ช่วงนี้มีโอกาสได้เข้าไปช่วยตรวจสอบงานติดตั้งระบบ
Sprinkler ของอาคารคลังสินค้า เลยถือโอกาสนำข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบ Sprinkler สำหรับอาคารคลังสินค้ามาฝากกัน แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า การออกแบบ Sprinkler ของประเภทนี้ไม่ง่ายเหมือนการออกแบบ
Sprinkler ของอาคารทั่วไป นะครับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อกำหนดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งสิ่งที่ต้องตอบให้ได้ หรือจะต้องตั้งสมมติฐาน ก่อนเป็นอันดับแรกเลย ได้แก่
1. คลังสินค้านั้นเก็บสินค้าประเภทอะไร
2. ความสูงของอาคารคลังสินค้า
3. ความสูงของสินค้าที่วาง
4. ลักษณะการเก็บสินค้า เช่น เก็บไว้บน Rack หรือวางกองกับพื้น
5. ถ้าเก็บบน Rack ชนิดของ Pallet หรือพลาสติก
และขอแถมอีกซักข้อนะครับว่าคงต้องดูเรื่องงบประมาณด้วยว่ามีมากน้อยอย่างไร
แต่อย่าเพิ่งถอดใจไปนะครับเพราะถ้ามองว่ายากก็คงยาก เหมือนที่ผมคิดในตอนแรก เลยไม่เคยจับมันเลย แต่พอลองตั้งใจอ่านจริงๆ กลับพบว่ามันก็ไม่ยากมากนะ
สำคัญอยู่ที่เราต้องเปิด Code ให้ถูก ใช่ครับ ถ้าเรารู้ว่าจะใช้ NFPA บทไหนออกแบบสำหรับคลังสินค้าหลังนั้นๆ ผมเชื่อว่าสบายมาก จึงเป็นที่มาของบทความซี่รี่นี้ ซึ่งผมจะพยายามสรุป NFPA CODE มาให้ทุกคนได้ศึกษาในเบื้องต้น ส่วนจะนำไปใช้งานคงต้องอ่านมาตรฐานเพิ่มเติมกันนะครับ
(มาตรฐาน วสท. เล่มปัจบันไม่ครอบคลุมเรื่องการออกแบบและติดตั้ง
Sprinkler ของอาคารคลังสินค้านะครับ ต้องอ่านใน NFPA 13 ใน Chapter 12 - Chapter 20)
สำหรับวันนี้ขอเริ่มจากสิ่งที่ต้องทราบเป็นอันดับแรกก่อนครับนั่นคือ
"คลังสินค้านั้นเก็บสินค้าประเภทอะไร
ตามมาตรฐาน NFPA กำหนดประเภทของสินค้า
(Commodity) ออกเป็น 4 ประเภท โดยมีรายะเอียดดังนี้ (ขอไม่แปลนะครับเพราะอยากให้เห็นข้อกำหนดต้นฉบับ)
5.6.3* Commodity Classes.
5.6.3.1* Class I. A Class I commodity shall be defined as a
noncombustible product that meets one of the following criteria:
(1) Placed directly on wood pallets
(2) Placed in single-layer corrugated
cartons, with or without single-thickness cardboard dividers, with or without
pallets
(3) Shrink-wrapped or paper-wrapped as a
unit load with or without pallets
5.6.3.2* Class II. A Class II commodity shall be defined as a
noncombustible product that is in slatted wooden crates, solid wood boxes,
multiple-layered corrugated cartons, or equivalent combustible packaging
material, with or without pallets.
5.6.3.3* Class III.
5.6.3.3.1 A Class III commodity shall be
defined as a product fashioned from wood, paper, natural fibers, or Group C
plastics with or without cartons, boxes, or crates and with or without pallets.
5.6.3.3.2 A Class III commodity shall be
permitted to contain a limited amount (5 percent by weight or volume or less)
of Group A or Group B plastics.
5.6.3.4* Class IV.
5.6.3.4.1 A Class IV commodity shall be defined
as a product, with or without pallets, that meets one of the following
criteria:
(1) Constructed partially or totally of
Group B plastics
(2) Consists of free-flowing Group A
plastic materials
(3) Contains within itself or its
packaging an appreciable amount (5 percent to 15 percent by weight or 5 percent
to 25 percent by volume) of Group A plastics
ถ้าจะจำง่ายๆนะครับ ผมขอสรุป ดังนี้
Class I หมายถึงสินค้าที่ตัวมันเองไม่ได้เป็นวัสดุติดไฟ แต่บรรจุอยู่ในหีบห่อที่ติดไฟ
Class II จะคล้ายกับ Class I แต่จะใส่ในกล่องที่มีช่องแบ่งหลายๆช่อง
Class III ผลิตภัณฑ์เป็นประเภท เสื้อผ้า ไม้ เส้นใยธรรมชาติ เป็นต้น
Class IV ผลิตภัณฑ์เป็นพวกยาง หรือ พลาสติก
นอกจากนี้พลาสติก ยังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ Group A,B and C
จะเห็นว่ายิ่งเชื้อเพลิง Class สูง เมื่อเกิดเพลิงไหม้ จะมีความรุนแรงของเพลิงสูงกว่า Class ที่ต่ำกว่า
สำหรับวันนี้แค่นี้ก่อนนะครับ รอติดตามตอน 2 นะครับและถ้าใครมีข้อเสนอแนะติชม ก็บอกกันได้นะครับ
ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน