วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การประหยัดพลังงานในระบบท่อไอน้ำ

เรื่องก่อนเขียนเกี่ยวกับ Boiler วันนี้เลยขอหยิบยกการประหยัดพลังงานในระบบท่อไอน้ำมาฝากกัน โดยข้อมูลนั้นมาจากเอกสารของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ ซึ่งสามารถเอาไว้ใช้พิจารณาสำหรับการออกแบบในเบื้องต้นได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ควรมีการหุ้มฉนวน โดยที่เมื่อหุ้มฉนวนแล้วจะทำให้มีอุณหภูมิภายนอกไม่เกิน 60 C

2. การใช้ไอน้ำเพื่อให้ความร้อน ควรจะมีความดันต่ำที่สุด เนื่องจากไอน้ำที่ความดันต่ำจะมีค่าความร้อนแฝงต่อกิโลกรัมไอน้ำที่มากกว่า

3. ท่อไอน้ำควรจะมีขนาดที่เหมาะสม โดยไม่ทำให้ไอน้ำตกเกิน 10% และความเร็วของไอน้ำในท่อเมนควรอยู่ประมาณ 15-25 เมตร/วินาที หากสูงเกินไปจะทำให้มีการสูญเสียความดันมาก หากออกแบบให้มีค่าต่ำเกินไปจะทำให้ลงทุนสูง(ขนาดท่อจะใหญ่) และสูญเสียความร้อนมา

4. ท่อไอน้ำต้องมีมุมลาดลงตามทิศทางการไหลของไอน้ำในสัดส่วน 1:100 เป็นอย่างน้อย

5. ท่อไอน้ำที่มีขนาดไม่เกิน 100 mm. ท่อดักไอน้ำควรมีขนาดเท่ากับท่อไอน้ำนั้น สำหรับท่อไอน้ำที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 mm. ท่อดักไอน้ำควรมีขนาดไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของขนาดท่อไอน้ำแต่ต้องไม่เล็กกว่า 100 mm.

6. ท่อส่งไอน้ำที่ยาวมากกว่า 30 m. ต้องติดตั้งท่อดักและสตีมแทรประบายคอนเดนเสทและไล่อากาศอย่างเหมาะสม

7. มีการเลือกชนิดของสตีมแทรป โดยคำนึงถึงอัตราการระบายและความปลอดภัยตามความเหมาะสม รวมทั้งต้องติดตั้งให้ถูกต้อง

ถ้าพูดถึงระบบท่อไอน้ำถ้าจะไม่กล่าวถึงสตีมแทรปคงไม่ได้ วันนี้เลยเอาสรุปข้อมูลเปรียบเทียบของสตีมแทรปในแต่ละแบบ และการเลือกใช้สตีมแทรปกับการใช้งานบางประเภทมาฝากกัน



วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คำแนะนำในการใช้หม้อไอน้ำ


วันนี้พอมีเวลาเลยไปหาอ่านข้อมูลตามเวปต่างๆ ไปเจอมาเรื่องหนึ่งน่าสนใจ พูดถึงเรื่องคำแนะนำในการใช้หม้อไอน้ำ เลยเก็บมาฝากกัน

คำแนะนำในการใช้หม้อไอน้ำ
  1. ก่อนติดเตาทุกครั้งให้ตรวจก่อนว่า ในหม้อน้ำมีระดับที่เพียงพอหรือไม่ การตรวจนี้ เป็นการทดสอบไปในตัวด้วยว่า ทางเข้า - ออก ของหลอด แก้วตันหรือไม่
  2. หม้อน้ำที่ใช้ก๊าซ หรือน้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ให้ระบายลมภายในเตาก่อน เพื่อไล่ก๊าซที่อาจตกค้างอยู่ ในหม้อน้ำออกเสียก่อนจึงค่อยติดไฟ เพื่อป้อง กันการลุกไหม้โดยฉับพลันที่เกิดจากก๊าซที่ตกค้างอยู่ในเตา
  3. ถ้าเกิดรั่วที่ลิ้นนิรภัย โดยที่ยังอยู่ภายใต้ความดันปกติ ห้าม ใช้วิธี เพิ่มน้ำหนักถ่วง หรือตั้งลิ้นนิรภัยให้แข็งขึ้น
  4. ถ้าเกิดรั่วที่หม้อ น้ำ ให้หยุดใช้หม้อน้ำทันที และต้องแก้ไขก่อนใช้งาน ต้องได้รับการตรวจเพื่อความปลอดภัย จากเจ้าหน้าที่ตรวจหม้อน้ำ ของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือจาก วิศวกรที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ตามพระราชบัญญัติควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม
  5. ลิ้นนิรภัยที่ใช้ ควรเป็นแบบที่ทดสอบได้ง่าย อย่างน้อยควรมีการทดสอบเดือนละครั้ง ว่า ลิ้นนิรภัยยังทำงานได้ดีหรือไม่
  6. หลังเลิกงาน เมื่อหยุดใช้หม้อน้ำทุกวัน ควรระบายน้ำทิ้งบ้าง โดยเปิดวาล์วน้ำทิ้งแล้ว นับ 1 - 10 เร็ว ๆ แล้วปิด เฉพาะแหล่งที่มีตะกอนมากควรระบายให้ถี่กว่านี้
  7. ตรวจสอบความดัน ของเกจวัดความดันของน้ำที่สูบเข้าหม้อน้ำ ถ้าความดันขึ้นสูงผิดปกติแสดงว่าท่อสูบน้า เข้าหม้อน้ำจะตันแล้ว ต้องรีบแก้ไข ถ้าใช้ต่อไปน้ำอาจจะแห้งได้
  8. ให้ใช้หม้อน้ำไม่เกินความดันตามที่กำหนด
  9. หม้อน้ำที่มีตะกรัน เกาะหนา 1/ 8 นิ้ว อาจจะต้องเปลืองเชื้อเพลิงในการทำให้ร้อนไปเปล่า ๆ ถึง 15 % ดังนั้น ถ้าล้างหม้อน้ำบ่อย ๆ ก็จะดี
  10. ถ้าเกิดน้ำแห้งต่ำ กว่าระดับหลอดแก้ว ต้องรีบดับไฟ และ ห้ามสูบน้ำ เข้าหม้อน้ำอย่างเด็ดขาด ต้องปล่อยให้เย็นลง และตรวจทดสอบ เพื่อ ความปลอดภัยก่อนใช้งานต่อไป
  11. หม้อน้ำที่ใช้ น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ควันดำที่เกิดขึ้นเนื่องจากปรับหัวฉีด และส่วนของอากาศไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ จึงควร หมั่นปรับแต่ง หัวฉีด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์
  12. หม้อน้ำทุกลูกควรจะได้รับการตรวจทดสอบ เพื่อความปลอดภัยอย่างน้อยปีละครั้ง
ที่มา : วิฑูรย์ สิมะโชคดี หนังสือ วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น (สสท)

วันนี้เลยเอาประกาศกระทรวงเรื่องคุณสมบัติของน้ำสำหรับหม้อน้ำมาฝากกัน

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง คุณสมบัติของน้ำสำหรับหม้อน้ำพ.ศ. ๒๕๔๙

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การทดสอบระบบท่อน้ำดับเพลิง


วันนี้ถือว่าเป็นเรื่องแถมแล้วกันนะครับ เพราะว่าวันก่อนมีโอกาสไปตรวจงานผู้รับเหมา เหลือบไปเห็นวิธีการทดสอบของระบบท่อน้ำ แล้วก็คิดๆอยู่ว่า ใช่หรือ ก็ไปหาข้อมูลเพิ่ม เลยหยิบมาฝากกัน

สำหรับการทดสอบระบบท่อน้ำดับเพลิง นั้นในมาตรฐาน NFPA ระบุไว้ว่า ระบบท่อน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งเสร็จแล้ว จะต้องได้รับการทดสอบด้วยความดันของน้ำ โดยอัดน้ำเข้าไปในระบบท่อทั้งหมดด้วยความดันไม่น้อยกว่า 200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หรือทดสอบที่ความดันที่สูงกว่าความดันสูงสุดในระบบ 50 psi ในกรณีที่ความดันสูงสุดในระบบมากกว่า 150 psi
(ถ้าความดันสูงสุดในระบบเท่ากับ 160 psi ก็ต้องทดสอบระบบท่อที่ความดัน 210 psi)

จะบอกว่าอ่านในมาตรฐาน วสท.แล้วงงๆ เลยไปหาใน NFPA ดูต้นฉบับแล้วกันนะครับ ถ้าแปลผิดก็บอกกันได้นะ 5555

"Hydrostatic tests at not less than 13.8-bar (200-psi) pressure for 2 hours, or at 3.4 bar (50 psi) in excess of the maximum pressure, where maximum pressure is in excess of 10.3 bar (150 psi), shall be conducted every 5 years on dry standpipe systems and dry portions of wet standpipe systems."

ก็เลยถือโอกาสเอารูปตอนทดสอบระบบท่อมาฝากกัน ต้องขอบคุณผู้อนุเคราะห์ที่ถ่ายรูปส่งมาให้นะครับ
(แต่ที่นี่ไม่ได้ไปตรวจนะครับ 555)


วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตำแหน่งของท่อยืนประเภทที่ 1

วันนี้เอาเรื่องมาฝากผู้ออกแบบระบบดับเพลิงกันครับ แต่จะว่าไปแล้วหลายๆคนก็น่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ที่สงสัยก็คือทุกวันนี้ถึงแม้แต่ตึกใหม่ๆ ที่เป็นอาคารสูง ก็มีหลายที่ที่ยังทำไม่ถูกต้อง ก็เลยเอามาเขียนให้อ่านกันดีกว่า แต่ก่อนจะเข้าเรื่องขออธิบายถึงระบบท่อยืนประเภทที่ 1 กันก่อนเผื่อว่าบางคนยังไม่ทราบ

ท่อยืน ประเภทที่ 1 คือท่อยืนที่ติดตั้งวาล์วสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 65 มิลลิเมตร สำหรับพนักงานดับเพลิง หรือผู้ที่ได้ผ่านการฝึกการใช้สายฉีดน้ำดับเพลิงขนาดใหญ่เท่านั้น

สำหรับตำแหน่งของท่อยืนและหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง ประเภทที่ 1 นั้น ตามมาตรฐาน NFPA และมาตรฐาน วสท. กำหนดให้ต้องติดตั้งในตำแหน่ง ดังนี้

1. ติดที่ชานพักกลางหรือชานพักของทุกชั้นในบันไดหนีไฟทุกตัว
2. ติดที่ด้านในและด้านนอกของทางออกหนีไฟของ Horizontal Exit
3. ติดตั้งในบริเวณห้องโถงหน้าบันไดหนีไฟที่มีระบบอัดอากาศ
4. กรณีที่ท่อยืนและท่อย่อยไม่สามารถติดตั้งในบันไดหนีไฟ หรือห้องโถงหน้าบันไดหนีไฟ จะต้องติดตั้งในส่วนปิดล้อมที่มีอัตราการทนไฟเท่ากับอัตราการทนไฟของส่วนปิดล้อมแนวตั้ง ของอาคารหลังนั้น

ข้อยกเว้น ถ้าอาคารหลังนั้นติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง ส่วนปิดล้อมนี้ไม่ต้องสร้างให้ได้อัตราทนไฟดังที่ระบุไว้ก็ได้

แต่ดีที่สุดนะครับ ให้ท่อยืนอยู่ในบันไดหนีไฟ เพราะเป็นส่วนปิดล้อมทนไฟและไม่ต้องเดินท่อสำหรับติดตั้งหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงยาวด้วย

แต่จะบอกว่าตรวจอาคารมาก็เยอะแทบจะไม่เจอหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงในบันไดหนีไฟเลย (ท่อยืนประเภทที่ 1) แต่ตำแหน่งที่จะเจอก็คงเป็นโถงลิฟต์ดับเพลิงคงเนื่องจากกฎหมายบังคับไว้ ก็ฝากไว้หน่อยนะครับสำหรับตึกใหม่ที่กำลังออกแบบ วันนี้ก็เลยเอารูปมาฝากกัน แต่จะว่าไปแล้วก็ยังไม่สมบูรณ์มากเนื่องจากบันไดหนีไฟค่อนข้างแคบ (อันนี้ก็สำคัญต้องบอกสถาปนิกไว้ก่อนนะว่ามีอะไรอยู่ข้างในบันไดหนีไฟบ้าง) และตำแหน่งการติดตั้งก็ควรติดในระดับสูงจากพื้น 0.90-1.50 m. (ในรูปจะสูงไปนิดนะครับ)


วันนี้เช่นเคยครับมีรูปมาฝากกัน จะบอกว่าคนไทยนี่เก่งแล้วก็กล้าจริงๆนะครับ (ขับรถผ่านก็เลยเอามาฝากกัน)