วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554
พื้นที่ครอบครองสำหรับการออกแบบ Sprinkler
ตั้งใจจะเขียนบทความเรื่องใหม่มาหลายวันแล้ว แต่ช่วงนี้วุ่นๆ กับเรื่องคอนโดฯ ที่เพิ่งไหม้มาไม่กี่วันนี้ ก็พยายามสืบหาข้อมูลเท่าที่จะหาได้ โชคดีได้ไปดูที่เกิดเหตุ แต่อย่างไรขอรอผลสรุปจากหน่วยงานราชการก่อนดีกว่า ช่วงนี้ไม่ค่อยอยากออกความเห็นอะไร บอกตรงๆ นะครับว่าสงสัยอยู่สองสามเรื่อง แต่คิดว่าได้คำตอบแล้ว เหลือแค่ให้ผู้เชี่ยวชาญดูให้ว่าผมสัณนิษฐานถูกไหม วันนี้เลยหาอะไรมาคั่นก่อน เอาเรื่องพื้นๆนี่แหละครับแต่ก็ถือว่าเป็น โจทย์แรกเลยสำหรับผู้ออกแบบระบบ Sprinkler นั่นคือประเภทของพื้นที่ครอบครอง
พื้นที่ครอบครอง หมายถึง การกำหนดประเภทของพื้นที่ ที่มีลักษณะการใช้งานคล้ายคลึงกันและมีความเสี่ยงในการติดไฟและลามไฟใกล้เคียงกัน เพื่อความมุ่งหมายในการจัดระบบป้องกันอัคคีภัยตามมาตรฐานที่กำหนด
โดยพื้นที่ครอบครองจัดจำแนกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. พื้นที่ครอบครองอันตรายน้อย (Light Hazard Occupancies)
2. พื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง (Ordinary Hazard Occupancies)
3. พื้นที่ครอบครองอันตรายมาก (Extra Hazard Occupancies)
ซึ่งในแต่ละประเภทการกำหนดจำนวนหัว Sprinkler ก็จะแตกต่างกันออกไป คงไม่ลงในรายละเอียดนะครับ
แต่ให้รู้เบื้องต้นว่าถ้าพื้นที่ไหนอันตรายมาก จำนวนหัว Sprinkler ก็จะต้องติดตั้งมากขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้เพื่อควบคุมไฟที่เกิดขึ้น ต้องย้ำนะครับว่า Sprinkler ทั่วไปที่ติดตั้งอยู่ ไม่ใช่ว่าเมื่อหัว Sprinkler ทำงานจะดับไฟได้เลย (ยกเว้น Sprinkler ชนิดพิเศษที่ทำหน้าที่ในการดับไฟ) แต่ว่า Sprinkler จะทำหน้าที่ควบคุมความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ โดยอุณหภูมิจะค่อยๆลดลงจนกระทั่งไฟดับ เป็นการตัดวงจรของการเกิดไฟไหม้ ดังนั้นการติดตั้งหัว Sprinkler จะต้องคำนึงถึงจำนวนที่ครอบคลุม พื้นที่ป้องกัน ไม่อย่างนั้นก็อาจจะควบคุมไฟที่เกิดไม่ได้
ตามมาตรฐานแล้วจะมีการระบุตัวอย่างลักษณะของอาคาร ว่าจัดจำแนกอยู่ในประเภทพื้นที่ครอบครองอะไร เช่น พื้นที่ครอบครองอันตรายน้อย ได้แก่
โรงแรม, อาคารที่พักอาศัยรวม (เฉพาะส่วนห้องพัก), สำนักงานทั่วไป ที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่, สโมสร, โรงพยาบาล (ควบคุมวัสดุตามมาตรฐานโรงพยาบาล)
สำหรับหลายๆคนอาจสงสัยว่าถ้า อาคารเป็นคอนโดมิเนียม ห้องพักห้องหนึ่งมีพื้นที่ประมาณ 300 ตารางเมตรละ ยังถือว่าเป็นพื้นที่ครอบครองอันตรายน้อยหรือเปล่า
สำหรับประเด็นนี้ ตามที่ได้มีโอกาศตรวจคอนโด มาหลายตึก พบว่าถ้ายิ่งห้องใหญ่วัสดุติดไฟเยอะมากครับ สารพัดเลยก็ว่าได้ ผมจึงมองว่า ถ้าให้ Safe นะครับ ผู้ออกแบบ ออกแบบเป็นพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลางก็น่าจะเหมาะสมกว่าในกรณีนี้ (ถ้าใครมองต่างออกไปก็ ลองเสนอความเห็นดูนะครับ)
สั้นๆครับวันนี้ แต่มีคลิปมาฝากกัน ผมไปโหลดมาจาก Youtube เป็นเหตุการณ์ไฟไหม้อาคารหลังหนึ่งซึ่ง อาคารหลังดังกล่าวมีระบบ Sprinkler และผมก็เชื่อว่า Sprinkler ทำงานแน่นอนครับ เพราะระบบท่อน้ำดับเพลิงเชื่อมต่อกับถังน้ำประปาในชั้นหลังคา ซึ่งมีแรงดันเพียงพอกับการทำงานของ Sprinkler แต่ถ้าดูจากคลิปแล้ว มันดูเหมือนว่าระบบจะควบคุมไฟที่เกิดไม่ได้ (เอาไว้ได้ความชัดเจนแล้วจะเขียนบทความภาคต่อของเรื่องนี้แล้วกันนะครับ) แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งความเสียหายที่เกิด เกิดขึ้นในวงจำกัดเฉพาะห้องต้นเพลิง ซึ่งถ้าไม่มี Sprinkler ผมว่าความรุนแรงที่เกิดน่าจะมีมากกว่าที่เห็น หรือว่า Sprinkler มันได้ทำหน้าที่ของมันแล้ว ลองเอาไปคิดดูนะครับ ถ้าว่างจะลองทำ Model ดูเสียหน่อย ไว้เจอกันเรื่องหน้านะครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อาคารนี้ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเป็นชนิดมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อตัดไฟทำให้ระบบส่งน้ำดับเพลิงไม่ทำงาน และภายในห้องมีการเก็บเชื้อเพลิงเกินกว่าการออกแบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงพื้นที่ครอบครองอันตรายน้อยจะรับได้
ตอบลบ"อาคารนี้ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเป็นชนิดมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อตัดไฟทำให้ระบบส่งน้ำดับเพลิงไม่ทำงาน"
ตอบลบขอความรู้ด้วยนะครับตามข้างต้นว่า
ที่บอกว่าระบบส่งน้ำดับเพลิงไม่ทำงาน นี้หมายถึงระบบทุกระบบหรือครับรวมถึง Sprinkler ด้วยหรือเปล่า แล้วเขาตัดไฟหลังจากที่เกิดเพลิงไหม้แล้วกี่นาที ถ้าสมมติบอกว่าตัดทันที แล้วแรงดันจากถังน้ำดาดฟ้า ที่จ่ายให้ระบบท่อน้ำดับเพลิง เป็นอย่างไรครับ
แต่ถ้าตัดไฟไม่ทันที Sprinkler ทำงานเป็นอย่างไร แล้วถังน้ำดับเพลิงมีปริมาณน้ำสำรองเท่าไหร่ครับ เพราะ
สมมติว่า ถ้าในกรณีที่เครื่องสูบน้ำทำงานได้ตามปกติ เช่น เป็นชนิดขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ถ้าน้ำในถังหมด แล้วระบบจะทำงานอย่างไร
สุดท้ายมีการใช้งานหัวรับน้ำดับเพลิงไหมครับ หรือว่าติดไว้แค่มีไว้ตามที่กฎหมายบอก
สุดท้ายถ้าอาคารเก่าหรืออาคารที่ก่อสร้างใหม่ ไม่มีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงละจะมีความปลอดภัยแค่ไหน แล้วสามารถปรับปรุงอะไรได้บ้าง
เพราะตอนนี้อาคารที่ขออนุญาตเลี่ยงเป็นอาคารสูงเยอะมากครับ
ดูแล้วเหนื่อยความสูงรวม 22.95 เมตร
อยากได้ความเห็นของคนวงในเพื่อเป็นความรู้แล้วแบ่งปันให้เพื่อนๆทราบ
นะครับ
แต่ถ้าเป็นในปัจจุบันนี้ ยิ่งถ้าอาคารที่ต้องยื่น EIA คำถามที่ข้างต้นก็จะต้องมีคำตอบให้กับคณะกรรมการพิจารณา EIA ถ้าอย่างไรรบกวนด้วยนะครับ เผื่อว่าประชุมงาน EIA รอบหน้า จะได้มีแนวคิด
ดีๆ ตอบกรรมการ หรือผู้เกี่ยวข้องได้
ขอบคุณครับ
ประมุข
จากคำถามข้างต้น ผมจึงคิดว่าจะเขียนบทความใหม่ซักเรื่องเกี่ยวกับการเลือกใช้ชนิดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง เพราะถ้าใครอยู่ในวงการออกแบบจะรู้ว่าระบบดับเพลิงในฝันของผู้ออกแบบ คือมีทั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงทั้งแบบใช้ไฟฟ้า และดีเซล ต่อพ่วงกัน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ทำไมไม่ใช้เครื่องสูบน้ำแบบ Diesel Fire Pump เพียงอย่างเดียวละ
ตอบลบแต่ตอนนี้เจองบประมาณจั่วหัวตลอด คนออกแบบก็ต้องปรับตาม
ไม่รู้เคยได้ยินกันไหม ผมแก้ตามคุณ ผมเปลี่ยนผู้ออกแบบใหม่
จะประหยัดกว่าอีก 555
อาคารนี้ต้องบอกว่าไม่สามารถเปิดเผยความเห็นส่วนตัวได้ครับ เพราะไม่สอดคล้องกับสรุปผลการสอบสวนของ จนท. ครับ
ตอบลบ(มีความเห็นตรงกับคุณประมุขเรื่อง fire load ของที่เกิดเหตุครับ ที่เหลือต้องหลังไมค์)
หมายเหตุ ในมาตรฐานไม่ได้กำหนดให้ roof tank ทำหน้าที่จ่ายน้ำดับเพลิงครับ (ยกเว้นกรณีอาคารที่ระดับความสูงแตกต่างกันมากพอ และออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่นอาคารไทยวา 2 ต่อระบบส่งน้ำดับเพลิงแบบผสมระหว่างถังเก็บหอสูงและเครื่องสูบน้ำดับเพลิง แต่ไม่ได้ต่อให้จ่ายในระดับเดียวกัน) แต่ที่ต่อท่อจาก roof tank เข้าระบบท่อยืนและติดตั้งวาล์วกันกลับ และวาล์วระบายลม เพื่อรักษาให้ภายในท่อยืนมีน้ำเต็มตลอดเวลาไม่เป็นโพรงอากาศครับ
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล ขอเพิ่มเติมนิดนะครับ
ลบปัจจุบันถ้าอาคารที่ต้องยื่น EIA จะต้องต่อท่อยืนของระบบดับเพลิง เข้ากับ Roof Tank ของระบบประปา เสมอถึงแม้อาคารจะกำหนดให้ต้องมีเครื่องสูบน้ำดับเพลิง หรือไม่ก็ตาม
ประมุข
อยากทราบเหมือนกันครับว่า สุดท้ายเขาสรุปว่าอย่างไรกัน
ตอบลบเมล์มาคุยได้เลยนะครับ
ขอบคุณครับ
ประมุข