วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
อุปกรณ์ตรวจจับแก๊สรั่ว สำหรับ LPG Gas Station
ตามประกาศกระทรวงพลังงาน "เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 สำหรับสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ พ.ศ. 2554"
กำหนดให้สถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่มีปริมาณการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวรวมกันเกิน 500 กิโลกรัม ต้องติดตั้งเครื่องส่งเสียงดังเมื่อก๊าซรั่วไว้ที่บริเวณที่ตั้งก๊าซหุงต้ม หรือถังเก็บและจ่ายก๊าซ อย่างน้อยบริเวณละหนึ่งเครื่อง
วันนี้เลยขอหยิบยกเรื่องการตั้งค่าการแจ้งเตือนของอุปกรณ์ตรวจจับแก๊สรั่ว (Gas Leak Detector) ฝากกัน เพราะที่ผ่านมา จากประสบการณ์ที่ตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าว พบว่า การตั้งค่าระดับการแจ้งเตือนยังไม่สอดคล้องกับคุณสมบัติของ LPG Gas ซึ่งพบอยู่หลายที่เลย
สำหรับค่าขีดจำกัดการติดไฟ ของ LPG จะมีค่าอยู่ระหว่า 2-12 Vol% ดังนั้นการตั้งค่าการแจ้งเตือนของ Gas Detector จะต้องตั้งไว้ในช่วงดังกล่าว (แต่ถ้าดูใน MSDS ของ ปตท. ค่าจะอยู่ระหว่าง 2-9 Vol%)
เพราะปริมาณก๊าซที่รั่วไหล ถ้ามากหรือน้อยกว่าช่วง นี้แล้ว ก็จะไม่เกิดการระเบิด
ก็ลองตรวจเช็คกันดูนะครับว่าอาคารของเราตั้งค่ากันถูกหรือเปล่า และสำหรับการตรวจวัดใช้ก๊าซของไฟแช็คก็พอได้นะครับ แต่ถ้าจะใช้แก๊สจริงๆ ปล่อยออกมาเลยก็ต้องระวังด้วยนะครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เสริมอีกนิดครับ เรื่องอุปกรณ์ตรวจจับ ที่พบส่วนใหญ่จะติดตั้งไม่ถูกตามมาตรฐาน โดยเฉพาะเรื่องความสูงของอุปกรณ์ตรวจจับจากระดับพื้นครับ
ตอบลบกรณีก๊าซไวไฟหนักกว่าอากาศ ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับสูงจากพื้นไม่เกิน 30 cm. ครับ ยิ่งติดสูงเท่าใหร่ ก๊าซจะยิ่งสะสมปริมาณมาก ตรวจจับได้ช้าหรืออาจตรวจจับไม่ได้เลยครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ ตอนนี้กำลังรวบรวมเรื่องการ Calibrate อุปกรณ์ตรวจจับ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมก็แชร์กันบ้างนะครับ ทางเมล์ก็ได้นะครับ จะได้นำมาลงใน Blog
ลบประมุข
ถ้าติดตั้งเสร็จแล้ว..อุปกรณ์ตรวจจับแก๊สรั่วทำงานจะส่งสัญญาณไปที่่ตู้ควบคุม เป็นกระแสไฟเท่าไหร่ครับ
ตอบลบไม่แน่ใจนะครับแต่ปกติ สัญญาณ Output จะเป็นสัญญาณ 4-20 mA.
ลบ