วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

ว่าด้วยเรื่องประตูหนีไฟ

วันนี้มีเรื่องส่วนประกอบของเส้นทางหนีไฟมาฝากทุกๆคนครับ แต่ว่าคงไม่ได้พูดเรื่องทางหนีไฟต้องมีขนาดเท่าไหร่ บันไดต้องกว้างเท่าไหร่นะครับเพราะน่าจะทราบข้อมูลกันอยู่แล้วพอสมควร ว่าแล้วก้อเอาเรื่องประตูหนีไฟมาฝากเพื่อไว้เป็นข้อมูลกันดีกว่า เอ๊ะหรือว่าทราบกันหมดแล้ว ไม่เป็นไรครับลองอ่านดูนะครับ แต่ถ้าจะว่าไปแล้วส่วนประกอบของเส้นทางหนีไฟอย่างแรกที่เราจะต้องนึกถึงก่อนเลยก็คือประตูหนีไฟนี่แหละ แล้วถ้าเราจะต้องทำการปรับปรุงประตูหนีไฟเดิมที่มีอยู่ หรือว่าจะติดตั้งประตูใหม่เราต้องพิจารณาในรายละเอียดส่วนใดบ้างเพื่อที่จะได้ติดตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่กำหนด

ประเด็นแรก ขนาดประตูต้องมีขนาดเท่าไหร่

ถ้าจะพูดถึงกฎหมายจะพบว่ามีการพูดถึงขนาดของประตูหนีไฟอยู่หลายฉบับด้วยกัน ในแต่ละฉบับก็จะระบุขนาดที่แตกต่างกันไป เช่น กฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 47 (2540) ระบุว่าต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 cm. สูงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร ส่วนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 33 (2535) ระบุว่าต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 90 cm. สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร ยังไม่หมดแค่นี้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการฯ ระบุให้ช่องทางผ่านสู่ประตูทางออกสุดท้ายภายนอกอาคารต้องมีความกว้างอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 110 cm. และสำหรับมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) กำหนดให้ประตูที่อยู่ในเส้นทางหนีไฟต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 cm. แล้วคราวนี้เราจะใช้เท่าไหร่กันดีละ ก็ต้องบอกกันก่อนนะครับว่าแล้วแต่ความเหมาะสมจริงๆ ไม่ใช่ว่ากฎหมายเขียนมาเท่านี้ก็ต้องทำเท่านี้ เพราะการกำหนดขนาดของประตูหนีไฟแล้วตัวเลขที่กล่าวมาข้างต้นผมเรียกว่าตัวเลขขั้นต่ำที่กำหนดไว้จะเหมาะสมกว่าเพราะถ้าจะพิจารณาถึงขนาดของประตูหนีไฟให้ถี่ถ้วนแล้วคงต้องพิจารณาจากองค์ประกอบในด้านอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยไม่ว่าจะเป็นจำนวนเส้นทางหนีไฟทั้งหมดในพื้นที่ รวมถึงจำนวนคนที่เราต้องการจะอพยพออกจากพื้นที่อาคารด้วยว่ามีจำนวนคนเท่าไหร่ สำหรับในรายละเอียดทั้งหมดแล้วผมแนะนำให้หาอ่านจากมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ของวสท. เพราะจะได้รายละเอียดที่ครบถ้วน แต่ว่าถ้าอาคารของเราไม่พิเศษมากกันเกินไป คือเป็นอาคารที่ไม่ใช่อาคารชุมนุมคน อาคารโรงงานที่มีความเสี่ยงสูง หรืออาคารสถานพยาบาล ประตูขนาดกว้าง 90 cm. สูง 2.00 เมตร ก็สามารถอพยพคนออกจากพื้นที่ได้ประมาณ 180 คน (อ้างอิงตามหัวข้อ 3.2.2 ในมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย)
ก็น่าจะเหมาะครับสำหรับการพิจารณาในเบื้องต้น ซึ่งก็เป็นขนาดมาตรฐานที่มีขายกันตามท้องตลาด

ประเด็นที่สอง ส่วนประกอบของประตูหนีไฟ

(คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียด)

ลักษณะของประตูทนไฟที่เหมาะสมมีข้อพิจารณาต่างๆ ดังนี้
  • ทำจากเหล็ก ไม้ หรือวัสดุอื่นๆซึ่งมีแกนประตูเป็นฉนวนหรือวัสดุที่ช่วยให้มีอัตราการทนไฟตามต้องการ และผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ
  • ต้องติดตั้งอุปกรณ์ดึงปิดประตูได้เอง (Self-Closing Device)
  • ส่วนประกอบประตู รวมถึง วงกบ บานพับ อุปกรณ์ล็อคและอุปกรณ์ดึงปิดประตู ต้องเป็นวัสดุไม่ติดไฟและไม่ทำให้อัตราการทนไฟของประตูทนไฟลดลง
  • กรณีไม่มีธรณีประตูจะต้องมีช่องว่างระหว่างขอบประตูกับพื้นไม่มากกว่า 5 มิลลิเมตร และหากเป็นประตูที่ใช้เพื่อการป้องกันควันช่องว่างระหว่างขอบประตูกับวงกบต้องติดตั้งแถบกันควัน (Smoke Strip) ต้องมีช่องว่างระหว่างประตูกับวงกบไม่มากกว่า 3 มิลลิเมตร
  • สำหรับบันไดที่มีการอัดอากาศซึ่งต้องติดตั้งธรณีประตู ธรณีประตูต้องมีความสูงไม่เกิน 13 มิลลิเมตร และทั้งสองด้านต้องมีขอบที่มีความลาดเอียงอย่างน้อย 1:2 ยกเว้นธรณีประตูสูงน้อยกว่า 6 มิลลิเมตร
  • ช่องมองผ่านประตู ให้ทำด้วยกระจกเสริมลวดแต่ต้องมีขนาดพื้นที่ไม่เกิน 600 ตารางเซ็นติเมตรและไม่มีด้านหนึ่งด้านใดยาวเกินกว่า 40 เซ็นติเมตร
  • ประตูต้องผลักไปในทิศทางการหนีไฟ และเปิดกว้างได้ไม่น้อยกว่า 90 องศาและไม่กีดขวางเส้นทางอพยพ โดยความกว้างของบาร์ผลัก(Panic Hardware)ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างของบานประตู และให้ติดตั้งที่ระดับไม่ต่ำกว่า 80-120 เซ็นติเมตร วัดจากระดับพื้น
  • กรณีต้องการให้ประตูเปิดค้างต้องใช้อุปกรณ์ช่วยดึงประตูเปิดและปิดกลับโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • ประตูหนีไฟของอาคารสูงต้องสามารถเปิดย้อนกลับไปในทิศทางเดิมได้ (Re-Entry) อย่างน้อยทุกๆ 5 ชั้น

ประเด็นที่สาม อัตราการทนไฟของประตู


ให้พิจารณาเกณฑ์ในเบื้องต้น ดังนี้
  • ประตูต้องมีคุณสมบัติทนไฟโดยไม่มีการสูญเสียรูปทรงและไม่ส่งความร้อนสูงเกินไป ซึ่งปกติจะพบว่าภายในประตูจะบุฉนวนทนไฟทั่วทั้งบาน โดยฉนวนที่นิยมใช้ได้แก่ Rockwool (ฉนวนใยหิน) ซึ่งจะสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส
  • ประตูทนไฟต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่าอัตราการทนไฟของผนังที่ประตูทนไฟนั้นติดตั้ง ยกเว้นว่าจะกำหนดให้เป็นอย่างอื่น (สำหรับบางจุดที่ระบุไว้ในมาตรฐาน วสท.)
  • อัตราการทนไฟของประตูหนีไฟ กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ยกเว้นว่าจะกำหนดให้เป็นอย่างอื่น (สำหรับบางจุดที่ระบุไว้ในมาตรฐาน วสท.)
แต่ถ้าให้ดีก็เลือกใช้ที่อัตราการทนไฟ 2 ชั่วโมง รับรองว่าครอบคลุมแน่นอน

และที่สำคัญที่สุดสำหรับการเลือกประตูหนีไฟนะครับ คือต้องขอใบรับรองจากผู้ขายว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการทดสอบจากหน่วยงานหรือสถาบันที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ ซึ่งบ้านเราเท่าที่ทราบก็มีที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันนี้แค่นี้ก่อนนะคราบ..........

35 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ6/10/2553 2:23 หลังเที่ยง

    อยากทราบว่าในกรณีอาคารสูง ประตูหนีไฟต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถเปิดประตูจากด้านนอกหรือไม่ มีข้อกำหนดอย่างไร เพราะเคยไปติดที่ตึกนึงแถววิภาวดี ออกไปแล้วเข้าไม่ได้เลย ต้องเดินย้อนลงมาตั้งแต่ชั้น 17 ถึงชั้น 2

    ตอบลบ
  2. รายละเอียดตามข้างบนเลยครับ "ประตูหนีไฟของอาคารสูงต้องสามารถเปิดย้อนกลับไปในทิศทางเดิมได้ (Re-Entry) อย่างน้อยทุกๆ 5 ชั้น" คืออย่างน้อยต้องเปิดได้ในทุกๆ 5 ชั้น แ่ต่ถ้าเป็น NFPA ต้องเปิดได้ทุกชั้น

    แต่บ้านเราหลายที่จะกลัวเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งบางที่ก็เพิ่มเติมสวิตซ์แจ้งเตือนไว้แล้วส่งสัญญาณไปยังส่วนกลางให้ทราบ แต่ก็ต้องลงทุน

    เรื่อง Re-Entry นั้นจริงๆแล้วจะสัมพันธ์ กับหลายเรื่องในระบบดับเพลิง เนื่องจากจะเป็นช่องทางของพนักงานดับเพลิงที่จะเข้ามาระงับเหตุ โดยตามมาตรฐาน NFPA แล้วในบันไดหนีไฟจะต้องมีหัวจ่ายน้ำดับเพลิงสำหรับพนักงานดับเพลิง สำหรับใช้ในการดับเพลิง เพราะถ้าหวังใช้ตู้ฉีดน้ำดับเพลิงในพื้นที่คงยาก (ซึ่งมีให้เห็นเป็นตัวอย่างมาแล้วมากมายในอดีต) แต่ที่แปลกอย่างหนึ่งนะครับ ขนาดตึกใหม่ๆ ผู้ออกแบบยังเอาท่อยืนไว้นอกบันไดหนีไฟอยู่เลย

    ใครเจอท่อยืนในบันไดหนีไฟ ยังไงถ่ายรูปมาฝากกันบ้างนะครับ

    Pramuk P.

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ10/15/2553 4:07 หลังเที่ยง

    การวางสิ่งของต้องให้ห่างจากประตูหนีไฟเท่าไหร่ค่ะ

    ตอบลบ
  4. ก่อนอื่นขอโทษด้วยที่ตอบช้าไปครับ

    ขอตอบอย่างนี้นะครับ การวางของให้ห่างจากประตูหนีไฟควรวางห่างเท่าไหร่

    จากที่ทราบไม่มีมาตรฐานกล่าวไว้ชัดเจนนะครับ แต่ถ้าพิจารณาในส่วนของ

    ทางหนีไฟ และขนาดประตูแล้ว ผมแนะนำว่าห่างกันอย่างน้อยซัก 50 cm.

    ก็น่าจะโอเคอยู่นะครับ แต่ถ้าว่าไปแล้วอย่าไปวางใกล้ดีกว่าครับ

    เพราะยังไงเสีย มีโอกาสมาขวางแน่ๆ เพราะควบคุมยาก และต้องระลึกอยู่

    เสมอนะครับว่าทางไปสู่ทางหนีไฟ ต้องเข้าถึงได้ง่าย และมองเห็นชัดเจน

    อย่างไรเสียปรับตามความเหมาะสมของพื้นที่ครับ

    ประมุข

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ2/19/2554 11:56 ก่อนเที่ยง

    ที่บอกว่า"ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการฯ ระบุให้ช่องทางผ่านสู่ประตูทางออกสุดท้ายภายนอกอาคารต้องมีความกว้างอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 110 cm."

    สมมุติว่าผมมีอาคารเก็บสารเคมีเล็กๆ ด้านหน้าเป็นประตูเหล็กม้วน(ม้วนเก็บขึ้นด้านบน)เพื่อใช้สำหรับรถโฟล์คลิฟท์ขนถ่าย กับประตูคนเข้าอาคาร(ขนาดกว้างประมาณ 1เมตร)อยู่ติดกัน แต่ผมมีประตูทางออกฉุกเฉินที่ด้านข้างขนาดความกว้างประมาณ 1เมตรเช่นกัน

    ด้วยขนาดอาคาร กว้าง 5 เมตร ยาว 15 เมตร ผมจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดความประตูตามข้อกำหนดข้างต้นรึปล่าว (ไม่น้อยกว่า 1.1 เมตร)
    และถ้าต้องเปลี่ยน จะต้องเปลี่ยนทั้ง 2 บาน(ด้านหน้ากับด้านข้าง) หรือว่าแค่ประตูฉุกเฉินที่ด้านข้างบานเดียวก็พอ

    รบกวนขอคำแนะนำด่วนด้วยครับ

    ขอบคุณครับ
    มนัส

    ตอบลบ
  6. To คุณมนัส

    ขอเรียนอย่างนี้นะครับ ถ้าจะให้เป็นไปตามกฎหมาย ก็คงต้องเปลี่ยนประตูทั้งสองบาน แต่ถ้าดูตามความพื้นที่ และสมรรถนะของกานหนีไฟแล้ว ประตูขนาดความกว้าง 1.0 เมตร ก็เพียงพอครับ ซึ่งการแก้ไขก็อยู่ที่ดุลพินิจ แล้วครับ แต่ถ้ามี Auditor ไปตรวจ พบว่าประเด็นเหล่านี้ชี้แจงได้นะครับ


    ประมุข

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ3/05/2554 8:22 หลังเที่ยง

    คุณเจี๊ยบ
    ช่วยแนะนำทางออกด้วยค่ะ
    ประตูหนีไฟต้องเป็นชนิดที่เปิดเข้าออกได้ทั้งสองด้าน และปิดได้เอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ข้อ 11 หมายถึ
    ประตูต้องเปิดได้จากทางด้านนอก ใช่หรือไม่ค่ะ

    ตอบลบ
  8. สำหรับเรื่องประตูหนีไฟที่จะต้องสามารถเปิดได้ทั้งสองด้านนั้น ไม่ได้หมายความว่าต้องเปิดจากทางด้านนอกเข้ามาได้ เสมอไปครับ เพราะบางจุดก็จะไม่เหมาะสม เช่น อาคารคลังสินค้า และประตูสุดท้ายจากบันได้หนีไฟ เหล่านี้เป็นต้น แต่ประตูหนีไฟจะเป็นลักษณะบานสวิง ที่สามารถ เปิดได้ทั้งสองทิศทาง

    ในประเด็นนี้อาคารสูงจะเห็นชัดซึ่งมีการกำหนดให้สามารถเปิดประตูจากบันไดหนีไฟเข้าสู่ตัวอาคารได้ (Re-Entry) แต่ถ้าเป็นอาคารไม่สูง (ไม่เกิน 4 ชั้น) ก็อาจไม่จำเป็นต้อง Re-Entry

    ถ้ายังไม่ชัดเจนอย่างไร ก็แจ้งได้นะครับ

    Pramuk P.

    ปล. แล้วคุณเจี๊ยบ นี่ใครครับ 555

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ4/08/2554 8:51 ก่อนเที่ยง

    พี่ค่ะรับติดตั้งประตูทางหนีไฟในโรงงานอุตสาหกรรมไหมค่ะ ไซด์งานอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี แต่ต้องไปดูหน้างานเพื่อวัด SPEC ก่อน มีจำนวนทั้งหมด 3 ตึก ตึกละ 3 ชั้น ถ้าได้งานนี้ ทางบริษัทแอน จะให้ทางพี่เป็นผู้ติดตั้งพร้อมอุปกรณ์พี่เลย โดยเข้าในนามบริษัทแอน ถ้าลูกค้าโอเคเปิด Order มาให้ทางแอน ทางแอนก็จะเปิด Order ให้กับทางพี่อีกทีค่ะ สนใจติดต่อแอน 08-6334-6705,0-2916-0881-2

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ12/11/2555 7:06 หลังเที่ยง

    Re entry ของ อาคาร มีระบุไว้ในกฎหมาย หรือมาตรฐาน วสท ตรงไหนครับ แนะนำด้วย อยากมีไว้อ้างอิง ครับว่า บังคับ หรือ สมควร

    วิรัตน์

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เรื่องของ Re-Entry กำหนดไว้ในมาตรฐาน วสท.ไม่มีกฎหมายบังคับครับ

      โดยกำหนดว่าประตูบันไดหนีไฟของอาคารสูงจะต้องสามารถ Re-Entry ได้ในทุกๆ 5 ชั้น

      ดูใน วสท. หน้า 96 นะครับ

      ประมุข

      ลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ5/23/2556 3:22 หลังเที่ยง

    ขนาดอาคารกว้าง 25*75 เมตร ควรมีประตูหนีไฟกี่บานครับ
    ช่วยให้คำแนะนำหน่อยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าลักษณะอาคารไม่ซับซ้อน ก็ควรมีประตูหนีไฟ 3 จุด

      แต่ให้ถูกต้องแล้วจะต้องพิจารณาเพิ่มเติมจากแปลนด้วยนะครับ

      เช่น ระยะสัญจร เหล่านี้เป็นต้น

      ประมุข

      ลบ
  12. มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับประตูหนีไฟไหมคับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เท่าที่เคยหาข้อมูล ยังไม่ค่อยได้เห็นมากนักนะครับ

      ถ้าอย่างไรลองหาใน Google ดูนะครับ

      ลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ4/30/2557 12:56 หลังเที่ยง

    ประตูหนีไฟที่ถูกต้องแล้ว ต้องเป็นสีอะไรครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ตามาตรฐานเท่าที่อ่านเจอ ไม่ได้ระบุไว้ในเรื่องสีของประตูครับ

      ระบุเพียงว่า จะต้องแตกต่างจากส่วนของผนังประชิด

      ส่วนตัวแล้ว ผมมองว่าคงต้องดูพื้นที่ประกอบด้วยนะครับ

      และที่สำคัญอีกข้อในเรื่องของการสื่อสารกับพนักงาน อย่างเช่น

      อาคารคลังสินค้า ที่ติดสัญญาณ Alarm ในบริเวณประตูหนีไฟ

      สีแดงก็จะสื่อว่า ห้ามเปิดนะ ถ้าไม่ใช่ ฉุกเฉิน ลักษณะทำนองนี้ครับ ก็ลองพิจารณาดูนะครับ มองในหลายๆมิติ

      ประมุข

      ลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ6/25/2557 3:17 หลังเที่ยง

    ประตูหนีไฟสำหรับอาคารสูง สามารถใช้เปิดเข้า-ออกทั้งสองฝั่งตลอดเวลา เพื่อเป็นทางเดินขึ้นลงระหว่างชั้นได้หรือไม่ค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สำหรับมาตรฐาน วสท. กำหนดไว้นะครับ ว่าสำหรับอาคารสูงจะต้องสามารถเปิดประตูย้อนกลับเข้าสู่อาคารได้ (Re-Entry) อย่างน้อยทุกๆ 5 ชั้น ยกเว้นในส่วนของชั้นล่างหรือชั้นพื้นดิน ที่อาจไม่ปลอดภัยจากบุคคลภายนอก ให้ล็อคได้ แต่จะต้องสามารถเปิดได้จากภายใน

      (ขออ้างอิง มาตรฐาน วสท. นะครับ เพราะคนถามน่าจะมีปัญหาว่า
      อาจไม่สามารถเปิดได้ทุกประตู เดาเองนะครับ)

      ประมุข

      ลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ7/04/2558 10:27 ก่อนเที่ยง

    ธุรกิจบริการโรงแรมที่สร้างมาเมื่อปี 2533 จำเป็นต้องเปลี่ยนประตูทางออกหนีไฟเป็น ประตูทนไฟ หรือไม่ สามารถค้นข้อมูลได้จากไหนครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ต้องเปลี่ยนเป็นประตูทนไฟครับ โดยอ้างอิงตาม
      กฎกระทรวงหมาดไทย ฉบับที่ 47 และกฎกระทรวง กำหนด
      ประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม 2551 ครับ

      แต่ต้องดูรายละเอียด
      ประกอบด้วยนะครับว่าอาคารเป็นอาคารลักษณะใด
      (พื้นที่เท่าไหร่,สูงกี่ชั้น และจัดเป็นโรงแรมประเภทที่เท่าไหร่)

      ส่งเมล์มาหาผมก็ได้ครับ เดี๋ยว Mail กฎหมายไปให้ครับ

      ประมุข

      ลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ7/07/2558 8:38 ก่อนเที่ยง

    ที่สอบถามเรื่องธุรกิจบริการโรงแรมที่สร้างมาเมื่อปี 2533 จำเป็นต้องเปลี่ยนประตูทางออกหนีไฟเป็น ประตูทนไฟ หรือไม่ สามารถค้นข้อมูลได้จากไหนครับ Mail ของผมนะครับ acc_krisana@hotmail.com ครับ

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  17. ไม่ระบุชื่อ10/03/2558 3:50 หลังเที่ยง

    ประตูกันไฟของ FIREMAN LIFT ที่ใช้เป็น SERVICE LIFT สำหรับคอนโดนั้น มีข้อกำหนดหรือไม่ครับ ว่าจะต้องใช้อุปกรณ์เป็น PANIC BAR

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าเท่าที่ทราบนะครับ ไม่ได้ระบุไว้นะครับ แต่ถ้าเป็น Panic Bar ก็จะดีกว่าครับ

      ประมุข

      ลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ2/20/2559 11:29 ก่อนเที่ยง

    สอบถามหน่อยคะ คือบริษัท มี 2 ชั้น จำเป็นต้องทำประตูหนีไฟและบันไดหนีไฟเพิ่มไหมคะ
    ตอนนี้บริษัทใช้ประตูโหลด ซึ่งเป็นประตูสำหรับส่งสินค้าเข้าคลัง สูงประมาณ 70 เมตร เป็นทางออกหนีไฟ ลักษณะประตูต้องเปิดแบบเลื่อนขึ้นบน ไม่ทราบว่าจะเป็นประตูหนีไฟได้ไหมคะ ช่วยแนะนำทีคะ .ขอบคุณคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 1. ตามกฏหมายไม่จำเป็นต้องมีบันได้หนีไฟ และประตูหนีไฟ (กรณีไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ)

      2. ประตูโหลดไม่แนะนำนะครับ เพราะเป็นเส้นทางที่มีรถเข้าออกตลอดเวลา คงต้องดู Layout ประกอบด้วยนะครับ ผมแนะให้เป็นประตูหนีไฟ อยู่ข้างๆ ประตูโหลด นะครับ

      ประมุข

      ลบ
  19. ขอสอบถามค่ะ ประตูหนีไฟอาคารโรงงานสูง2ชั้น ต้องมีขนาดความกว้างเท่าไหร่ค่ะ เป็นอาคารผลิตค่ะ ตอนนี้ดูกฟฏหมายหลายตัวสับสนมากค่ะ อยากหาข้อสรุป เพราะอาคารลรเางใกล้จะเสร็จแล้ว

    ตอบลบ
  20. ปกติแล้วถ้าเจอกฎหมายเรื่องเดียวที่แตกต่างกัน ให้ยึดตามกฎหมายที่เข้มกว่าไว้ก่อนนะครับ

    จากข้อมูลแล้วอาคารไม่สูง ตามกฎหมายแล้วกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 80 เซ็นติเมตร (กท.47) เดิมกำหนดไว้ในกฎกระทรวงแรงงาน แต่ฉบับใหม่ 2555 ในส่วนความกว้างไม่ได้กำหนดไว้

    แต่ถ้าแนะนำนะครับ ให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 90 cm.

    ประมุข

    ตอบลบ
  21. วงกบเหล็กหรือที่ทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 30 นาทีควรเป็นอย่างไรคะ ทำด้วยelectro gavanized 1 mM ได้ไหมคะ

    ตอบลบ
  22. ทำสีด้วยสีผงอบ Polyester Powder Coating ของ Jotan สำเร็จรูปจากโรงงาน ชนิดไม่ลามไฟ ไม่เป็นเชื้อ ทนต่อการขีดข่วน จะช่วยให้ทนไฟถึง30นาทีได้ไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ ไม่เชี่ยวชาญครับเรื่องนี้

      ประมุข

      ลบ
  23. ถ้ายกพื้นภายในอาคารสูงกว่าระดับพื้นประตูหนีไฟ ต้องทำทางลาดไปหาประตูหนีไฟ หรือสามารถทำเป็นสเตปหน้าประตูหนีไฟได้ครับ และต้องเว้นระยะอย่างไรบ้าง
    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  24. ไม่ระบุชื่อ4/05/2566 10:57 ก่อนเที่ยง

    ประตูหนีไฟ fireman life ในอ๊อฟฟิต ทำงาน นี่ประตูเปิดเข้า หรือเปิดออก เข้าในตัวลิฟท์ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ4/06/2566 12:56 หลังเที่ยง

      ไม่เห็นแปลนนะครับ แต่ตอบอย่างนี้แล้วกัน บานประตูให้เปิดไปในทิศทางของการหนีไฟ ถ้าตามมาตรฐาน อาจดูจาก NFPA 5000 เพิ่มเติมได้ครับ แต่ต้องบอกว่าบ้าน ส่วนมากไม่ได้ก็ไม่ได้ยึดตาม CODE ที่ระบุเกี่ยวกับ Fireman Lift อยากให้คิด แบบนี้ครับ ช่วงเวลามันจะเกิดต่างกัน คนที่อยู่ในชั้น พนักงานดับเพลิง หรือกฎพื้นฐาน (ห้ามใช้ลิฟท์ในกรณีเกิดเพลิงไหม้) ประมาณนี้ครับ

      ลบ