ในช่วงปีนี้ถือว่ากระแสของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างจะได้รับความสนใจค่อนข้างมากทีเดียวส่วนหนึ่งคงมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอีกครั้งและปัญหาของภาวะโลกร้อนที่หลายฝ่ายวิตกกังวลกัน รวมถึงภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญด้านการใช้พลังงานและใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น อันจะสังเกตได้จากในปีที่ผ่านมามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องออกมาในหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นกฎกระทรวงพลังงานในเรื่องการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งอาคารหากมีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 7 ประเภทอาคารจะต้องออกแบบโดยพิจารณาในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานด้วย (สำหรับรายละเอียดสามารถเข้าไปดูได้ที่ กฎกระทรวงในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน) รวมถึงประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการปรับปรุงในรายละเอียดของโครงการบางโครงการ เช่น อาคารประเภทโรงแรม เดิมกำหนดให้โรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไปต้องจัดทำรายงานฯ แต่ในประกาศกระทรวงฉบับนี้ได้เพิ่มเงื่อนไขโดยถ้าโรงแรมมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไปก็จะต้องจัดทำรายงานฯ ด้วยเช่นกัน ซึ่งประกาศกระทรวงฉบับนี้ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เหล่านี้เป็นต้น และนอกจากนี้เมื่อต้นปี วิศวกรรมกรรมสถานแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามได้ร่วมกันจัดตั้งสถาบันอาคารเขียวและได้ทำหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวซึ่งปัจจุบันยังเป็นฉบับร่างอยู่ ก็เลยถือโอกาสนำหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินมาเล่าสู่กันฟังพอสังเขป ดังนี้
สำหรับหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวนั้นเบื้องต้นเราใช้ต้นแบบมาจาก LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์อาคารเขียวของสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา,กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และกรมควบคุมมลพิษ
โดยเกณฑ์ในการประเมินนั้นจะมองตั้งแต่การออกแบบในตอนเริ่มโครงการและตลอดช่วงของการก่อสร้าง ซึ่งจะพิจารณาในรายละเอียดต่างๆตั้งแต่การเลือกพื้นที่ก่อสร้าง การเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง ประสิทธิภาพของการใช้น้ำ พลังงานและบรรยากาศโดยรอบ การเลือกวัสดุและแหล่งที่มา รวมไปจนถึงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมภายในอาคารและการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการประเมิน 8 หมวดด้วยกันคือ
หมวดที่ 1 การบริหารจัดการอาคาร (Building Management)
หมวดที่ 2 ผังบริเวณและภูมิทัศน์ (Site and Landscape)
หมวดที่ 3 การอนุรักษ์น้ำ (Water Conservation)
หมวดที่ 4 การใช้พลังงานและบรรยากาศ (Energy and Atmosphere)
หมวดที่ 5 วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง (Material and Resources)
หมวดที่ 6 คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร
(Indoor Environmental Quality)
หมวดที่ 7 การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection)
หมวดที่ 8 นวัตกรรม (Green Innovation)
ซึ่งในแต่ละหมวดหมู่จะมีหัวข้อแยกย่อยออกไปและมีคะแนนให้ตามแต่ละหัวข้อ สำหรับระดับคะแนนที่อาคารจะขอรับการรับรองนั้นตามร่างที่ได้มายังไม่เห็นระบุไว้นะครับคงต้องติดตามกันต่อไป (สำหรับเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว (ร่าง) โหลดดูจากหน้า Blog ได้เลยครับ) แต่คิดว่าน่าจะมีระดับคะแนนแล้วระบุขั้นว่าเป็นขั้นไหน เช่น ระดับ Silver, Gold หรือ Platinum อะไรทำนองนี้
หวังว่าในอนาคตเราคงได้เห็นอาคารเขียวเกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน แต่ทั้งนี้คงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ถ้าผู้ประกอบการภาคเอกชนทำดีภาครัฐก็ควรให้การสนับสนุนเพื่อที่ว่าจะได้มีแรงจูงใจในการปฏิบัติ วันนี้ผมเลยขอนำรูปอาคารบางอาคารที่ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมสีเขียวดีเด่น ASA Green Award 2009 ซึ่งประกาศผลไปเมื่อไม่นานมานี้ มาฝากกันให้ชมเพื่อเป็นการเรียกน้ำย่อยกันหน่อย สำหรับจุดเด่นของอาคารที่ได้รับรางวัลทั้งหมดในครั้งนี้สามารถดูได้จากเวปไซด์ของสมาคมสถาปนิกสยาม http://www.asa.or.th/?q=node/99809 นะครับ แล้วพบกันใหม่ตอนต่อไป
วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การกำหนดจำนวนถังดับเพลิงมือถือสำหรับคลังสินค้า
ต่อจากความเดิมคราวที่แล้ว ที่บอกว่าจะเขียนเรื่องการกำหนดจำนวนถังดับเพลิงมือถือสำหรับคลังสินค้านั้นต้องบอกก่อนนะครับว่าผม อ้างอิงจาก Thai-German Dangerous Goods Project (TG-DGP) ในเรื่องคู่มือการจัดเก็บสินค้าอันตรายและสารอันตรายอย่างปลอดภัย เข้าใจว่าน่าจะเป็นมาตรฐานของทางเยอรมัน แต่ก่อนที่เข้าเรื่องการกำหนดจำนวนถังดับเพลิง อันดับแรกคงต้องทำความเข้าใจเรื่องระดับความเสี่ยงของพื้นที่ก่อนนะครับ โดยระดับความเสี่ยงหรือความอันตรายของพื้นที่ในการเกิดเพลิงไหม้ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือระดับความเสี่ยงน้อย ระดับความเสี่ยงปานกลาง และระดับความเสี่ยงสูง โดยการจำแนกระดับความเสี่ยงว่าคลังสินค้าของเรามีระดับความเสี่ยงเป็นอย่างไรนั้นให้พิจารณาตามวัสดุที่เราเก็บว่าเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการติดไฟได้ยากง่ายแค่ไหน รวมทั้งให้พิจารณาจากสภาพในการทำงานว่ามีกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดการลุกติดไฟหรือไม่ในพื้นที่ แต่เพื่อไม่ให้งง ก็เลยมีตารางการกำหนดความเสี่ยง ดังนี้ครับ
คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียด
โดยเมื่อพิจารณาตามสารที่จัดเก็บผลคูณของตัวคูณที่ 1 (ค่าคงที่ 1) กับตัวคูณที่ 2 (ค่าคงที่ 2) จะระบุถึงระดับความเสี่ยงในการเก็บสารเคมีการคำนวณจะต้องคำนวณทีละรายการและนำมารวมกัน โดยจากตารางจะเห็นว่ารายการที่จะนำมาคิดนั้น คือ สารอันตรายที่มีการจัดเก็บไว้ (ผมเรียกว่าตัวหลักดีกว่าแล้วกัน) บรรจุภัณฑ์ที่มีการเก็บ รวมถึงวัสดุอื่นๆที่มีการจัดเก็บร่วมกัน ผลรวมของตัวเลขจะระบุถึงความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ของคลังสินค้านั้น ยกตัวอย่าง
สมมติว่าในคลังสินค้ามีการเก็บสารอันตรายที่เป็นสารไวไฟ มีบรรจุภัณฑ์เปล่าซึ่งผ่านการทำความสะอาดโดยมีสารไม่ไวไฟหลงเหลืออยู่และมีวัสดุอื่นที่ไม่ไวไฟเก็บอยู่ด้วย เราสามารถคำนวณได้ดังนี้
สารตัวหลักเป็นสารไวไฟ เกณฑ์เป็น R2 (ค่าคงที่ 1=20) หรือR3 (ค่าคงที่ 1=30)
บรรจุภัณฑ์ เกณฑ์เป็น R1 (ค่าคงที่ 1=10) หรือR2 (ค่าคงที่ 1=20)
วัสดุอื่นๆ เกณฑ์เป็น R1 (ค่าคงที่ 1=10)
สำหรับค่าคงที่ 2 ที่ใช้เป็นตัวคูณสำหรับสารตัวหลัก = 3 บรรจุภัณฑ์ = 2 และวัสดุอื่นๆ = 1
(ตามตารางที่กำหนดไว้ข้างต้น) คราวนี้มาดูผลรวมกัน
สารตัวหลัก 20x3 (R2) หรือ 30x3 (R3) เท่ากับ 60 หรือ 90
บรรจุภัณฑ์ 10x2 (R1) หรือ 20x2 (R2) เท่ากับ 20 หรือ 40
วัสดุอื่นๆ 10x1 เท่ากับ 10
ค่าของผลคูณในแต่ละรายการ มาจับบวกกันผมแนะนำให้ใช้ค่าที่มากที่สุดจะดีกว่านะครับเซฟหน่อย
ผลออกมาแล้วครับ 90 + 40 + 10 = 140
ผลรวมของตัวเลขที่ได้จะบอกความเสี่ยง ดังนี้
ระดับความเสี่ยงน้อย ผลรวมของตัวเลข น้อยกว่า 80
ระดับความเสี่ยงปานกลาง ผลรวมของตัวเลข ตั้งแต่ 80 - 120
ระดับความเสี่ยงสูง ผลรวมของตัวเลข สูงกว่า 120
จากตัวอย่างข้างต้นถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงสูง (140)
แต่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งนะครับการจำแนกระดับความเสี่ยงของคลังสินค้า ยึดหลักพิจารณาจากความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้เท่านั้น ดังนั้นจึงควรที่จะนำข้อกำหนดในการจัดเก็บแยกห่างและการจัดแบบแยกบริเวณ มาพิจารณาตามความเหมาะสมด้วย สำหรับการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์
สำหรับจำนวนเครื่องดับเพลิงมือถือนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยของการดับเพลิง โดยเครื่องดับเพลิงมือถือจะมีขนาดความจุต่างกันรวมถึงสารบรรจุก็มีหลายประเภท ดังนั้นจึงมีการกำหนดหน่วยของการดับเพลิงที่ต้องการสำหรับพื้นที่คลังสินค้า รวมถึงหน่วยของการดับเพลิงต่อเครื่องดับเพลิงมือถือ โดยมีรายละเอียดดังนี้
จำนวนหน่วยของการดับเพลิงสำหรับพื้นที่คลังสินค้า
สมมติว่าในคลังสินค้ามีการเก็บสารอันตรายที่เป็นสารไวไฟ มีบรรจุภัณฑ์เปล่าซึ่งผ่านการทำความสะอาดโดยมีสารไม่ไวไฟหลงเหลืออยู่และมีวัสดุอื่นที่ไม่ไวไฟเก็บอยู่ด้วย เราสามารถคำนวณได้ดังนี้
สารตัวหลักเป็นสารไวไฟ เกณฑ์เป็น R2 (ค่าคงที่ 1=20) หรือR3 (ค่าคงที่ 1=30)
บรรจุภัณฑ์ เกณฑ์เป็น R1 (ค่าคงที่ 1=10) หรือR2 (ค่าคงที่ 1=20)
วัสดุอื่นๆ เกณฑ์เป็น R1 (ค่าคงที่ 1=10)
สำหรับค่าคงที่ 2 ที่ใช้เป็นตัวคูณสำหรับสารตัวหลัก = 3 บรรจุภัณฑ์ = 2 และวัสดุอื่นๆ = 1
(ตามตารางที่กำหนดไว้ข้างต้น) คราวนี้มาดูผลรวมกัน
สารตัวหลัก 20x3 (R2) หรือ 30x3 (R3) เท่ากับ 60 หรือ 90
บรรจุภัณฑ์ 10x2 (R1) หรือ 20x2 (R2) เท่ากับ 20 หรือ 40
วัสดุอื่นๆ 10x1 เท่ากับ 10
ค่าของผลคูณในแต่ละรายการ มาจับบวกกันผมแนะนำให้ใช้ค่าที่มากที่สุดจะดีกว่านะครับเซฟหน่อย
ผลออกมาแล้วครับ 90 + 40 + 10 = 140
ผลรวมของตัวเลขที่ได้จะบอกความเสี่ยง ดังนี้
ระดับความเสี่ยงน้อย ผลรวมของตัวเลข น้อยกว่า 80
ระดับความเสี่ยงปานกลาง ผลรวมของตัวเลข ตั้งแต่ 80 - 120
ระดับความเสี่ยงสูง ผลรวมของตัวเลข สูงกว่า 120
จากตัวอย่างข้างต้นถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงสูง (140)
แต่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งนะครับการจำแนกระดับความเสี่ยงของคลังสินค้า ยึดหลักพิจารณาจากความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้เท่านั้น ดังนั้นจึงควรที่จะนำข้อกำหนดในการจัดเก็บแยกห่างและการจัดแบบแยกบริเวณ มาพิจารณาตามความเหมาะสมด้วย สำหรับการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์
สำหรับจำนวนเครื่องดับเพลิงมือถือนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยของการดับเพลิง โดยเครื่องดับเพลิงมือถือจะมีขนาดความจุต่างกันรวมถึงสารบรรจุก็มีหลายประเภท ดังนั้นจึงมีการกำหนดหน่วยของการดับเพลิงที่ต้องการสำหรับพื้นที่คลังสินค้า รวมถึงหน่วยของการดับเพลิงต่อเครื่องดับเพลิงมือถือ โดยมีรายละเอียดดังนี้
จำนวนหน่วยของการดับเพลิงสำหรับพื้นที่คลังสินค้า
คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียด
หน่วยของการดับเพลิงต่อเครื่องดับเพลิงมือถือ
หน่วยของการดับเพลิงต่อเครื่องดับเพลิงมือถือ
คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียด
ยกตัวอย่างนะครับ กรณีคลังสินค้ามีพื้นที่ 1,400 ตารางเมตร และเป็นพื้นที่ระดับความเสี่ยงสูง จากตารางข้างต้นจะได้จำนวนหน่วยการดับเพลิง เท่ากับ 108 + 18 + 18 = 144 หน่วย
ดังนั้นจะได้ว่าถ้าเราใช้ถังดับเพลิงมือถือชนิดผงเคมีแห้ง ABC
ถ้าเลือกถังขนาด 6 กิโลกรัม ต้องจัดเตรียมทั้งสิ้นจำนวน 24 ถัง หรือว่าเราจะใช้
ถังขนาด 6 กิโลกรัม จำนวน 12 ถัง และถังขนาด 12 กิโลกรัม จำนวน 6 ถัง
แล้วถ้าคลังสินค้าของเรามีระดับความเสี่ยงเป็นระดับอื่นละ แต่พื้นที่ 1,400 ตารางเมตร
พื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับเล็กน้อย ก็ใช้ถังดับเพลิงขนาด 6 กิโลกรัม จำนวน 8 ถัง
พื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง ก็ใช้ถังดับเพลิงขนาด 6 กิโลกรัม จำนวน 16 ถัง
ส่วน Fire Rating ที่ใช้ก้อดูได้จากบทความก่อนหน้านี้ได้ครับ อยากบอกว่าอาจจะไม่สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดนะครับเพราะ่ว่าเป็นคนละมาตรฐานกัน แต่วิธีนี้ก็ถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหาจำนวนถังดับเพลิง ผมว่าเอาไว้พิจารณาเป็นไอเดียในการเลือกใช้ได้เหมือนกันนะครับ ลองเอาไปประยุกต์ใช้ได้นะครับ สำหรับคราวหน้าผมว่าจะเอาเรื่องอาคารสีเขียว (Green Building) มาฝากกันเพราะเห็นช่วงนี้มีกฎหมายเกี่ยวกับการอนุัรักษ์พลังงานออกมาใหม่ๆ หลายฉบับ
ไว้คอยติดตามอ่านกันได้นะครับ
ยกตัวอย่างนะครับ กรณีคลังสินค้ามีพื้นที่ 1,400 ตารางเมตร และเป็นพื้นที่ระดับความเสี่ยงสูง จากตารางข้างต้นจะได้จำนวนหน่วยการดับเพลิง เท่ากับ 108 + 18 + 18 = 144 หน่วย
ดังนั้นจะได้ว่าถ้าเราใช้ถังดับเพลิงมือถือชนิดผงเคมีแห้ง ABC
ถ้าเลือกถังขนาด 6 กิโลกรัม ต้องจัดเตรียมทั้งสิ้นจำนวน 24 ถัง หรือว่าเราจะใช้
ถังขนาด 6 กิโลกรัม จำนวน 12 ถัง และถังขนาด 12 กิโลกรัม จำนวน 6 ถัง
แล้วถ้าคลังสินค้าของเรามีระดับความเสี่ยงเป็นระดับอื่นละ แต่พื้นที่ 1,400 ตารางเมตร
พื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับเล็กน้อย ก็ใช้ถังดับเพลิงขนาด 6 กิโลกรัม จำนวน 8 ถัง
พื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง ก็ใช้ถังดับเพลิงขนาด 6 กิโลกรัม จำนวน 16 ถัง
ส่วน Fire Rating ที่ใช้ก้อดูได้จากบทความก่อนหน้านี้ได้ครับ อยากบอกว่าอาจจะไม่สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดนะครับเพราะ่ว่าเป็นคนละมาตรฐานกัน แต่วิธีนี้ก็ถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหาจำนวนถังดับเพลิง ผมว่าเอาไว้พิจารณาเป็นไอเดียในการเลือกใช้ได้เหมือนกันนะครับ ลองเอาไปประยุกต์ใช้ได้นะครับ สำหรับคราวหน้าผมว่าจะเอาเรื่องอาคารสีเขียว (Green Building) มาฝากกันเพราะเห็นช่วงนี้มีกฎหมายเกี่ยวกับการอนุัรักษ์พลังงานออกมาใหม่ๆ หลายฉบับ
ไว้คอยติดตามอ่านกันได้นะครับ
วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การเลือกเครื่องดับเพลิงอย่างเหมาะสม
วันนี้ขอพูดถึงการเลือกถังดับเพลิงมือถือเสียหน่อย แต่เป็นการเลือกตามอัตราการดับเพลิง (Fire Rating) และจำนวนที่เหมาะสมในการติดตั้งนะครับ เข้าเรื่องเลยแล้วกัน
สำหรับในส่วนของกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย นั้นมีการระบุให้ติดตั้งถังดับเพลิงมือถือ โดยกฎกระทรวงในหลายฉบับระบุให้ติดตั้งชั้นละ 1 เครื่องต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร ส่วนขนาดนั้นให้ใช้ขนาดไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม (สำหรับผงเคมีแห้ง) แต่ถ้าดูในส่วนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม โรงงานต้องมีเครื่องดับเพลิง 1 เครื่อง ต่อ 100 ตารางเมตร มีขนาดไม่น้อยกว่า 5 กิโลกรัม (สำหรับผงเคมีแห้ง) คงจะเห็นความแตกต่างในข้อกำหนดของกฎหมายอยู่บ้าง
ส่วนมาตรฐานในการป้องกันอัคคีภัย ของ วสท. นั้นพอสรุปในรายละเอียดได้ ดังนี้
1. ขนาดและการติดตั้งเครื่องดับเพลิงประเภท ก. (Class A) สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้
โดยมีระยะทางเข้าถึงตัวเครื่องดับเพลิงสูงสุดไม่เกิน 23 เมตร
(คร่าวๆคือติดตั้งห่างกันไม่เกิน 46 เมตร)
2. ขนาดและการติดตั้งเครื่องดับเพลิงประเภท ข. (Class B) สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้
จะเห็นว่าระยะทางเข้าถึงตัวเครื่องดับเพลิงสูงสุดนั้นให้พิจารณาตามความอันตรายของพื้นที่ เช่นกรณีพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง ติดตั้งเครื่องดับเพลิง Rating 20B ระยะทางเข้าถึงตัวเครื่องดับเพลิงสูงสุดไม่เกิน 15 เมตร (คร่าวๆคือติดตั้งห่างกันไม่เกิน 30 เมตร)
คราวนี้มาลองดูตัวอย่างกันดีกว่า สมมติว่าอาคารหรือโรงงานของเรามีพื้นที่ 7,700 ตารางเมตร และจัดเป็นพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง มีการจัดเก็บวัสดุทั้งประเภท A และ B จะต้องจัดเตรียมเครื่องดับเพลิงจำนวนเท่าไหร่
จำนวนเครื่องดับเพลิงน้อยสุดที่จะต้องใช้ = 7,700/1,045 = 7.36 หรือ 8 เครื่อง
ตามตารางข้างต้นจะต้องเตรียมเครื่องดับเพลิงที่มี Rating อย่างน้อย 10A และ 20B (เลือกใช้ 20 B เพื่อว่าจะได้ติดตั้งห่างกันได้นิดนึง) ส่วนระยะในการติดตั้งนั้นถ้าจะให้ครอบคลุม ก็ให้ติดห่างกันประมาณ 30 เมตร ก็จะสอดคล้องกันครับ แต่พอติดตั้งในพื้นที่จริงๆแล้วระยะการเข้าถึงซึ่งวัดตามระยะการเข้าไปหยิบถังตามแนวทางเดินซึ่งอาจจะไม่ใช่แนวเส้นตรงเสมอไป เราอาจจะต้องเผื่อสำหรับการประเมินไว้อีกประมาณ 1.3-1.5 เท่า หรือต้องเตรียมไว้ 11 - 12 ถัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในการติดตั้งจริงจะต้องลงตำแหน่งในแบบแปลนจริงเพื่อจะได้กำหนดจำนวนที่เหมาะสมและถูกต้อง แล้วคราวนี้จะเลือกใช้เครื่องดับเพลิงหนักเท่าไหร่ สำหรับมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยของ วสท. ไม่ได้มีการระบุไว้ แต่ถ้าจะให้สอดคล้องกับกฎหมายก็ให้เลือกขั้นต่ำที่ 5 กิโลกรัม แต่ในความเห็นของผู้เขียนแล้ว ขนาดที่เหมาะสม สำหรับพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง ควรเลือกใช้ที่ 7 กิโลกรัม หรือ 15 ปอนด์ จะดีกว่า ซึ่งในประเด็นเรื่องขนาดน้ำหนักของเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสม ไว้วันหลังจะเอามาฝากนะครับ
(พอดีว่าไปอ่านเจอในคู่มือการจัดเก็บสินค้าอันตรายและสารอันตรายอย่างปลอดภัย ของ Thai-German Dangerous Goods Project (TG-DGP) ซึ่งในมาตรฐานสากลบางประเทศมีการนำขนาดน้ำหนักของเครื่องมือดับเพลิงมาคิดไว้ด้วย ดูแล้วน่าสนใจดี ไว้ติดตามอ่านกันได้นะครับ)
สำหรับในส่วนของกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย นั้นมีการระบุให้ติดตั้งถังดับเพลิงมือถือ โดยกฎกระทรวงในหลายฉบับระบุให้ติดตั้งชั้นละ 1 เครื่องต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร ส่วนขนาดนั้นให้ใช้ขนาดไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม (สำหรับผงเคมีแห้ง) แต่ถ้าดูในส่วนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม โรงงานต้องมีเครื่องดับเพลิง 1 เครื่อง ต่อ 100 ตารางเมตร มีขนาดไม่น้อยกว่า 5 กิโลกรัม (สำหรับผงเคมีแห้ง) คงจะเห็นความแตกต่างในข้อกำหนดของกฎหมายอยู่บ้าง
ส่วนมาตรฐานในการป้องกันอัคคีภัย ของ วสท. นั้นพอสรุปในรายละเอียดได้ ดังนี้
1. ขนาดและการติดตั้งเครื่องดับเพลิงประเภท ก. (Class A) สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้
โดยมีระยะทางเข้าถึงตัวเครื่องดับเพลิงสูงสุดไม่เกิน 23 เมตร
(คร่าวๆคือติดตั้งห่างกันไม่เกิน 46 เมตร)
2. ขนาดและการติดตั้งเครื่องดับเพลิงประเภท ข. (Class B) สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้
จะเห็นว่าระยะทางเข้าถึงตัวเครื่องดับเพลิงสูงสุดนั้นให้พิจารณาตามความอันตรายของพื้นที่ เช่นกรณีพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง ติดตั้งเครื่องดับเพลิง Rating 20B ระยะทางเข้าถึงตัวเครื่องดับเพลิงสูงสุดไม่เกิน 15 เมตร (คร่าวๆคือติดตั้งห่างกันไม่เกิน 30 เมตร)
คราวนี้มาลองดูตัวอย่างกันดีกว่า สมมติว่าอาคารหรือโรงงานของเรามีพื้นที่ 7,700 ตารางเมตร และจัดเป็นพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง มีการจัดเก็บวัสดุทั้งประเภท A และ B จะต้องจัดเตรียมเครื่องดับเพลิงจำนวนเท่าไหร่
จำนวนเครื่องดับเพลิงน้อยสุดที่จะต้องใช้ = 7,700/1,045 = 7.36 หรือ 8 เครื่อง
ตามตารางข้างต้นจะต้องเตรียมเครื่องดับเพลิงที่มี Rating อย่างน้อย 10A และ 20B (เลือกใช้ 20 B เพื่อว่าจะได้ติดตั้งห่างกันได้นิดนึง) ส่วนระยะในการติดตั้งนั้นถ้าจะให้ครอบคลุม ก็ให้ติดห่างกันประมาณ 30 เมตร ก็จะสอดคล้องกันครับ แต่พอติดตั้งในพื้นที่จริงๆแล้วระยะการเข้าถึงซึ่งวัดตามระยะการเข้าไปหยิบถังตามแนวทางเดินซึ่งอาจจะไม่ใช่แนวเส้นตรงเสมอไป เราอาจจะต้องเผื่อสำหรับการประเมินไว้อีกประมาณ 1.3-1.5 เท่า หรือต้องเตรียมไว้ 11 - 12 ถัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในการติดตั้งจริงจะต้องลงตำแหน่งในแบบแปลนจริงเพื่อจะได้กำหนดจำนวนที่เหมาะสมและถูกต้อง แล้วคราวนี้จะเลือกใช้เครื่องดับเพลิงหนักเท่าไหร่ สำหรับมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยของ วสท. ไม่ได้มีการระบุไว้ แต่ถ้าจะให้สอดคล้องกับกฎหมายก็ให้เลือกขั้นต่ำที่ 5 กิโลกรัม แต่ในความเห็นของผู้เขียนแล้ว ขนาดที่เหมาะสม สำหรับพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง ควรเลือกใช้ที่ 7 กิโลกรัม หรือ 15 ปอนด์ จะดีกว่า ซึ่งในประเด็นเรื่องขนาดน้ำหนักของเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสม ไว้วันหลังจะเอามาฝากนะครับ
(พอดีว่าไปอ่านเจอในคู่มือการจัดเก็บสินค้าอันตรายและสารอันตรายอย่างปลอดภัย ของ Thai-German Dangerous Goods Project (TG-DGP) ซึ่งในมาตรฐานสากลบางประเทศมีการนำขนาดน้ำหนักของเครื่องมือดับเพลิงมาคิดไว้ด้วย ดูแล้วน่าสนใจดี ไว้ติดตามอ่านกันได้นะครับ)
วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552
เครื่องสูบน้ำดับเพลิงติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน
เครื่องสูบน้ำดับเพลิงถือว่าเป็นอุปกรณ์หลักของระบบดับเพลิงหรือจะบอกว่าเป็นหัวใจของระบบดับเพลิงเลยก็ว่าได้แต่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น (แต่จริงๆก้อพอรู้อยู่) จะบอกว่ามากกว่า 90% การติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในบ้านเรายังติดตั้งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐาน หาน้อยมากที่ติดตั้งได้สมบูรณ์ทุกข้อ แต่จากที่ได้สัมผัสมาด้วยตัวเอง คงต้องบอกว่าปัจจัยหลัก ที่ทำให้ทุกวันนี้ยังมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงไม่เป็นไปตามมาตรฐานนั้นสืบเนื่องจาก
1. งบประมาณที่ถูกจำกัดโดยเจ้าของโครงการ (ซึ่งข้อนี้จริงๆ ก้อไม่ใช่เรื่องใหญ่ถ้าอธิบายให้เข้าใจ)
2. ความไม่เข้าใจของผู้ติดตั้งเกี่ยวกับมาตรฐานในการติดตั้ง (ข้อนี้ส่วนใหญ่แล้วแก้ไขได้สบายมาก)
วันนี้เลยขอยกประเด็นที่สำคัญที่สุด มาเป็นตัวอย่างและเป็นประเด็นหลัก ที่พบว่ายังผิดอยู่จนถึงทุกวันนี้ นั่นคือการเลือกชนิดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และถ้าผิดไปแล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง
เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันเรามีมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ที่ร่างโดยวิศวกรรมสถานแห่้งประเทศไทย มีใช้มาตั้งแต่ปี 2544 และใช้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการออกแบบเรื่อยมา โดยเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่มีการใช้งานนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท หลักๆ คือ
1. Centrifugal Fire Pump ซึ่งเครื่องสูบน้ำลักษณะนี้ให้ติดตั้งในกรณีที่ระดับน้ำใช้งานอยู่สูงกว่าตัวเครื่องสูบน้ำ (หรือถังน้ำอยู่บนดินและปั๊มก็อยู่ข้างๆนั่้นเอง)
2. Vertical Turbine Fire Pump จะใช้ในกรณีที่แหล่งน้ำอยู่ต่ำกว่าเครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยที่แหล่งน้ำอาจจะอยู่ในรูปของ ถังเก็บน้ำ สระน้ำ หรือแม่น้ำ เป็นต้น
แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่ามีการนำเครื่องสูบน้ำชนิด Centrifugal ไปใช้กับแหล่งน้ำดับเพลิงที่อยู่ต่ำกว่าตัวเครื่องสูบน้ำเป็นประจำเสมอ สืบเนื่องจากเครื่องสูบน้ำชนิด Vertical Turbine มีราคาที่สูงกว่าเครื่องสูบน้ำชนิด Centrifugal ประมาณ 30% ซึ่งประเด็นนี้ถ้าทางผู้เกี่ยวข้องได้มีการทำความเข้าใจให้กับทางเจ้าของโครงการ เปรียบเทียบผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นผมว่าราคาที่ต่ำกว่าคงเ่ทียบไม่ได้กับความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วถ้าเกิดอาคารหรือโรงงานของเราติดตั้งผิดมาตรฐานไปแล้วละจะทำยังไง ซึ่งประเด็นนี้ก็ถือว่าสำคัญเพราะถ้ามีการติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐานแต่ไม่มีการบำรุงดูแลรักษาที่ดีพอก็คงมีค่าไม่ต่างอะไรกัน ดังนั้นผมจึงขอเสนอแนวทางเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อมกรณีที่เครื่องสูบน้ำของเราติดตั้งเป็นชนิด Centrifugal Pump และถังเก็บน้ำอยู่ต่ำกว่าตัวเครื่องสูบน้ำ ดังนี้
1. ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ Foot Valve รั่วหรือกักน้ำไม่อยู่ ซึ่งประเด็นนี้คงต้องอาศัยการสังเกตจากการทดสอบประจำสัปดาห์ โดยถ้าเป็นเครื่องสูบน้ำชนิดเครื่องยนต์ดีเซลแล้วนั้นควรเดินเครื่องอย่างน้่อย 30 นาที โดยเดินเครื่อง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนชนิดที่เป็นมอร์เตอร์ไฟฟ้าเดินเครื่องประมาณ 10 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยให้สังเกตจากความดันในระบบ วาล์วระบายความดันส่วนเกิน อุณหภูมิเครื่องยนต์ เหล่านี้เป็นต้น พูดง่ายๆ คือว่าปั๊มดูดน้ำขึ้นหรือเปล่า
2. จะต้องมีส่วนล่อน้ำ(Priming Tank) ซึ่งในกรณีที่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแล้วดูดน้ำไม่ขึ้นจะำได้ใช้งานได้ทันท่วงที
สำคัญที่สุดคือการทดสอบระบบถ้ามีการทดสอบเป็นประจำก็เหมือนเป็นการเตรียมความพร้อมและทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทดสอบแต่ละครั้งค่าน้ำมันไม่มากหรอกครับ อย่าลืมละเดินเครื่องนานๆ หน่อยนะ
1. งบประมาณที่ถูกจำกัดโดยเจ้าของโครงการ (ซึ่งข้อนี้จริงๆ ก้อไม่ใช่เรื่องใหญ่ถ้าอธิบายให้เข้าใจ)
2. ความไม่เข้าใจของผู้ติดตั้งเกี่ยวกับมาตรฐานในการติดตั้ง (ข้อนี้ส่วนใหญ่แล้วแก้ไขได้สบายมาก)
วันนี้เลยขอยกประเด็นที่สำคัญที่สุด มาเป็นตัวอย่างและเป็นประเด็นหลัก ที่พบว่ายังผิดอยู่จนถึงทุกวันนี้ นั่นคือการเลือกชนิดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และถ้าผิดไปแล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง
เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันเรามีมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ที่ร่างโดยวิศวกรรมสถานแห่้งประเทศไทย มีใช้มาตั้งแต่ปี 2544 และใช้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการออกแบบเรื่อยมา โดยเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่มีการใช้งานนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท หลักๆ คือ
1. Centrifugal Fire Pump ซึ่งเครื่องสูบน้ำลักษณะนี้ให้ติดตั้งในกรณีที่ระดับน้ำใช้งานอยู่สูงกว่าตัวเครื่องสูบน้ำ (หรือถังน้ำอยู่บนดินและปั๊มก็อยู่ข้างๆนั่้นเอง)
2. Vertical Turbine Fire Pump จะใช้ในกรณีที่แหล่งน้ำอยู่ต่ำกว่าเครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยที่แหล่งน้ำอาจจะอยู่ในรูปของ ถังเก็บน้ำ สระน้ำ หรือแม่น้ำ เป็นต้น
แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่ามีการนำเครื่องสูบน้ำชนิด Centrifugal ไปใช้กับแหล่งน้ำดับเพลิงที่อยู่ต่ำกว่าตัวเครื่องสูบน้ำเป็นประจำเสมอ สืบเนื่องจากเครื่องสูบน้ำชนิด Vertical Turbine มีราคาที่สูงกว่าเครื่องสูบน้ำชนิด Centrifugal ประมาณ 30% ซึ่งประเด็นนี้ถ้าทางผู้เกี่ยวข้องได้มีการทำความเข้าใจให้กับทางเจ้าของโครงการ เปรียบเทียบผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นผมว่าราคาที่ต่ำกว่าคงเ่ทียบไม่ได้กับความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วถ้าเกิดอาคารหรือโรงงานของเราติดตั้งผิดมาตรฐานไปแล้วละจะทำยังไง ซึ่งประเด็นนี้ก็ถือว่าสำคัญเพราะถ้ามีการติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐานแต่ไม่มีการบำรุงดูแลรักษาที่ดีพอก็คงมีค่าไม่ต่างอะไรกัน ดังนั้นผมจึงขอเสนอแนวทางเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อมกรณีที่เครื่องสูบน้ำของเราติดตั้งเป็นชนิด Centrifugal Pump และถังเก็บน้ำอยู่ต่ำกว่าตัวเครื่องสูบน้ำ ดังนี้
1. ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ Foot Valve รั่วหรือกักน้ำไม่อยู่ ซึ่งประเด็นนี้คงต้องอาศัยการสังเกตจากการทดสอบประจำสัปดาห์ โดยถ้าเป็นเครื่องสูบน้ำชนิดเครื่องยนต์ดีเซลแล้วนั้นควรเดินเครื่องอย่างน้่อย 30 นาที โดยเดินเครื่อง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนชนิดที่เป็นมอร์เตอร์ไฟฟ้าเดินเครื่องประมาณ 10 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยให้สังเกตจากความดันในระบบ วาล์วระบายความดันส่วนเกิน อุณหภูมิเครื่องยนต์ เหล่านี้เป็นต้น พูดง่ายๆ คือว่าปั๊มดูดน้ำขึ้นหรือเปล่า
2. จะต้องมีส่วนล่อน้ำ(Priming Tank) ซึ่งในกรณีที่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแล้วดูดน้ำไม่ขึ้นจะำได้ใช้งานได้ทันท่วงที
สำคัญที่สุดคือการทดสอบระบบถ้ามีการทดสอบเป็นประจำก็เหมือนเป็นการเตรียมความพร้อมและทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทดสอบแต่ละครั้งค่าน้ำมันไม่มากหรอกครับ อย่าลืมละเดินเครื่องนานๆ หน่อยนะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)