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
- ห้องน้ำให้ติดตั้งในห้องน้ำทั่วไปที่มีพื้นที่มากกว่า 8 ตารางเมตร และห้องน้ำสำหรับคนพิการ
เช่นเคยครับวันนี้มีภาพมาฝากผมเคยนำรูปป้ายหัวรับน้ำดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่มาให้ชมกัน วันนี้เลยขอนำภาพป้ายทางหนีไฟที่ผมคิดว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมานะครับ ถ้าใครเจอใหญ่กว่านี้ส่งมาให้ดูกันบ้างนะครับ ไว้เจอกันเรื่องหน้าครับ
อยากทราบว่า สำนักงาน ชั้นเดียว ต้องติดไฟฉุกเฉิน หรือไม่
ตอบลบและทุกทางออกต้องติดไฟฉุกเฉินหรือไม่
หมายถึงสำนักงานภายในโรงงาน หรือว่าเป็นสำนักงานแบบ Home Office ครับ แต่ยังไงขอตอบพรุ่งนี้นะครับ วันนี้ขอนอนก่อนมีตรวจงานแต่เช้า
ตอบลบแต่เบื้องต้นนะครับ คิดอย่างนี้นะครับไฟฉุกเฉินให้ติดในแนวเส้นทางหนีไฟ และต้องสว่างเพียงพอที่จะให้คนเห็นเส้นทางการอพยพหนีไฟ
แบบ Office ค่ะ ชั้นเดียว
ตอบลบมีรูปให้ดูเป็นตัวอย่างมั๊ยค่ะ
คือพอดี จุดอื่นมีหมด แต่อาคารใหม่ สำนักงาน ชั้นเดียว ตอนออกแบบไม่ได้มีการติดไฟฉุกเฉินไว้ ก็เบยไม่แน่ใจว่า ถ้าสำนักงาน ต้องติดไฟฉุกเฉินหรือไม่ และต้องติดแผ่นป้ายทางออก ที่หน้าประตูด้านในสำนักงานหรือไม่ ขอบคุณค่ะ
สำนักงานภายในโรงงานค่ะ
ตอบลบสำหรับอาคารสำนักงานภายในโรงงาน ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว
ตอบลบปกติน่าจะทำงานเฉพาะเวลากลางวัน ที่สำคัญผมเดาว่าไม่ได้น่าจะใหญ่มาก
มีคนทำงานกันไม่เิกิน 10 คน (เดาไปไม่รู้ถูกหรือเปล่า) ถ้ามองอย่างนี้คงไม่
จำเป็นต้องติด แต่ถ้าในความคิดผมนะครับ ติดไฟแสงสว่างฉุกเฉินไว้
ซักชุดก็น่าจะดี นึกถึงเวลาไฟดับซิครับอย่างน้อยก็ยังพอเห็นภายในพื้นที่
(ถ้าจะถามว่ามีมาตฐานหรือเปล่า อันนี้ยังไม่เคยเจอนะ)
วันนี้ไปกลับมาจากเพชรบูรณ์แวะกินไก่ย่าง เหลือบมองไปในร้านเห็นมี
ไฟฉุกเฉินติดอยู่สองชุด แต่ว่าใช้ได้หรือเปล่าไม่รู้นะ ไม่ได้ลองตรวจ
ถ้าสงสัยประเด็นไหนก็ถามได้นะครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูล ดีมากๆๆ พนักงานทำงานไม่ถึง 10 คน
ตอบลบปกติไม่ติดไฟฉุกเฉิน แต่เผอิญ ผู้จัดการบริษัท วันนั้นผจก.โรงงานไปนั่งทำงานแถวนั้น ไฟดับ ท่านเลยบอกว่า มึดมาก มองไม่เห็นเลย ต้องติดไฟฉุกเฉิน
ก็เลยงง ว่า ต้องติดด้วยหรือเนี่ย
วงจรไฟแสงสว่างฉุกเฉินจำเป็นต้องไปอ้างอิงกับวงจรไฟแสงสว่างหรือไม่ครับ? หรือแยกเป็นวงจรต่างหากไปเลยดีกว่าครับ. เพราะผมไม่แน่ใจวัตถุประสงค์ของไฟแสงสว่างฉุกเฉิน ว่ามีไว้ใช้เมื่อแหล่งจ่ายไฟภายนอกมีปัญหาเช่นกรณีเกิดเพลิงไหม้ ต้องมีการอพยพหนีภัย หรือเมื่อไฟแสงสว่างปกติมีปัญหาเช่น เกิดไฟรั่วในวงจรไฟแสงสว่างที่โซนหนึ่ง แล้วbreaker ย่อยตัดไฟโซนนั้น (ไฟแสงสว่างโซนอื่นใกล้เคียงกันยังปกติ) แบบนี้ไฟฉุกเฉินโซนที่ไฟดับต้องทำงานด้วยหรือไม่ครับ? ช่วยตอบด้วยครับ พอดีตัวผมเองกับเจ้าหน้าที่ safety ของบริษัทยังมีความเข้าใจไม่ตรงกันนะครับ.
ตอบลบสำหรับวงจรไฟฟ้าของไฟแสงสว่างฉุกเฉินนั้นตามมาตรฐาน วสท. กำหนดให้ต้องแยกอิสระจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
ตอบลบPramuk P.
ขอบคุณข้อมูลดีๆๆคะ
ตอบลบส่งมาฝากบ้างนะคะ safetyning@gmail.com
อยู่ห่างไกลเืพื่อนๆๆ คะ
คลังสินค้าสำหรับเก็บเคมีอาหาร (ไม่อันตราย)ต้องติดตั้งตู้อุปกรณ์ดับเพลิงอย่างไรค่ะ
ตอบลบเบื้องต้นคงต้องติดถังดับเพลิงมือถือ ครับถ้าจะให้ครอบคลุมทุกประเภทของเชื้อเพลิง ก็ให้ติดถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง อย่างน้อยให้ใช้ Fire Rating 6A:20B
ตอบลบสำหรับ Rating นั้นจริงๆ แล้วต้องดูองค์ประกอบของอาคารด้วยนะครับ
แต่ถ้าจะให้ครอบคลุมไปเลยเลือก Fire Rating ที่ 10A:30B นะครับ
ส่วนระยะการติดตั้งคงต้องดูตามกฎหมายเป็นหลัก (ทุกระยะ 20 เมตร)
นอกจากถังดับเพลิงแล้วก็คงต้องดู กฎหมายอาคารประกอบไปด้วยครับ ถ้าเป็น Warehouse พื้นที่มากกว่า 1000 ตารางเมตร ก็ต้องติด Sprinkler
คร่าวๆ ก็ประมาณนี้นะครับ ถ้ามีอะไรก็ถามได้นะครับ
ประมุข
อยากทราบว่า การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน มีระยะเวลาตรวจอย่างไรคะ
ตอบลบกี่เดือนครั้ง จริงๆแล้วมีกฎหมายกำหนดรึเปล่าคะ รบกวนด้วยค่ะ
อยากทราบว่า ขวานที่อยู่ใน fire hose rack เป็นสิ่งที่กฏหมายบังคับสำหรับอาคารสูงหรือเปล่าครับ
ตอบลบสำหรับมาตรฐาน วสท. นะครับ
ตอบลบให้ทดสอบทุกๆ 3 เดือน โดยให้ ถอดปลั๊กทิ้งไว้ 30 นาที และ
สำหรับประจำปี ถอดปลั๊กทิ้งไว้ 60 นาที
ประมุข
ขวานไม่ได้เป็นอุปกรณ์ที่บังคับตามกฎหมายนะครับ
ตอบลบเป็นเพียงอุปกรณ์เสริมเท่านั้่นครับ
ประมุข
15 ลักซ์ ประมาณกี่เมตรครับ ขอคร่าวๆก็ได้ครับ
ตอบลบ15 ลักซ์ ประมาณ 10-15 เมตรได้ครับ แต่เดี๋ยวตอนนี้ได้โปรแกรม
ลบSimulate มา ขอศึกษาแป๊บนะครับ แล้วจะมาตอบใหม่
(Program DialLUX ลองใช้ดูนะครับผมว่าโอเลย)
ประมุข
เรียน คุณประมุข
ตอบลบในการติดตั้งถังดับเพลิง ตามกฏหมายกำหนดให้ติดตั้งห่างกันไม่เกิน 20 เมตร กรณีอาคารโรงงานขนาดกว้าง 140 เมตร ( แนวยาวต้องติด 7 แถว ) และกว้าง 60 เมตร ( แนวกว้างต้องติด 3 แถว ) สรุปแล้วอาคารโรงงาน ต้องติดตั้งถังดับเพลิงทั้งหมด 21 ถัง ถูกต้องมั้ยคะ หรือสามารถติดตั้งจำนวนน้อยกว่านี้ได้หรือไม่
ตามรายละเอียดที่ถามมาข้างต้น ถูกต้องครับ ตามกฎหมายต้องติดตั้งถังดับเพลิงจำนวน 21 ถัง แต่ถ้าตามมาตรฐานต่างๆ ที่มองเรื่อง Fire Rating ของถังดับเพลิง จำนวนก็จะได้น้อยกว่า 21 ถัง แต่ต้องบอกว่ามาตรฐานไม่ใช่กฎหมายครับ ยังไงก็ต้องทำตามกฎหมายครับ
ลบประมุข
ไม่ระบุชื่อ ได้ฝากความคิดเห็นไว้ที่บทความของคุณ "ข้อกำหนดในการติดตั้งไฟแสงสว่างฉุกเฉิน":
ตอบลบทางคอนโดที่ผมอาศัยอยู่ เค้ามีการถอดหลอดไฟบันไดหนีไฟออกบ้างส่วน อันนี้จะขัดกับกฎความปลอดภัยหรือปล่าวคับ เค้าอยากประหยัดไฟ เค้าถอดตรงชานพักออกหมดเลยคับ คอนโดสูง 30 ชั้น มีสองบันได ถอดไป 70 หลอด
ตอบดังนี้ครับ
1. ไฟแสงสว่างฉุกเฉิน ในบันไดหนีไฟ ตามมาตรฐานแล้วไม่อนุญาต
ให้ใช้ไฟจาก Generator ครับ ผมเลยไม่แน่ใจว่านอกจากหลอดไฟ
ที่ถอดออกแล้ว มีไฟแสงสว่างฉุกเฉินที่ใช้แบตเตอรี่อีกหรือไม่
2. มาตรฐานความสว่างขั้นต่ำ ของทางหนีไฟ อยู่ที่ 1 ลักซ์
ต้องดูว่าความสว่าง จะเพียงพอหรือไม่
3. จากคำถาม เหมือนว่าไฟบริเวณชานพัก จะเปิดตลอดเวลา
ซึ่งดูแล้วไม่ใช่ไฟฉุกเฉินนะครับ หรือไม่ก็จ่ายจากระบบ Generator
ถ้าอย่างไรถ่ายรูปมาก็ได้นะครับ จะได้ตอบได้ตรงประเด็น
ประมุข
ไม่แน่ใจว่า Comment หาย หรือว่า คนโพสต์ ลบ ถ้าอย่างไรแจ้ง
ตอบลบด้วย นะครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
ประมุข
Comment ไม่โชว์ครับเลยเอาโพสต์ครับ
ตอบลบรบกวนสอบถามครับ
ไฟฉุกเฉินแบบ stand alone แบบบใช้แบตเตอรี่ แหล่งจ่ายไฟให้ตัวเครื่องเองนั้น
ต้องเป็น line normal หรือจากเครื่อง Generator
................................................................
ใช้ Line Normal ครับ
มีวิธีวัดกำลังของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล หรือเปล่าครับ เนื่องจากที่โรงงานใช้เครื่องยนต์ของ TOYOTA ขับ แต่ตัวเนมเพลทมันหายไปหมดแล้ว ท่านใดมีวิธีวัดช่วยแนะนำด้วยครับ
ตอบลบแล้วตามพวกตู้คอนโ?รลไฟฟ้าต้งติดไฟฉุกเฉินด้วยหรือเปล่าคะ
ตอบลบติดครับ
ลบภายในอาคารโรงงานขนาดใหญ่ต้องติด ระยะห่างไม่เกินกี่เมตรครับ
ตอบลบปัจจุบันไฟแสงสว่างฉุกเฉินจะใช้เป็นหลอด LED เสียส่วนใหญ่ กรณีเป็น LED ผมแนะนำ ระยะประมาณ 20-25 เมตรครับ แต่ถ้าเป็นหลอด Halogen ประมาณ 30 เมตร ครับ
ลบ