วันนี้ขอพูดถึงการเลือกถังดับเพลิงมือถือเสียหน่อย แต่เป็นการเลือกตามอัตราการดับเพลิง (Fire Rating) และจำนวนที่เหมาะสมในการติดตั้งนะครับ เข้าเรื่องเลยแล้วกัน
สำหรับในส่วนของกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย นั้นมีการระบุให้ติดตั้งถังดับเพลิงมือถือ โดยกฎกระทรวงในหลายฉบับระบุให้ติดตั้งชั้นละ 1 เครื่องต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร ส่วนขนาดนั้นให้ใช้ขนาดไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม (สำหรับผงเคมีแห้ง) แต่ถ้าดูในส่วนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม โรงงานต้องมีเครื่องดับเพลิง 1 เครื่อง ต่อ 100 ตารางเมตร มีขนาดไม่น้อยกว่า 5 กิโลกรัม (สำหรับผงเคมีแห้ง) คงจะเห็นความแตกต่างในข้อกำหนดของกฎหมายอยู่บ้าง
ส่วนมาตรฐานในการป้องกันอัคคีภัย ของ วสท. นั้นพอสรุปในรายละเอียดได้ ดังนี้
1. ขนาดและการติดตั้งเครื่องดับเพลิงประเภท ก. (Class A) สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้
โดยมีระยะทางเข้าถึงตัวเครื่องดับเพลิงสูงสุดไม่เกิน 23 เมตร
(คร่าวๆคือติดตั้งห่างกันไม่เกิน 46 เมตร)
2. ขนาดและการติดตั้งเครื่องดับเพลิงประเภท ข. (Class B) สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้
จะเห็นว่าระยะทางเข้าถึงตัวเครื่องดับเพลิงสูงสุดนั้นให้พิจารณาตามความอันตรายของพื้นที่ เช่นกรณีพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง ติดตั้งเครื่องดับเพลิง Rating 20B ระยะทางเข้าถึงตัวเครื่องดับเพลิงสูงสุดไม่เกิน 15 เมตร (คร่าวๆคือติดตั้งห่างกันไม่เกิน 30 เมตร)
คราวนี้มาลองดูตัวอย่างกันดีกว่า สมมติว่าอาคารหรือโรงงานของเรามีพื้นที่ 7,700 ตารางเมตร และจัดเป็นพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง มีการจัดเก็บวัสดุทั้งประเภท A และ B จะต้องจัดเตรียมเครื่องดับเพลิงจำนวนเท่าไหร่
จำนวนเครื่องดับเพลิงน้อยสุดที่จะต้องใช้ = 7,700/1,045 = 7.36 หรือ 8 เครื่อง
ตามตารางข้างต้นจะต้องเตรียมเครื่องดับเพลิงที่มี Rating อย่างน้อย 10A และ 20B (เลือกใช้ 20 B เพื่อว่าจะได้ติดตั้งห่างกันได้นิดนึง) ส่วนระยะในการติดตั้งนั้นถ้าจะให้ครอบคลุม ก็ให้ติดห่างกันประมาณ 30 เมตร ก็จะสอดคล้องกันครับ แต่พอติดตั้งในพื้นที่จริงๆแล้วระยะการเข้าถึงซึ่งวัดตามระยะการเข้าไปหยิบถังตามแนวทางเดินซึ่งอาจจะไม่ใช่แนวเส้นตรงเสมอไป เราอาจจะต้องเผื่อสำหรับการประเมินไว้อีกประมาณ 1.3-1.5 เท่า หรือต้องเตรียมไว้ 11 - 12 ถัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในการติดตั้งจริงจะต้องลงตำแหน่งในแบบแปลนจริงเพื่อจะได้กำหนดจำนวนที่เหมาะสมและถูกต้อง แล้วคราวนี้จะเลือกใช้เครื่องดับเพลิงหนักเท่าไหร่ สำหรับมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยของ วสท. ไม่ได้มีการระบุไว้ แต่ถ้าจะให้สอดคล้องกับกฎหมายก็ให้เลือกขั้นต่ำที่ 5 กิโลกรัม แต่ในความเห็นของผู้เขียนแล้ว ขนาดที่เหมาะสม สำหรับพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง ควรเลือกใช้ที่ 7 กิโลกรัม หรือ 15 ปอนด์ จะดีกว่า ซึ่งในประเด็นเรื่องขนาดน้ำหนักของเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสม ไว้วันหลังจะเอามาฝากนะครับ
(พอดีว่าไปอ่านเจอในคู่มือการจัดเก็บสินค้าอันตรายและสารอันตรายอย่างปลอดภัย ของ Thai-German Dangerous Goods Project (TG-DGP) ซึ่งในมาตรฐานสากลบางประเทศมีการนำขนาดน้ำหนักของเครื่องมือดับเพลิงมาคิดไว้ด้วย ดูแล้วน่าสนใจดี ไว้ติดตามอ่านกันได้นะครับ)
แล้วนำความรู้ดีๆ ใหม่q มาลงอีกนะครับ
ตอบลบขอบคุณครับ
mashimaro
อยากจะทราบเกี่ยวกับกฏมหาย กฏกระทรวง หรือข้อบังคับ ที่เกี่ยวกับการอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย ถังดับเพลิง และ smookdetector ว่าบ้านทาวเฮาต์ขนาดไหน ต้องมีถังดับเพลิงกี่ถัง ต้องมีsmookdetector หรือไม่ กี่ตัว จำเป็นต้องมีทุกห้องหรือไม่ ท่านใดพอจะทราบหรือมีแหล่งข้อมูลช่วยหน่อยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ
ตอบลบสำหรับกรณีบ้านทาวเฮ้า ให้ดูรายละเอียดกฎหมาย ในกฎกระทรวงฉบับที่ 39 (พ.ศ.2537) ในหมวดที่ 1 ซึ่งจะมีรายลเอียดระบุไว้ ทั้งถังดับเพลิงมือถือ และระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ส่วนเรื่องการติดตั้งนั้น แนะนำอย่างนี้นะครับ กฎหมายคือข้อกำหนดต่ำสุดที่ต้องทำ แต่เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์ ให้ติดตั้งตามมาตรฐาน วสท. จะดีกว่านะครับ ส่วนกฎกระทรวงฉบับที่ 39 ดูได้จาก Web Link ใน Blog ได้เลยครับ (กฎหมายด้านโยธาธิการและผังเมือง) หรือ
ตอบลบhttp://www.dpt.go.th/law/law_building/ministerial/page_1.html
Pramuk P.