วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การทดสอบระบบอัดอากาศเพื่อควบคุมควันไฟ



ตอนแรกตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ไฟไหม้ที่อาคาร SCB สำนักงานใหญ่ แต่เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ก็จะได้จากภาพข่าวและการให้ข่าว จากหลายๆ ฝ่าย รวมทั้งไม่ทราบข้อมูลเชิงลึก เอาอย่างง่ายๆว่าสรุปแล้วพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ ติดตั้งระบบดับเพลิงชนิด Sprinkler หรือระบบอื่น กันแน่ ข่าวแต่ละที่ยังต่างกันเลย เลยคิดว่าเอาเฉพาะส่วนที่เห็นจากภาพข่าว และเป็นข้อสงสัยส่วนตัว มาแชร์ให้เพื่อนน่าจะดีกว่า

โดยประเด็นที่ผมสงสัย คืออาคารระดับนี้ ทำไมขณะเกิดเหตุ ถ้าดูจากภาพข่าวแล้วเหมือนระบบอัดอากาศสำหรับบันไดหนีไฟ จึงไม่มีประสิทธิภาพ มีกลุ่มควันเข้าสู่บันไดหนีไฟ

(แต่จะว่าไปก็สงสัยอยู่หลายเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมควัน เช่น ตำแหน่งของโถงลิฟต์ดับเพลิง และ...)

วันนี้จึงขอนำมาตรฐานที่เกี่ยวกับการทดสอบความดันและความเร็วลมของระบบอัดอากาศมาฝาก

โดยอ้างอิงตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานเลขที่ มอก.2541 เล่ม 6-2555 ข้อกำหนดในการป้องกันอัคคีภัย เล่มที่ 6 ระบบอัดอากาศเพื่อควบคุมควันไฟ ซึ่งตามมาตรฐานได้กำหนดถึงการทดสอบไว้ดังนี้


 

สำหรับตารางที่ 1


โดยกำหนดระยะเวลาในการบำรุงดูแลรักษาระบบ ดังนี้


ส่วนรายละเอียดของมาตรฐานทั้งหมด ก็ลองหา ใน Google กันได้นะครับ ใครที่ทำงานทางด้านนี้ก็ได้นำไปเป็นเอกสารอ้างอิง นอกเหนือจากมาตรฐาน วสท. ที่ใช้กัน

ไว้เจอกันเรื่องหน้านะครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. แปลกใจนิดหน่อยว่า ข้อความแสดงความคิดเห็นไม่ขึ้นแสดงใน Blog แต่ไปแจ้งเตือนใน E-mail ก็เลยเอามาลงให้ใหม่ เดี๋ยวจะหาว่า Admin ลบไป

    ควันไฟเข้าบันไดตามภาพเกิดได้กับทุกอาคารครับ เนื่องจากผู้ออกแบบระบบป้องกันควันไฟมักใช้สูตรคำนวณเบื้องต้นเดียวกัน ซึ่งมักกำหนดให้มีประตูที่เปิดค้างไว้เพียง 1 หรือ 2 บานเท่านั้น เมื่อเกิดกรณีเปิดประตูในบันไดหนีไฟพร้อมๆกันเกินกว่าที่ออกแบบไว้ ก็จะไม่สามารถป้องกันควันไฟเข้าในบันไดหนีไฟได้เพียงพอ

    ไม่นับรวมระบบที่ล้มเหลวเนื่องจากขาดการบำรุงรักษา และประตูหนีไฟถูกขัดเปิดทิ้งไว้เพื่อการสัญจรครับ

    การป้องกัน : ปิดประตูหนีไฟตลอดเวลาทุกบานให้สนิท, อาคารต้องทำการบำรุงรักษาระบบให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตลอดเวลา, ทำการตรวจทดสอบสมรรถนะ และปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน หากตรวจพบว่าสมรรถนะต่ำกว่ามาตรฐาน และ ผู้ออกแบบควรออกแบบให้ระบบพัดลมอัดอากาศสามารถรองรับการเปิดประตูได้พร้อมกันอย่างน้อย 2 บาน (บานแรกจุดปล่อยออก และบานสองเปิดในชั้นอพยพหนีไฟ)


    เห็นด้วยกับเจ้าของความเห็นครับ

    สมัยนี้ความผิดปกติ ถูกมองเป็นเรื่องปกติ อยากให้ช่วยๆกันนะครับ
    เริ่มจากที่ตัวเรา ลองสำรวจอาคารที่เราใช้อยู่ว่าเป็นอย่างที่ คุณ A
    บอกไว้หรือเปล่านะครับ

    ประมุข

    ตอบลบ