วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงถือว่าเป็นอุปกรณ์หลักของระบบดับเพลิงหรือจะบอกว่าเป็นหัวใจของระบบดับเพลิงเลยก็ว่าได้แต่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น (แต่จริงๆก้อพอรู้อยู่) จะบอกว่ามากกว่า 90% การติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในบ้านเรายังติดตั้งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐาน หาน้อยมากที่ติดตั้งได้สมบูรณ์ทุกข้อ แต่จากที่ได้สัมผัสมาด้วยตัวเอง คงต้องบอกว่าปัจจัยหลัก ที่ทำให้ทุกวันนี้ยังมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงไม่เป็นไปตามมาตรฐานนั้นสืบเนื่องจาก
1. งบประมาณที่ถูกจำกัดโดยเจ้าของโครงการ (ซึ่งข้อนี้จริงๆ ก้อไม่ใช่เรื่องใหญ่ถ้าอธิบายให้เข้าใจ)
2. ความไม่เข้าใจของผู้ติดตั้งเกี่ยวกับมาตรฐานในการติดตั้ง (ข้อนี้ส่วนใหญ่แล้วแก้ไขได้สบายมาก)

วันนี้เลยขอยกประเด็นที่สำคัญที่สุด มาเป็นตัวอย่างและเป็นประเด็นหลัก ที่พบว่ายังผิดอยู่จนถึงทุกวันนี้ นั่นคือการเลือกชนิดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และถ้าผิดไปแล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันเรามีมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ที่ร่างโดยวิศวกรรมสถานแห่้งประเทศไทย มีใช้มาตั้งแต่ปี 2544 และใช้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการออกแบบเรื่อยมา โดยเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่มีการใช้งานนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท หลักๆ คือ

1. Centrifugal Fire Pump ซึ่งเครื่องสูบน้ำลักษณะนี้ให้ติดตั้งในกรณีที่ระดับน้ำใช้งานอยู่สูงกว่าตัวเครื่องสูบน้ำ (หรือถังน้ำอยู่บนดินและปั๊มก็อยู่ข้างๆนั่้นเอง)

2. Vertical Turbine Fire Pump จะใช้ในกรณีที่แหล่งน้ำอยู่ต่ำกว่าเครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยที่แหล่งน้ำอาจจะอยู่ในรูปของ ถังเก็บน้ำ สระน้ำ หรือแม่น้ำ เป็นต้น
แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่ามีการนำเครื่องสูบน้ำชนิด Centrifugal ไปใช้กับแหล่งน้ำดับเพลิงที่อยู่ต่ำกว่าตัวเครื่องสูบน้ำเป็นประจำเสมอ สืบเนื่องจากเครื่องสูบน้ำชนิด Vertical Turbine มีราคาที่สูงกว่าเครื่องสูบน้ำชนิด Centrifugal ประมาณ 30% ซึ่งประเด็นนี้ถ้าทางผู้เกี่ยวข้องได้มีการทำความเข้าใจให้กับทางเจ้าของโครงการ เปรียบเทียบผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นผมว่าราคาที่ต่ำกว่าคงเ่ทียบไม่ได้กับความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วถ้าเกิดอาคารหรือโรงงานของเราติดตั้งผิดมาตรฐานไปแล้วละจะทำยังไง ซึ่งประเด็นนี้ก็ถือว่าสำคัญเพราะถ้ามีการติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐานแต่ไม่มีการบำรุงดูแลรักษาที่ดีพอก็คงมีค่าไม่ต่างอะไรกัน ดังนั้นผมจึงขอเสนอแนวทางเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อมกรณีที่เครื่องสูบน้ำของเราติดตั้งเป็นชนิด Centrifugal Pump และถังเก็บน้ำอยู่ต่ำกว่าตัวเครื่องสูบน้ำ ดังนี้
1. ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ Foot Valve รั่วหรือกักน้ำไม่อยู่ ซึ่งประเด็นนี้คงต้องอาศัยการสังเกตจากการทดสอบประจำสัปดาห์ โดยถ้าเป็นเครื่องสูบน้ำชนิดเครื่องยนต์ดีเซลแล้วนั้นควรเดินเครื่องอย่างน้่อย 30 นาที โดยเดินเครื่อง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนชนิดที่เป็นมอร์เตอร์ไฟฟ้าเดินเครื่องประมาณ 10 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยให้สังเกตจากความดันในระบบ วาล์วระบายความดันส่วนเกิน อุณหภูมิเครื่องยนต์ เหล่านี้เป็นต้น พูดง่ายๆ คือว่าปั๊มดูดน้ำขึ้นหรือเปล่า
2. จะต้องมีส่วนล่อน้ำ(Priming Tank) ซึ่งในกรณีที่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแล้วดูดน้ำไม่ขึ้นจะำได้ใช้งานได้ทันท่วงที

สำคัญที่สุดคือการทดสอบระบบถ้ามีการทดสอบเป็นประจำก็เหมือนเป็นการเตรียมความพร้อมและทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทดสอบแต่ละครั้งค่าน้ำมันไม่มากหรอกครับ อย่าลืมละเดินเครื่องนานๆ หน่อยนะ

5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8/09/2552 10:08 หลังเที่ยง

    ใช้ได้เลยคับ มีพิมผิดนิดหน่อยนะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับ ตอนนี้แก้ไขให้เรียบร้อยแล้ว

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ2/15/2553 9:25 ก่อนเที่ยง

    อยากทราบราคา

    ตอบลบ
  4. ขอโทษนะครับ ราคาของเครื่องสูบน้ำหรือว่าราคาอะไรครับ ถ้าราคาเครื่องสูบน้ำก็ขอขนาด ของ Flow (gpm) และ Head (m) แล้วผมจะประเมินให้โดยประมาณแต่ถ้าอยากได้ราคาที่จะซื้อจริงเลย ก็ต้องโทรปรึกษาคนขายนะครับ ถ้าอยากได้เบอร์คนขายก้อเมล์มาแล้วกันจะส่งเบอร์ไปให้

    Pramuk P.
    pramuk@constructionaudit.biz

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอเบอร์ดีลเลอร์ปั้มหน่อยครับ chanchai_choo@hotmail.com และขอราคาคร่าวๆด้วยครับ Capacity 2000 GPM; Head 145 PSI ขอบคุณครับ

      ลบ