วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

การติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ

ก็มาถึงตอนสุดท้ายของเรื่องอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้กันแล้วนะครับ เลยเอาอุปกรณ์พื้นฐานของระบบมาให้เป็นข้อมูลกัน
สำหรับอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือนั้น มีด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. Single Action หรือจะหมายความว่าเป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุที่จะทำงานเมื่อกระทำในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น กด หรือ ดึง เพียงอย่างเดียวอุปกรณ์ก็จะทำงาน


สำหรับอุปกรณ์ลักษณะนี้มักใช้งานทั่วไปแต่จะพบว่าในหลายที่จะเจอปัญหามีคนมือบอนมากดเล่นหรือต้องการจะช่วยทดสอบสัญญาณว่าใช้งานได้หรือไม่ ทำให้ต้องมีการดัดแปลงอุปกรณ์ให้เป็น Double Action ข้อนี้แล้วแต่เห็นสมควรนะครับเพราะบางแห่งก็ไม่เคยเจอปัญหาพวกนี้

2. Double Action หรือจะหมายความว่าเป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุที่จะทำงานเมื่อกระทำในลักษณะสองขั้นตอน เช่น เปิดก่อนแล้วจึงกด หรือดึง ซึ่งก็แล้วแต่การออกแบบของแต่ละยี่ห้อ

แต่ตามความเห็นส่วนตัวนะครับประเภทที่เป็น Double Action การใช้งานจะซับซ้อนมากกว่าดังนั้นจึงจำเป็นต้องอธิบายให้คนที่ใช้งานเข้าใจว่าจะทำอย่างไร (ถึงแม้ว่าอุปกรณ์จะมีภาษาอังกฤษกำกับไว้) ซึ่งก็แก้ปัญหาคนมือบอนได้ในระดับหนึ่ง 555........

ก็ดีกันคนละอย่างนะครับไว้เลือกใช้กันนะครับ และข้อพิจารณาในการติดตั้งอุปกรณ์นั้น ได้แก่

1. ต้องติดตั้งในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน และอยู่ในพื้นที่ทุกทางเข้าออกและทางหนีไฟของแต่ละชั้นของอาคารที่สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก

2. ติดตั้งอยู่สูงจากพื้นระหว่าง 1.20-1.30 เมตร โดยระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือไม่เกิน 60 เมตร (วัดตามแนวทางเดิน)

3. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือแต่ละตัวต้องมีหมายเลขของโซนตรวจจับอยู่ที่อุปกรณ์ในลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน (ข้อนี้อาจทำเป็นสติกเกอร์มาติดไว้ที่ตัวอุปกรณ์ก็ได้)

และเช่นเคยครับมีของมาฝาก วันนี้ผมนำรูปวงจรชีวิตของอาคารมาฝากกันแต่จะฝากให้ผู้ออกแบบมากหน่อย

โดยวงจรชีวิตของอาคารนั้นเริ่มตั้งแต่ การออกแบบเบื้องต้น การก่อสร้าง การบำรุงรักษา การเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคาร จนถึงการรื้อถอน ซึ่งผู้ออกแบบทุกฝ่ายจำเป็นจะต้องคำนึงถึงการออกแบบและผลกระทบตลอดชีวิตของอาคารด้วย (ข้อมูลจากกรมโยธาธิการและผังเมือง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น