วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การกำหนดจำนวนถังดับเพลิงมือถือสำหรับคลังสินค้า

ต่อจากความเดิมคราวที่แล้ว ที่บอกว่าจะเขียนเรื่องการกำหนดจำนวนถังดับเพลิงมือถือสำหรับคลังสินค้านั้นต้องบอกก่อนนะครับว่าผม อ้างอิงจาก Thai-German Dangerous Goods Project (TG-DGP) ในเรื่องคู่มือการจัดเก็บสินค้าอันตรายและสารอันตรายอย่างปลอดภัย เข้าใจว่าน่าจะเป็นมาตรฐานของทางเยอรมัน แต่ก่อนที่เข้าเรื่องการกำหนดจำนวนถังดับเพลิง อันดับแรกคงต้องทำความเข้าใจเรื่องระดับความเสี่ยงของพื้นที่ก่อนนะครับ โดยระดับความเสี่ยงหรือความอันตรายของพื้นที่ในการเกิดเพลิงไหม้ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือระดับความเสี่ยงน้อย ระดับความเสี่ยงปานกลาง และระดับความเสี่ยงสูง โดยการจำแนกระดับความเสี่ยงว่าคลังสินค้าของเรามีระดับความเสี่ยงเป็นอย่างไรนั้นให้พิจารณาตามวัสดุที่เราเก็บว่าเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการติดไฟได้ยากง่ายแค่ไหน รวมทั้งให้พิจารณาจากสภาพในการทำงานว่ามีกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดการลุกติดไฟหรือไม่ในพื้นที่ แต่เพื่อไม่ให้งง ก็เลยมีตารางการกำหนดความเสี่ยง ดังนี้ครับ
คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียด
โดยเมื่อพิจารณาตามสารที่จัดเก็บผลคูณของตัวคูณที่ 1 (ค่าคงที่ 1) กับตัวคูณที่ 2 (ค่าคงที่ 2) จะระบุถึงระดับความเสี่ยงในการเก็บสารเคมีการคำนวณจะต้องคำนวณทีละรายการและนำมารวมกัน โดยจากตารางจะเห็นว่ารายการที่จะนำมาคิดนั้น คือ สารอันตรายที่มีการจัดเก็บไว้ (ผมเรียกว่าตัวหลักดีกว่าแล้วกัน) บรรจุภัณฑ์ที่มีการเก็บ รวมถึงวัสดุอื่นๆที่มีการจัดเก็บร่วมกัน ผลรวมของตัวเลขจะระบุถึงความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ของคลังสินค้านั้น ยกตัวอย่าง

สมมติว่าในคลังสินค้ามีการเก็บสารอันตรายที่เป็นสารไวไฟ มีบรรจุภัณฑ์เปล่าซึ่งผ่านการทำความสะอาดโดยมีสารไม่ไวไฟหลงเหลืออยู่และมีวัสดุอื่นที่ไม่ไวไฟเก็บอยู่ด้วย เราสามารถคำนวณได้ดังนี้

สารตัวหลักเป็นสารไวไฟ เกณฑ์เป็น R2 (ค่าคงที่ 1=20) หรือR3 (ค่าคงที่ 1=30)
บรรจุภัณฑ์ เกณฑ์เป็น R1 (ค่าคงที่ 1=10)
หรือR2 (ค่าคงที่ 1=20)
วัสดุอื่นๆ เกณฑ์เป็น R1 (ค่าคงที่ 1=10)

สำหรับค่าคงที่ 2 ที่ใช้เป็นตัวคูณสำหรับสารตัวหลัก = 3 บรรจุภัณฑ์ = 2 และวัสดุอื่นๆ = 1
(ตามตารางที่กำหนดไว้ข้างต้น) คราวนี้มาดูผลรวมกัน

สารตัวหลัก 20x3 (R2) หรือ 30x3 (R3) เท่ากับ 60 หรือ 90
บรรจุภัณฑ์ 10x2 (R1) หรือ 20x2 (R2) เท่ากับ 20 หรือ 40
วัสดุอื่นๆ 10x1 เท่ากับ 10

ค่าของผลคูณในแต่ละรายการ มาจับบวกกันผมแนะนำให้ใช้ค่าที่มากที่สุดจะดีกว่านะครับเซฟหน่อย
ผลออกมาแล้วครับ 90 + 40 + 10 = 140
ผลรวมของตัวเลขที่ได้จะบอกความเสี่ยง ดังนี้

ระดับความเสี่ยงน้อย ผลรวมของตัวเลข น้อยกว่า 80
ระดับความเสี่ยงปานกลาง
ผลรวมของตัวเลข ตั้งแต่ 80 - 120
ระดับความเสี่ยงสูง ผลรวมของตัวเลข สูงกว่า 120

จากตัวอย่างข้างต้นถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงสูง (140)

แต่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งนะครับการจำแนกระดับความเสี่ยงของคลังสินค้า ยึดหลักพิจารณาจากความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้เท่านั้น ดังนั้นจึงควรที่จะนำข้อกำหนดในการจัดเก็บแยกห่างและการจัดแบบแยกบริเวณ มาพิจารณาตามความเหมาะสมด้วย สำหรับการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์

สำหรับจำนวนเครื่องดับเพลิงมือถือนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยของการดับเพลิง โดยเครื่องดับเพลิงมือถือจะมีขนาดความจุต่างกันรวมถึงสารบรรจุก็มีหลายประเภท ดังนั้นจึงมีการกำหนดหน่วยของการดับเพลิงที่ต้องการสำหรับพื้นที่คลังสินค้า รวมถึงหน่วยของการดับเพลิงต่อเครื่องดับเพลิงมือถือ โดยมีรายละเอียดดังนี้

จำนวนหน่วยของการดับเพลิงสำหรับพื้นที่คลังสินค้า
คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียด

หน่วยของการดับเพลิงต่อเครื่องดับเพลิงมือถือ
คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียด

ยกตัวอย่างนะครับ กรณีคลังสินค้ามีพื้นที่ 1,400 ตารางเมตร และเป็นพื้นที่ระดับความเสี่ยงสูง จากตารางข้างต้นจะได้จำนวนหน่วยการดับเพลิง เท่ากับ 108 + 18 + 18 = 144 หน่วย
ดังนั้นจะได้ว่าถ้าเราใช้ถังดับเพลิงมือถือชนิดผงเคมีแห้ง ABC

ถ้าเลือกถังขนาด 6 กิโลกรัม ต้องจัดเตรียมทั้งสิ้นจำนวน 24 ถัง หรือว่าเราจะใช้
ถังขนาด 6 กิโลกรัม จำนวน 12 ถัง และถังขนาด 12 กิโลกรัม จำนวน 6 ถัง

แล้วถ้าคลังสินค้าของเรามีระดับความเสี่ยงเป็นระดับอื่นละ แต่พื้นที่ 1,400 ตารางเมตร

พื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับเล็กน้อย ก็ใช้ถังดับเพลิงขนาด 6 กิโลกรัม จำนวน 8 ถัง
พื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง ก็ใช้ถังดับเพลิงขนาด 6 กิโลกรัม จำนวน 16 ถัง

ส่วน Fire Rating ที่ใช้ก้อดูได้จากบทความก่อนหน้านี้ได้ครับ อยากบอกว่าอาจจะไม่สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดนะครับเพราะ่ว่าเป็นคนละมาตรฐานกัน แต่วิธีนี้ก็ถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหาจำนวนถังดับเพลิง ผมว่าเอาไว้พิจารณาเป็นไอเดียในการเลือกใช้ได้เหมือนกันนะครับ ลองเอาไปประยุกต์ใช้ได้นะครับ สำหรับคราวหน้าผมว่าจะเอาเรื่องอาคารสีเขียว (Green Building) มาฝากกันเพราะเห็นช่วงนี้มีกฎหมายเกี่ยวกับการอนุัรักษ์พลังงานออกมาใหม่ๆ หลายฉบับ

ไว้คอยติดตามอ่านกันได้นะครับ

2 ความคิดเห็น: