วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Check Valve on Floor Control Valve


วันนี้เลือกเขียนเรื่องที่ตั้งใจจะเขียนมานานแล้วเหมือนกัน แต่ว่ายังหาข้อสรุปไม่ได้ จนถึงตอนนี้ เพราะว่ายังไม่มีใครพอจะอธิบายได้ชัดเจนเท่าไหร่ (จริงๆก็มีคำอธิบายนะ แต่ผมไม่เชื่อเท่านั้นเอง 555) เข้าเรื่องละ

สำหรับคนที่ออกแบบระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยหัวกระจายน้ำดับเพลิง (Automatic Sprinkler System) ก็คงรู้จัก Floor Control Valve กันดี เพราะว่าเป็นทั้งจุดที่ใช้ควบคุม ตรวจสอบ รวมทั้งทดสอบระบบ ซึ่งจะต้องมาทำกันที่นี่ และตั้งแต่  NFPA 13 Version 2007 เป็นต้นมา (เท่าที่ผมอ่านเจอนะครับ) ก็จะมีการพูดถึงเรื่องการติดตั้ง Check Valve ที่บริเวณ Floor Control Valve โดยรายละเอียดของเนื้อหาในมาตรฐานมีรายละเอียดดังนี้

8.17.5.2.2*  The following restrictions shall apply:     
(1)     Each connection from a standpipe that is part of a combined system to a sprinkler system shall have an individual control valve and check valve of the same size as the connection.
(2)     The minimum size of the riser shall be 4 in. (102 mm) unless hydraulic calculations indicate that a smaller size riser will satisfy sprinkler and hose stream allowances.
(3)     Each combined sprinkler and standpipe riser shall be equipped with a riser control valve to permit isolating a riser without interrupting the supply to other risers from the same source of supply. (For fire department connections serving standpipe and sprinkler systems, refer to Section 6.8.)


และจากมาตรฐานข้างต้นระบุให้ติดตั้ง Check Valve ในส่วนของระบบสปริงเกลอร์ ที่ใช้ร่วมกับระบบท่อยืน หรือที่เรียกว่า Combined System โดยเหตุผลส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันการดึงน้ำในระบบสปริงเกลอร์ เนื่องจากการใช้สายฉีดน้ำดับเพลิง ผมจึงเกิดคำถามในใจว่าจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องติดตั้ง Check Valve ที่ Floor Control Valve เนื่องจากลักษณะการใช้งานในช่วงเวลาที่ต่างกัน และแรงดันต่ำสุดที่หัวกระจายน้ำดับเพลิงต้องการ ประมาณแค่ 7 psi. ผมจึงตั้งข้อสังเกตว่า

1. ในเมื่อลักษณะการใช้งานและการทำงานเป็นไปได้ยากมากที่ Sprinkler จะทำงานพร้อมกัน

2. และเมื่อทำงานพร้อมกันแรงดันในระบบ Sprinkler จะลดต่ำกว่าความดันต่ำสุดที่ระบบต้องการหรือเปล่า เนื่องจากเมื่อเป็นระบบ Combined System แรงดันในระบบท่อขั้นต่ำจะอยู่ที่ประมาณ 100 psi. (NFPA) หรือ 65 psi. (วสท.)

หรือถ้าถึงขนาดต้องใช้หัวดับเพลิงขนาด 2-1/2" ไฟก็คงเป็นไฟใหญ่แล้ว ตอนนั้น Sprinkler คงไม่มีความจำเป็นในการควบคุมเพลิงไหม้

ทุกวันนี้ถ้าผมออกแบบผมก็เลยยังไม่ได้มีการติดตั้ง Check Valve ที่ Floor Control Vale
แต่ถ้าพูดถึงมาตรฐานก็น่าจะต้องติดไว้ และถ้ามีใครมีความเห็นเป็นอย่างอื่นก็บอกกันบ้างนะครับ

แต่ว่าจะลองหาโปรแกรมที่ Run Model เพราะว่าถ้าสร้างแบบจำลองออกมาได้ก็น่าจะตอบโจทย์ข้อนี้ได้

ปีหน้าตั้งใจว่าจะหาทางศึกษาการสร้างแบบจำลองเสียหน่อย ปีนี้ศึกษาโปรแกรม Hydraulic Calculation มาใช้สำหรับออกแบบตามที่ตั้งใจไว้เกือบสมบูรณ์แล้ว ไว้ถ้าสมบูรณ์กะว่าจะทำเป็น Manual ออกมาแจกจ่ายให้สมาชิกเสียหน่อย

สำหรับวันนี้ ขอสวัสดีปีใหม่ 2556 สำหรับทุกๆ คนล่วงหน้านะครับ

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ระบบสระว่ายน้ำแบบ Skimmer


กลับมาอีกครั้งสำหรับบทความใหม่ พอดีว่ากำลังเตรียมเอกสารไปสอนเขาเรื่องนี้พอดี เลยถือโอกาสเอามาฝากกันก่อน แต่คงไม่ได้ลงรายละเอียดมากนะครับ เอาไว้ดูเป็นแนวทางแล้วกันนะครับ เพราะในบางครั้งคงต้องดูเป็นงานๆ ไป

สำหรับสระว่ายน้ำที่ใช้ระบบ Skimmer นั้นเหมาะที่จะใช้กับสระว่ายน้ำขนาดเล็ก (พื้นที่ไม่เกิน 186 ตารางเมตร) โดยข้อดีของสระประเภทนี้อยู่ตรงที่ไม่จำเป็นต้องมี Surge Tank โดยน้ำจะล้นผ่านช่องของชุด Skimmer (Floating Weir) แล้วผ่านเข้าไปยังด้านดูดของเครื่องสูบน้ำหมุนเวียน และระบบกรองน้ำ ตามลำดับ จากนั้นก็จะวนกลับเข้ามายังสระว่ายน้ำใหม่ อีกรอบ (ไดอะแกรมของระบบแสดงดังรูปด้านล่าง) ซึ่งจำนวนของชุด Skimmer ก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของสระว่ายน้ำด้วย (สำหรับจำนวนที่ใช้ ถ้าคิดง่ายๆ ก็ประมาณ 46 ตารางเมตรต่อ 1 ชุด) แต่ระบบสระว่ายน้ำจะต้องมีชุด Skimmer 2 ชุดเป็นอย่างน้อย ส่วนหนึ่งเป็นในเรื่องของความสะอาดและป้องกันปัญหาของระบบที่อาจจะมีการอุดตันของชุด Skimmer ตัวใดตัวหนึ่งได้




เมื่อพอทราบระบบโดยคร่าวๆแล้ว มาดูในส่วนของข้อกำหนดในการออกแบบบ้างว่าเป็นอย่างไร

โดย Design Criteria ของระบบ Skimmer มีโดยสังเขป ดังนี้

1. จำนวนของ Skimmer ที่เลือกใช้ประมาณ 46 ตารางเมตร ต่อ 1 ชุด

2. ขนาดของสระว่ายน้ำที่เหมาะกับการใช้ระบบ Skimmer อยู่ที่ประมาณ ไม่เกิน 186 ตารางเมตร หรือมีความกว้างไม่มากกว่า 9.10 เมตร

3. ระยะห่างระหว่าง Skimmer จัดวางให้ห่างกันไม่เกิน 9 เมตร โดยประมาณ

4. การคิด Turnover Rate จะคิดเหมือนกับสระว่ายน้ำที่ใช้เป็นระบบ Overflow ทั่วไป คือ ประมาณ 4-8 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นสระเฉพาะเช่น บ่อสปา Turnover Rate ก็จะน้อยกว่าค่าดังกล่าว

แต่การออกแบบโดยละเอียดก็ต้องดูเป็นกรณีไปอีกครั้งนะครับ เนื่องจากก็ต้องดูข้อจำกัดของโครงการด้วย

วันนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ ทำงานก่อน


วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

แผนรับมือน้ำท่วมประจำบ้าน

ช่วงนี้ฝนตกหนักแทบจะทุกวัน และที่สำคัญตกจนน้ำท่วม นี่ซิ ทำเอาเดินทางไปไหนมาไหนลำบากนิดหน่อย ก็เลยต้องปรับตัวกันหน่อย พอพูดถึงน้ำท่วม วันนี้เข้าไปอ่านเวปไซด์ http://www.greennetworkthailand.com/ เจอบทความเรื่องการรับมือน้ำท่วม เลยขออนุญาตเอามาลงไว้ให้อ่านกัน เพราะว่าอาจจะต้องประสบในเร็ววัน จะว่าไปแล้วผมว่าในเวปมีบทความที่น่าอ่านหลายเรื่องนะครับ ถ้าใครสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวกับเรื่องอาคารเขียวก็เข้าไปอ่านกันได้นะครับ (แนะนำ)

ดูซิว่าแผนรับมือน้ำท่วมปีนี้ต้องทำอะไรบ้าง



ทั้ง 12 ข้อ อ่านแล้วชัดเจนดีครับ เพราะปีที่แล้วผมก็ทำประมาณนี้แหละ แต่ข้อ 8 ไม่ได้ทำเพราะว่ายังเอาไหว เอาอยู่ เลยเดินลุยน้ำไป 1 เดือน 555

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Float Valve

อยากจะ Update บทความใน Blog มาหลายวันแล้ว แต่พอจะมานั่งเขียนก็มีงานมาแทรกตลอด วันนี้ถือโอกาสมานั่งทำงานแถวร้านกาแฟ เลยขอเขียนซักเรื่อง อาจไม่ยาวมากนะครับ เพราะเขียนจากสิ่งที่พอจะนึกออกตอนนี้

ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ได้จัด Technical Review ในทุกสัปดาห์ และเรื่องล่าสุด ก็พูดคุยกันเรื่อง Control Valve ในระบบประปาและระบบดับเพลิง วันนี้จึงหยิบมาเขียนซักเรื่อง ซึ่งเป็นวาล์วชุดต้นทางของระบบเลยก็ว่าได้นั่น Float Valve ซึ่งเป็นวาล์วสำหรับควบคุมระดับน้ำในถังเก็บน้ำ

Float Valve หรือวาล์วควบคุมระดับน้ำ (ถ้าจะให้เรียกง่าย ก็ วาล์วลูกลอย) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


1. Modulating Float Valve


Float Valve ลักษณะนี้จะมีลูกลอยเป็นตัวควบคุมระดับน้ำในถังโดยการทำงานคือ จะมีลูกลอยทำหน้าที่เป็น เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำในถัง เมื่อน้ำเต็มถังวาล์วก็จะทำการปิดตัว และหากระดับน้ำลดลงวาล์วก็จะเปิดเพื่อเติมน้ำเข้าถัง โดยการเติมน้ำในถังด้วย Modulating Float Valve น้ำในถังจะมีระดับน้ำที่ค่อนข้างคงที่ตลอดเวลา (ไม่นับรวมช่วงที่น้ำจากการประปาไม่ไหลนะครับ)



2. Non-Modulating Float Valve


วาล์วลักษณะนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับ Modulating Float Valve แต่ต่างกันตรงที่วาล์วจะเปิดในกรณีที่ระดับน้ำลดต่ำลงในระดับที่มีการตั้งไว้ (ไม่ได้มีการเติมน้ำเข้าตลอดเวลา ที่ระดับน้ำลด) เช่น เราปรับตั้งให้วาล์ว เปิดที่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับ ปกติ 10 cm. ซึ่งการติดตั้งวาล์วลักษณะ Non-Modulating Float Valve น่าจะเหมาะกับการเติมน้ำที่มาจากการเติมน้ำเข้าถังเก็บด้วยเครื่องสูบน้ำ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เครื่องสูบน้ำทำงานถี่จนเกิดนไป


เอารูปนักเรียนมาฝากกันครับ แต่ละคนตั้งใจกันมาก และต้องขอบคุณทาง BERMAD ด้วยนะครับสำหรับการนำวิทยาการมาช่วยอธิบายในวันนั้น อาทิตย์เย็นไปออกกำลังกายดีกว่า


วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การติดตั้ง Sprinkler เหนือฝ้าที่เป็นฝ้าตะแกรง

จากที่ตรวจงานในหลายอาคารพบว่าบางครั้งทางสถาปนิกไม่ต้องการให้ฝ้าดูเรียบจนเกินไป (คงจะเพราะไม่สวย) และก็หลายที่เช่นกันที่ใช้เป็นฝ้าที่มีลักษณะเป็นตะแกรง ซึ่งการที่จะติด Sprinkler ในบริเวณดังกล่าวนั้นตาม NFPA มีข้อกำหนดสำหรับการติดตั้งไว้ในหลายเรื่องเหมือนกัน มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง


1. พื้นที่ของช่องเปิดทั้งหมดจะต้องไม่น้อยกว่า 70%

2. ฝ้าตะแกรงที่สามารถติดตั้งด้านล่างของหัว Sprinkler ได้จะต้องมีระยะช่องเปิดแต่ละด้านไม่น้อยกว่า 6.40 mm. โดยที่วัสดุฝ้าตะแกรงจะต้องมีความหนา หรือความลึกไม่เกิน 6.40 mm.

3. ระยะติดตั้ง Sprinkler เหนือฝ้าตะแกรงสำหรับพื้นที่ Light Hazard

- ติดตั้งระยะไม่เกิน 3m. x 3m. กรณีที่ระยะระหว่าง Deflector ถึงขอบบน ของฝ้าตะแกรงอย่างน้อย 18 นิ้ว
- ติดตั้งระยะ 3m. x 3m. แต่ไม่เกิน 3m. x 3.7m. กรณีที่ระยะระหว่าง Deflector ถึงขอบบน ของฝ้าตะแกรงอย่างน้อย 24 นิ้ว
- ติดตั้งระยะเกินกว่า 3m. x 3.7m. กรณีที่ระยะระหว่าง Deflector ถึงขอบบน ของฝ้าตะแกรงอย่างน้อย 48 นิ้ว


4. ระยะติดตั้ง Sprinkler เหนือฝ้าตะแกรงสำหรับพื้นที่ Ordinary Hazard

- ติดตั้งระยะไม่เกิน 3m. x 3m. กรณีที่ระยะระหว่าง Deflector ถึงขอบบน ของฝ้าตะแกรงอย่างน้อย 24 นิ้ว
- ติดตั้งระยะเกินกว่า 3m. x 3m. กรณีที่ระยะระหว่าง Deflector ถึงขอบบน ของฝ้าตะแกรงอย่างน้อย 36 นิ้ว




ลองเอาไปใช้กันดูนะครับ จะได้ไม่ต้องมาแก้ตอนโดนตรวจสอบ

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

การป้องกันช่องเจาะทะลุพื้นของงานระบบ


เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ถ้าติดตามข่าวก็น่าจะพอทราบว่าในกรุงเทพมหานคร มีเหตุการณ์ไฟไหม้ติดต่อกัน 3 อาคาร ในเวลา 1 สัปดาห์ และพบว่าในเหตุการณ์เหล่านี้มีผู้เสียชีวิตด้วย โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตเกิดจากควันไฟที่เกิดขึ้น และถ้าใครยังจำภาพเหตุการณ์ไฟไหม้อาคาร FICO ได้จะเห็นว่าต้นเพลิงอยู่ที่ชั้น 7 แต่ว่าชั้นด้านบนไฟได้ลามขึ้นไปติดทั้งหมด ลักษณะนี้เรียกว่าเกิดการลามไฟระหว่างชั้น

เมื่อเกิดการลามไฟระหว่างชั้นในลักษณะนี้ถือว่ายากแก่การควบคุม ด้งนั้นสำหรับอาคารที่ก่อสร้างใหม่ข้อบัญญัติ กทม. จึงระบุไว้ว่าช่องเปิดทะลุต่างๆ เช่น ช่องท่อของงานระบบ จะต้องมีการปิดกั้นด้วยวัสดุที่ทนไฟ รวมทั้งในกฎกระทรวงมหมาดไทย ก็ยังระบุให้บันไดกลาง (บันไดที่ใช้สัญจรระหว่างชั้น) จะต้องมีการปิดล้อมด้วยส่วนที่ทนไฟ ดังนั้นจะเห็นว่าตึกใหม่ๆ จะไม่พบว่ามีบันไดกลาง (แต่จะใช้บันไดหนีไฟเป็นทางสัญจรแทนแล้วก็จะเปิดค้างไว้ตลอด 555 ไม่ถูกนะครับ บันไดต้องปิดไว้ตลอดเวลา)


วันนี้ผมเลยนำรูปแบบการติดตัั้งวัสดุปิดช่องท่อสำหรับงานระบบ เรียกสั้นๆว่า Fire Barrier แล้วกันนะครับ

สำหรับการติดตั้ง Fire Barrier ที่เอามาให้เป็นตัวอย่างนี้ เป็นรูปแบบที่ใช้กับช่องท่อของงานระบบไฟฟ้าและงานระบบสุขาภิบาล โดยเฉพาะท่อสำหรับงานสุขาภิบาลที่ใช้เป็นท่อ PVC จะต้องมีการป้องกันพิเศษหน่อยเพราะว่า เมื่อไฟไหม้แล้ว PVC จะหลอมตัวทำให้เกิดช่องว่างได้

(สำหรับรูปแบบการติดตั้งได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท Masstec Link Co.,Ltd. 
ถ้าใครอยากทราบ Spec. ก็สอบถามไปได้นะครับ)



การติดตั้ง Fire Barrier สำหรับช่องท่องานระบบไฟฟ้า



การติดตั้ง Fire Barrier สำหรับช่องท่องานระบบสุขาภิบาล


เช่นเคยครับติดไว้วันก่อนวันนี้มีรูปมาฝากกันเป็นรูปหินงอกหินย้อยในอาคาร แซวกันเล่นๆนะครับ



วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

มาตรฐานที่เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย

ระหว่างกำลังจะ Upload บทความก็ได้ข่าวไฟไหม้โรงแรมแถวสุขุมวิท เลยมานั่งคิดว่าทำไมช่วงนี้ไฟไหม้บ่อยจัง หรือจะเป็นอิทธิพลจากไฟป่าทางภาคเหนือ (แซวนะครับอย่าคิดมาก)
กำลังว่าจะหาข้อมูลแล้วมาวิเคราะห์ก็มีข้อมูลน้อยไป แต่ว่าไปผมสนใจประเด็นการลามไฟระหว่างชั้นมากกว่า กะว่าถ้าตึกเปิดใช้งานจะไปเดินเที่ยวตึกดังกล่าวซักหน่อย เผื่อจะได้อะไรบ้าง

มาเข้าเรื่องกันดีกว่า วันก่อนได้รับ Forward เมล์จากพี่ที่รู้จักท่านหนึ่ง ในเรื่องมาตรฐานและสถาบันฯ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัย ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ เลยเอามาฝากไว้ประดับความรู้กัน และต้องขอขอบคุณสำหรับผู้เรียบเรียงด้วยนะครับ (ไม่ทราบจริงๆว่าใคร)

มาดูกันนะครับว่ามีมาตรฐานอะไรกันบ้าง ผมเลือกมาบางส่วนที่มีการพูดถึงบ่อยๆนะครับ


สมาคมป้องกันเพลิงไหม้แห่งชาติ National Fire Protection Association (NFPA)

สมาคมป้องกันเพลิงไหม้แห่งชาติ หรือ National Fire Protection Association (NFPA) เป็นองค์กร
นานาชาติที่ไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งในปี 1986 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง ควินซี รัฐแมตซาซูเสตต์
NFPA มีสมาชิก มากกว่า 81,000 ราย และองค์กรการค้าแห่งชาติกับองค์กรผู้เชี่ยวชาญอีกมากกว่า 80 แห่ง ภารกิจของ NPA คือ การลดภาระเกี่ยวกับไฟและอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตทั่วโลกโดยการตั้งรหัสและมาตรฐาน, งานวิจัย, อบรม และการศึกษามาตรฐานและโค้ด NPFA จำนวน 300 รายการ มีผลกับทุกสิ่งก่อสร้าง, ขบวนการ , บริการ, การออกแบบและติดตั้ง ในอเมริกาและในประเทศอื่นๆ โค้ดเกี่ยวกับไฟฟ้าแห่งชาติ (NFPA 70) , โค้ดด้านนความปลอดภัยต่อชีวิต (NFPA101) และโค้ดเกี่ยวกับของเหลวไวไฟและของเหลวที่ติดไฟ (NFPA 30) ได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย


มาตรฐาน Factory Mutual (FM Global)

มาตรฐาน FM (Factory Mutual) Global เป็นหนึ่งในมาตรฐานที่ใหญ่ที่สุดในเชิงพาณิชย์และการ
ประกันภัยอุตสาหกรรมและการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยเฉพาะการปกป้องทรัพย์สิน มาตรฐานนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาโดย ซาคาเรีย อัลเลน ผู้ซึ่งรู้สึกถึงความตอ้งการในด้านการประกันภัยกลุ่มอุตสาหกรรมและใหเน้น ในการควบคุมความสูญเสีย FM Global ประกอบดว้ย 6 หน่วยธุรกิจ และแต่ละหน่วยธุรกิจจะช่วยลูกค้าให้บริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับทรัพย์สิน ผ่านสินค้าและบริการหน่วยงานรับรองธุรกิจจะทำการรับรองอุตสาหกรรมและสินค้าและบริการในทางการค้าเมื่อสินค้าหรือบริการตรงกับมาตรฐาน ของ FM จะมีการออกสัญลักษณ์ของ FM เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่ามีลักษณะตามที่ต้องการและสนับสนุนด้านการป้องกันความเสียหาย


ห้องปฏิบัติการรับประกัน Underwriters' Laboratories Inc. (UL)

ห้องปฏิบัติการที่รั บประกัน หรือ Underwriters' Laboratories Inc. (UL) เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหา
ผลกำไรและรับรองความปลอดภัยของสินค้าได้เริ่ม ทดสอบสินค้าและเขียนมาตรฐานความปลอดภัย
ตั้งแต่ปี 1894 ในแต่ละปี UL ได้ประเมินสินค้า, ชิ้นส่วน,วัสดุ และระบบ มากกว่า 19,000 รายการ ด้วยเครื่องหมายรับรอง UL 21,000 ล้านเครื่องหมายปรากฎอยู่กับผู้ผลิตสินค้า 71,000 รายต่อปี ภารกิจของ UL คือการสนับสนุนให้มีความเป็นอยู่สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย โดยการใช้วิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยและวิศวกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัย ซึ่งมีศูนย์ตรวจสอบ 127 แห่ง มีห้องปฏิบัติการ 66 แห่ง, อุปกรณ์ในการทดสอบและรับรอง และเจ้าหน้าที่จำนวน 6,200 คน



ตอนแรกว่าจะหารูปมาฝาก เพราะอาทิตย์นี้มาตรวจงานภาคเหนือ มีรูปน่าสนใจหลายรูป แต่ดัน Upload ไม่ได้ ก็ไว้เรื่องหน้านะครับ เดี๋ยวให้สองรูปเลย


วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การทำความสะอาดถังสำรองน้ำประปา

วันนี้ขออนุญาตเอาแบบสั้นแต่ได้ใจความนะครับ
วันนี้ขึ้นไปดูถังเก็บน้ำบนชั้นดาดฟ้ามาเลยสอบถามทางอาคารว่ามีการล้างถังเก็บน้ำบ้างหรือเปล่า คำตอบก็ไม่ต้องเดานะครับ เพราะว่าเป็นอย่างที่คิด ก็เลยขอนำรายละเอียดวิธีความสะอาดถังเก็บน้ำประปา มาฝากกัน


วิธีทำความสะอาดถังเก็บน้ำประปาให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


(1) ให้ใช้แปรงขนแข็งทำความสะอาดผิวภายในถังประปา พร้อมทั้งล้างผิวด้วยน้ำสะอาดเพื่อให้
คราบและสิ่งสกปรกออกจนหมด

(2) ให้ใช้คลอรีนผสมน้ำสะอาด ให้มีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ
200 ส่วนในล้านส่วน (200 ppm) ฉีดหรือชะโลมผิวถังเก็บน้ำประปาให้ทั่วผิวถัง ในตารางด้านล่าง
ได้แสดงแนวทางการคำนวณน้ำหนักของคลอรีนผง (Chlorine Hypochlorite) ที่ต้องการใช้ใน
ถังเก็บกักน้ำประปาแต่ละขนาดความจุ




ถังน้ำประปาอย่างน้อยควรล้างทำความสะอาดปีละครั้ง และโดยเฉพาะอาคารที่เพิ่งผ่านมรสุมน้องน้ำมาไม่นานนี้ ผมว่าสำคัญเลยนะครับ ไว้เจอกันเรื่องหน้านะครับ



วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

สถานะการเปิด-ปิด วาล์ว (Valve Supervision)

ตามมาตรฐาน NFPA 20 ระบุให้วาล์วที่ติดตั้งอยู่ภายในห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิง จำเป็นต้องสามารถแสดงสถานะการเปิด-ปิด ได้ในตลอดเวลา ซึ่งก็มีหลายวิธี โดยในมาตรฐานระบุไว้ 4 วิธี ตามรายละเอียดด้านล่าง

(1) Central station, proprietary, or remote station signaling service
(2) Local signaling service that will cause the sounding of an audible signal at a constantly attended point
(3) Locking valves open
(4) Sealing of valves and approved weekly recorded inspection where valves are located within fenced enclosures under the control of the owner

สำหรับวิธีที่ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดคงเป็นวิธีการล็อควาล์ว ซึ่งวันนี้ขอนำรูปการล็อควาล์วในแบบต่างๆ มาฝากกัน โดยมีอยู่หลายแบบ ถ้าอย่างไรก็ลองเอาไปเป็นตัวอย่างได้นะครับ

Valve Lockout สำเร็จรูป

ใช้ Cable Tie รัดวาล์ว

ใช้โซ่ล็อควาล์ว

ใช้ Supervisory Valve

ก็ลองเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตำแหน่งการติดตั้ง ขนาดของวาล์ว ขนาดของระบบ และที่สำคัญงบประมาณที่มีอยู่ครับ

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

Safety Tips ช่วงปีใหม่

วันนี้ตื่นมาก็เห็นแต่ฝน เลยเอาเรื่องไฟมาฝาก เผื่อจะได้ข่มกันไว้บ้าง ก็เรียกว่าเป็นภาคต่อจากบทความเดิมก็คงไม่ผิด เพราะว่าไปหยิบมาจาก NFPA กะว่าจะลองทำ Safety Tips แบบนี้เป็นเวอร์ชั่นของตัวเองดูบ้าง จะว่าไปถ้าจะยากก็ตรงตัวการ์ตูนนี่แหละ ถ้าทำเสร็จแล้วจะเอามาฝากไว้ให้เอาไปใช้กัน

สำหรับวันนี้มี Tips อยู่ 3 เรื่องครับ ตามสไตล์ของ NFPA ที่เน้นทำออกมาให้เข้าใจง่าย

 Cooking Safety

Candle Safety

Holiday Safety


ไว้เจอกันใหม่เรื่องหน้านะครับ ฉลองปีใหม่ก็อย่าให้หนักมาก แล้วก็รักษาสุุขภาพด้วยนะครับปีใหม่ เป็นช่วงที่เหมาะต่อการตั้งเป้าหมาย แล้วสิ้นปีมาวัดผลกัน แต่อย่าลืมตรวจสอบในแต่ละไตรมาสกันด้วยนะครับ