เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาทางกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกระทรวงฉบับหนึ่งมาเรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ.2552 และจากที่อ่านดูแล้วจะว่าไปผมว่าเกือบทุกโรงงานคงต้องทำเลยแหละ (ถ้าใครมีความเห็นอย่างไรก้อโพสต์มาคุยกันนะครับ) โดยวันนี้จะขอยกในประเด็นสำคัญสำหรับกรณีโรงงานที่เปิดดำเนินการอยู่ ว่าจะต้องมีอะไรเพิ่มเติมกันบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับตัวกฎหมายที่ออกมาใหม่ เอาเป็นทีละประเด็นแล้วกัน
1. ภายในตัวอาคารโรงงานจะต้องจัดให้มีอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้ครอบคลุมทั่วทั้งอาคารตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งรายละเอียดในข้อนี้เจตนารมย์ของกฎหมายคือโรงงานที่อยู่ในข่ายที่กฎหมายนี้บังคับใช้จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันหรือตรวจจับความร้อน รวมถึงอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ ซึ่งการเลือกใช้และการติดตั้งก็ให้เป็นไปตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) มาตรฐานบ้านเราก็สากลนะครับเพราะสอดคล้องกับมาตรฐาน NFPA ใครอ่านข้อกฎหมายในหมวดนี้แล้วเห็นว่าอย่างไรก็แชร์กันได้นะครับ
2. โรงงานจะต้องจัดเตรียมเครื่องดับเพลิงมือถือ ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 4.5 กิโลกรัม ส่วนการเลือกชนิดของเครื่องดับเพลิงก็ให้เหมาะสมกับประเภทของเชื้อเพลิงของแต่ละโรงงานนะครับ นอกจากนั้นระยะการติดตั้งจะต้องห่างกันไม่เกิน 20 เมตร และความสูงวัดจากส่วนบนสุดไม่เกิน 1.50 เมตร สำหรับข้อนี้ผมว่าแต่ละที่คงไม่น่าจะมีปัญหา
3. โรงงานจะต้องจัดเตรียมน้ำสำหรับดับเพลิงในปริมาณที่เพียงพอที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ฉีดน้ำดับเพลิงต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 30 นาที โดยการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ สำหรับข้อนี้นะครับผมอึดอัดเล็กน้อยเพราะว่าถ้าฟันธงว่าให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและถังสำรองน้ำดับเพลิง ก็อาจจะมีข้อโต้แย้งกันได้ เอาเป็นว่าผมจะสอบถามไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบดูว่าข้อนี้เอายังไง แต่เบื้องต้นสำหรับโรงงานที่ไม่มีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงนะครับ อย่างน้อยๆ ก็ต้องเตรียมถังสำรองน้ำดับเพลิงและหัวรับน้ำดับเพลิง ส่วนระบบจ่ายน้ำดับเพลิงจะเป็นอย่างไร แล้วจะมาบอกกันอีกทีนะครับว่าจะต้องติดให้เป็นไปตามมาตรฐาน NFPA เลยหรือเปล่า หรือว่าจะเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงขนาดเล็กก็เพียงพอสำหรับโรงงานที่อันตรายปานกลาง รวมถึงจะต้องติดตั้งตู้ฉีดน้ำดับเพลิงหรือหัวฉีดน้ำดับเพลิงในลักษณะใด
4. โรงงานที่มีสถานที่จัดเก็บวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นวัตถุที่ติดไฟได้ ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร และสถานที่จัดเก็บวัตถุไวไฟ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 14 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่นระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง (Sprinkler System) สำหรับโรงงานไหนที่มีคลังสินค้า หรือที่จัดเก็บวัตถุไวไฟ ตามรายละเอียดข้างต้น ยังไงก็ต้องมีเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
สำหรับโรงงานเก่าก็มีคร่าวๆ ประมาณนี้สำหรับรายละเอียดทั้งหมดลองอ่านดูนะครับ เกือบลืมอีกอย่างกฎหมายฉบับนี้ระบุว่าให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีคับใช้ ซึ่งก็หมายถึงว่าโรงงานก็จะต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2555
สำหรับใครที่จะติดตั้งระบบเพิ่มเติมก้อเมล์มาปรึกษาได้นะครับ ไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ ขอเป็นข้าวซักมื้อแล้วกัน 5555
ขอบคุณนะคะ กำลังประเมินความสอดคล้องกม. ฉบับนี้อยู่พอดีเลยค่ะ
ตอบลบสำหรับโรงงานเก่าก็ต้องปฏิบัติตามรายละเอียดทุกข้อในกฎหมายฉบับนี้นะครับ
ตอบลบสำหรับแนวทางการบังคับใช้กฎหมายก็คงต้องดูอีกที เพราะความเห็นส่วนตัว
แล้วมีบางเรื่องที่ค่อนข้างทำยาก เช่น โครงสร้างหลังคา ที่ต้องทนไฟ
ประมุข
ขอบคุณมากค่ะ กำลังจะดำเนินการอยู่เลย
ตอบลบสอบถามได้ไหมค่ะพอดีที่โรงงานทำบ่อsbr แต่พึ่งพบความผิดปกติวันนี้คือปกติเวลาพักน้ำน้ำจะใสเห็นตะกอนสลัดจ์แต่วันนี้น้ำมีลักษณะขุ่นมองไม่เห็นตะกอนและมีตะกอนลอยผิวน้ำเล็กน้อยเกิดจากอะไรค่ะรบกวนด้วยค่ะ
ตอบลบสอบถามได้ไหมค่ะพอดีที่โรงงานทำบ่อsbr แต่พึ่งพบความผิดปกติวันนี้คือปกติเวลาพักน้ำน้ำจะใสเห็นตะกอนสลัดจ์แต่วันนี้น้ำมีลักษณะขุ่นมองไม่เห็นตะกอนและมีตะกอนลอยผิวน้ำเล็กน้อยเกิดจากอะไรค่ะรบกวนด้วยค่ะ
ตอบลบข้อมูลน้อยไปหน่อยนะครับ แต่ไม่ทราบว่าเอาตะกอนออกไปทิ้งบ้างไหมครับ ถ้าไงเอาตะกอนไปทิ้งโดยให้สัมพันธ์กับเชื้อในบ่อดูนะครับ หรือถ้า BOD ยังสูง (น้ำขุ่น) ก็อาจเพิ่มระยะเวลาการเติมอากาศ
ลบประมุข
มีการนำตะกอนไปทิ้งตลอดค่ะ F/M อยู่ประมาณ 0.2
ตอบลบทำV30 ได้ 830 แทบจะไม่ตกตะกอนเลย ss ประมาณ 4000 ค่ะ จะลองเพิ่มเวลาการเติมอากาศตามคำแนะนำค่ะ ขอบคุณนะค่ะสำหรับคำแนะนำ
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ