1. อัตราการไหลของการฉีดโฟม (Foam Application Rate)
1.1 กรณีดับเพลิงสารจำพวก Hydrocarbon (สารที่ไม่ละลายน้ำ) เช่น น้ำมัน,Gasoline
ใช้อัตราการไหล 4.1 ลิตร/นาที/ตารางเมตร
1.2 กรณีดับเพลิงสารจำพวก Polar Solvent (สารที่ละลายตัวกับน้ำได้) สารที่มีขั้ว
เช่น ทินเนอร์,แอลกอฮอล์
ใช้อัตราการไหล 6.5 ลิตร/นาที/ตารางเมตร
1.3 กรณีฉีดโดยใช้สายดับเพลิงฉีดผ่านหัวฉีดหรือ Monitor
ใช้อัตราการไหล 6.5 ลิตร/นาที/ตารางเมตร
2. ระยะเวลาการฉีดใช้
2.1 กรณีดับเพลิงของเหลวรั่วไหลลงพื้น (Spill Fire)
(Non Diked Spill Area) ให้ฉีดต่อเนื่อง 10-15 นาที
2.2 กรณีดับเพลิงของเหลวในพื้นที่รอบแทงค์
(Dike Area) ให้ฉีดต่อเนื่อง 20-30 นาที
2.3 กรณีดับเพลิงของเหลวในแทงค์เก็บ
(Tank Area) ให้ฉีดต่อเนื่อง 55-65 นาที
วิธีการคำนวณการเก็บสต็อคน้ำยาโฟม
ยกตัวอย่างสมมติ กรณีใช้ดับเพลิงในพื้นที่รอบแทงค์ ขนาด 40 ตารางเมตร โดยถังบรรจุทินเนอร์
- อัตราการฉีดโฟม = 40 x 6.5 = 260 ลิตรต่อนาที
- ระยะเวลาการฉีดใช้ = 20 นาที
- ปริมาณโฟมที่ใช้ทั้งหมด = 260 x 20 = 5,200 ลิตร
- ใช้โฟมชนิด AR-AFFF (3%3%) ความเข้มข้น 3% ดังนั้นจะต้องสต็อคโฟมที่เป็นเนื้อโฟมไว้ จำนวน = 5,200 x 0.03 = 156 ลิตร
สำหรับวันนี้มีของฝากอีกเช่นเคยเป็นไฟแสงสว่างฉุกเฉินอีกเช่นกันเพราะเคยเอามาฝากไว้รูปหนึ่งแล้วแต่คราวนี้เป็นอีกแบบผมว่าอายุคงประมาณ 20 กว่าปีน่าจะได้นะ
สุดยอดเลยครับผม
ตอบลบวันหลังหาอะไรดีๆ แบบนี้มาให้ดูและอ่านอีกนะครับ
ไม่ถูกทั้งหมดครับ Gasoline มีค่า Flash point ต่ำกว่า 38.7 C ต้องจัดอยู่ในกลุ่มข้อ 1.2
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบPramuk P.
ขอบคุณครับ
ตอบลบPramuk P.
อยากรู้สูตรการคำนวนการใช้โฟม 3%6%8% ใน1นาทีว้าใช้กี่ลิตรครับ
ตอบลบไม่แน่ใจว่า จะใช้สำหรับกรณีไหนครับ (น้ำยาโฟม 8% ในปัจจุบันใช้น้อยมากๆ)
ลบน้ำยาโฟมที่ขายกันอยู่ในท้องตลาดเป็นเนื้อโฟมเข้มข้น แล้วเอามาผสมกับน้ำ ตามสัดส่วน ที่ระบุในมาตรฐาน
อ้างอิงมาจากไหนหรอคะ
ตอบลบ