วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตำแหน่งการติดตั้งวาล์วระบายแรงดัน

ใกล้ปีใหม่แล้วมีแผนจะไปเที่ยวไหนกัน ถ้าอย่างไรเที่ยวเผื่อกันบ้างนะครับ ผมปีใหม่คงไม่ได้เที่ยวตามฟอร์ม เพราะว่าอยากนอนมากกว่า 555 เข้าเรื่องดีกว่า

วันนี้ก็มาพูดเรื่องการติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงกันต่อ โดยวันนี้เป็นส่วนของวาล์วระบายแรงดัน สำหรับการติดตั้งนั้นตำแหน่งการติดตั้งจะต้องต่อก่อนที่จะเข้า Check Valve รวมทั้งจะต้องไม่ต่อเชื่อมร่วมกับท่อของ Test Line นะครับ


ติดก่อน Check Valve


Relief Valve กับ Test Line ไม่ต่อร่วมกันนะครับต้องแยกท่อต่างหาก

นอกจากนั้นแล้วขนาดให้ยึดตามมาตรฐาน NFPA หรือ วสท. นะครับ


วันนี้เน้นรูปกับตาราง แต่น่าจะโออยู่นะครับ เพราะว่าปกติออกแบบตารางนี้ใช้บ่อยครับ

วันนี้แค่นี้ก่อนนะครับงานจ่อก้นอยู่ ไปละครับ

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ด้านดูดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

หายไปซักพัก แต่กลับมาต่อเรื่องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงกันนะครับ กะว่าจะเขียนตั้งแต่ด้านดูดของเครื่องสูบน้ำต่อจนไปถึงด้านจ่ายเลย วันนี้เลยเริ่มตั้งแต่ด้านดูดกันก่อน

สำหรับด้านดูด (Suction Line) มีข้อที่ต้องพิจารณาอยู่หลายประเด็น แต่พอสรุปได้ดังนี้

1. วาล์วที่ด้านดูดจะต้องใช้เป็น OS&Y Gate Valve ข้อนี้สำคัญนะครับ อย่าใช้ Butterfly Valve เนื่องจากเป็นการเพิ่ม Loss ให้กับระบบ รวมทั้งจะทำให้เกิดการปั่นป่วนในท่อด้านดูด (อย่างที่เห็นในรูปก็ถือว่าผิดมาตรฐานนะครับ เพราะท่อที่ต่อจากถังน้ำ นั้นเป็น Butterfly Valve)

2. ความยาวของท่อด้านดูดนั้น จะต้องไม่ยาวกว่า 10 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อด้านดูด สมมติว่าท่อด้านดูดขนาด 8" (20 cm.) ท่อด้านดูดก็ไม่ควรยาวมากกว่า 200 cm. (2 m.) ดังนั้นการออกแบบถังสำรองน้ำดับเพลิงกับเครื่องสูบน้ำก็ไม่ควรให้ห่างกันมาก เหตุผลก็เพื่อไม่ให้ Loss ทางด้านดูดสูง ถ้าสังเกตจากรูปด้านล่าง จะเห็นว่าท่อด้านดูดเดินค่อนข้างยาว


3. ห้ามติดตั้งเครื่องสูบน้ำชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ แบบ Split-Case หรือ End Suction สูบน้ำจากแหล่งน้ำ หรือถังสำรองน้ำดับเพลิง ที่มีระดับน้ำใช้งานต่ำสุดในถัง ต่ำกว่าตัวเครื่องสูบน้ำ ในประเด็นนี้นะครับจากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า Foot Valve ทางด้านดูด รั่วเป็นประจำสม่ำเสมอ จะทดสอบกันทีก็ต้องล่อน้ำกันตลอด

4. ท่อด้านดูดต้องติดตั้ง Anti-Vortex Plate ไว้ด้วยนะครับ ส่วนขนาดนั้นก็ให้ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อด้านดูด ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีการดูดอากาศเข้าไปในระบบ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าการติดตั้งถูกต้องทั้งหมดแต่ไม่ได้มีการบำรุงดูแลรักษา ก็เปล่าประโยชน์ครับ เพราะว่าพอถึงเวลาจะใช้งานเครื่องสูบน้ำดับเพลิงกลับสตาร์ทไม่ได้ ผิดกับบางที่ที่ถึงแม้จะติดตั้งไม่ถูกต้อง 100% แต่ถ้ามีการดูแล ความเสี่ยงที่จะใช้งานไม่ได้ก็น้อยลง แต่ถ้าติดตั้งใหม่ๆ ก็ขอให้ยึดถือมาตรฐานเป็นหลักก็จะดีนะครับ ยิ่งถ้าทำประกันภัยด้วยแล้ว รับรองครับว่ายังไงเสียก็ต้องโดน Comment แน่นอน

พบกันเรื่องหน้านะครับ วันนี้ขอตัวทำงานต่อ รู้สึกว่าไม่ทันแล้ว 5555