วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

แรงดันในระบบดับเพลิง



วันนี้ตั้งชื่อหัวข้อดูกว้างๆไปหน่อยนะครับ เพราะว่าตอนแรกตั้งใจจะเขียนแค่การควบคุมแรงดันในระบบดับเพลิง แต่เมื่อวานไปตรวจโรงงานมา ทาง Lead Auditor ก็ถามทางผู้ถูกตรวจว่าทำไมแรงดันในระบบถึงมีแค่ 120 psi. เพราะถ้าดูจากหน้าเครื่องสูบน้ำแล้วแรงดันอยู่ที่ 160 psi. ทางคนตอบก็ตอบไปตามความเข้าใจ ซึ่งผมก็มองว่ามันไม่ผิดอะไร แต่ในใจก็คิดตามไปด้วยว่าทำไมมันถึงลดลงได้ขนาดนี้ ก็เลยเป็นที่มาของเรื่องในวันนี้ ขอเรียงเป็นลำดับขั้นตอนตามแนวคิดหน่อยครับ

1. ความดันในระบบที่ปลายทาง อ่านค่าได้ 120 psi และที่ห้องเครื่องสูบน้ำอ่านค่าได้ 160 psi

ถ้าเมื่อก่อนผมจะประเมินว่าอาจมีการรั่วไหลของท่อดับเพลิงในระบบ แต่พอมาในระยะหลัง พบว่าในบางครั้งปัญหานี้ กลับเกิดมาจากความไม่เที่ยงตรงของอุปกรณ์วัด เช่น Pressure Gauge และอุปกรณ์ประกอบ ได้แก่ Needle Valve ซึ่งก็เป็นเรื่องง่ายที่อาจจะมองข้าม เพราะผมเคยเดินหาแนวท่อที่คิดว่าน่าจะรั่ว แต่สุดท้ายกลับกลายว่าเกิดจาก อุปกรณ์วัดไปได้

แล้วถ้าอุปกรณ์วัดยังทำงานเป็นปกติละ สำหรับ Case เมื่อวานผมมองว่ามันมีความเป็นไปได้ที่ระบบท่อเมนต่างๆ นั้นค่อนข้างเล็ก (ดูจากท่อเมนและขนาดของ Fire Pump) ทำให้เกิด Loss ในระบบที่ค่อนข้างมาก

และถ้าเกิดไม่ใช่ทั้งสองกรณีข้างต้น ก็คงต้องดูว่าระบบท่อและวาล์วมีปัญหาอะไรตรงไหนหรือเปล่า

แต่โดยทั่วไปแล้วถ้าพบว่ามีการรั่วในระบบท่อดับเพลิง ก็จะสังเกตเห็นได้ว่าเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump) ทำงานค่อนข้างถี่กว่าปกติ ดังนั้นการตั้งค่าจุด Start ของ Jockey Pump และ Fire Pump ก็ควรจะต้องยึดตามมาตรฐานด้วย (กำหนดให้ต่ำกว่า System Pressure 5 psi. และ 15 psi. ตามลำดับ)

2. เมื่อมองความดันในระบบที่ปลายทางสูงเกิน 100 psi. แล้วอุปกรณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากการใช้งานนั้นมีหรือเปล่า




สำหรับตัวอย่างรูปที่ยกมาให้ดูนั้น สังเกตว่าจะมีการติดตั้ง Pressure Restricting Valve ไว้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้อุปกรณ์ โดยตามมาตรฐาน NFPA ระบุไว้ว่าถ้าแรงดันใช้งานสูงเกิน 100 psi ก็จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ลดแรงดันไว้
ซึ่งในข้อนี้พบว่าหลายที่ไม่ได้มีการติดตั้งไว้

เข้าอบรมก่อนนะครับ เผื่อว่ามีเรื่องอะไรน่าสนใจจะเอามาฝากกัน





10 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ10/19/2556 12:39 ก่อนเที่ยง

    ประสบการณ์ของผมที่ pressure gauge แสดงค่าไม่ตรง บ่อยครั้งเป็นที่ snubber มันตันครับ ถอดออก หรือเปลี่ยนตัวใหม่มักจะหาย

    อีกอย่างเป็น head loss ครับ หากระดับความสูงของจุดติดตั้งมาตรวัดแรงดันทั้งสองต่างกันมากๆ

    และขอเสริมว่า ในกรณีไม่มีการไหล (ระบบเป็น static) แรงดันที่ระดับความสูงเดียวกันจะเท่ากันเสมอ ไม่ขึันกับขนาดท่อครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

      ประมุข

      ลบ
  2. มีกฎหมายเกี่ยวกับแรงดันน้ำในท่อดับเลิงไมคับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ในด้านกฎหมายไม่มีระบุครับ เพราะแรงดันในระบบดับเพลิงจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของอาคารแต่ละอาคาร ถ้าจะหาเอกสารอ้างอิงในประเด็นเหล่านี้ ดูจากมาตรฐาน วสท. ก็ได้ครับ

      ลบ
  3. Needle Valve อย่างในรูป ที่ติดกับเกจ หาซื้อได้ที่ไหนครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลองโทรไปบริษัทฯ นะครับ

      บริษัท แมสเทคลิ้งค์ จำกัด
      59,61,63 ซอยโชคชัย 4 ซอย 84 ถนนโชคชัย 4 แขวง ลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
      โทร : (662) 942-1433 (14 Lines) แฟกซ์ : (662) 942-1320


      ประมุข

      ลบ
    2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
  4. ขอ อนุญาต ถามครับ ถ้าแรงดันในท่อน้ำ ของ ระบบดับเพลิง เกินกว่า ขีดที่กำหนดไว้ เกิดจากอะไรครับ และมีอันตราย รึปล่าว ครับ

    ตอบลบ
  5. ระบบปั๊มดับเพลิงที่ บริษัท ผม กำหนดแรงดัน ไว้คือ 150 psi แต่ตอนนี้ เกจ โชว์ เกิน 150 psi ทั้ง ต้นทางและปลายทาง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แรงดัน 150 psi น่าจะเป็นแรงดันในระบบตอนที่ระบบไม่ทำงาน ส่วนเกจน์ที่ติดตั้งในเส้นท่อ จุดอื่นๆ มีโอกาสสูงกว่า 150 psi ครับ บางแห่งเจอสูง กว่า 180 psi ส่วนมากจะเกินช่วงเวลากลางวัน ต้องบอกว่าอากาศบ้านเราร้อนครับ ยิ่งท่อเหล็กเดินเหนือพื้นดินด้วย ทำให้น้ำในเส้นท่อเกินการขยายตัว แรงดันก็เลยเกิน ซึ่งแก้ปัญหาคืออาจจะติด Relieve Valve ไว้ในระบบท่อพอแรงดันสูงเกินไป ก็ให้มันระบายออก ส่วนถ้าไม่ติด จะส่งผลต่ออุปกรณ์ไหม ตอบอย่างนี้ครับ วาล์วต่างๆ ในระบบดับเพลิง ถ้าดู Spec แล้ว Test Pressure จะสูงกว่า กว่า Class ของวาล์วพอสมควร แต่ถ้าในระยะยาว ก็อาจจะมีสึกหรอบ้างครับ เพราะรับแรงดันสูงกว่าปกติ เป็นเวลานาน

      ลบ