วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป

เหลือสองวันจะสิ้นเดือน ที่สำคัญต้องลงบทความให้ครบตามที่สัญญาไว้ด้วย 5555 ช่วงนี้ยุ่งจริงๆครับ นี่ก็เพิ่งไปอบรมให้กับกลุ่ม จป.ลำพูน กลับมาก้อดึกพอควร แต่ต้องขอชื่นชมนะครับว่า ชมรมจป. ที่นั่นรวมตัวกันได้เหนี่ยวแน่นดีและมีการจัดกิจกรรมตลอด ก้อยินดีนะครับถ้าจะให้ไปจัดอีก แต่คราวหน้าคงต้องเปลี่ยนตัววิทยากร น่าจะเบื่อผมกันแล้ว เข้าเรื่องดีกว่า

ระบบประกอบอาคารระบบหนึ่งที่ผมมักพบว่าถูกทอดทิ้งและไม่ค่อยมีใครเหลียวแล มากที่สุดระบบหนึ่งก็คือระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะกรณีที่ใช้เป็นระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปด้วยแล้วบอกได้เลยว่าบางที่ฝังลืมเลยจะมารู้ตัวอีกทีก้อตอนที่ระบบแย่แล้ว บางที่หนักถึงขั้นต้องขุดออกมาเพื่อติดตั้งถังใหม่ก็มี วันนี้ก็ขอนำข้อแนะนำสำหรับการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปมาฝากกัน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ดูแลว่าจะต้องเตรียมการอย่างไรบ้าง สำหรับข้อมูลที่นำมาเสนอนั้นผมนำมาจากเอกสารของบริษัทที่จำหน่ายถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งรายละเอียดการบำรุงรักษา จะเป็นถังที่มีขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ ไว้เอาไปปรับใช้ให้เหมาะกับแต่ละที่กันดู นะครับ

ข้อแนะนำในการบำรุงดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
1. ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องเป่าอากาศ ถ้าหากมีน้อยเกินไปก็ให้เติมน้ำมันหรือจาระบีชนิดที่ใช้เฉพาะกับเครื่องของทางบริษัทฯ
2. ตรวจสอบตัวกรองอากาศของเครื่องเป่าอากาศ ถ้ามีฝุ่นละอองสะสมอยู่มากให้เป่าทำความสะอาดโดยใช้อากาศอัดเข้าไปเท่านั้น
3. ตรวจสอบตะกอนและของแข็งต่างๆ ซึ่งอาจทับถมอยู่ในช่องบำบัดส่วนต่างๆ ถ้าหากมีตะกอนมากเกินไปให้ทำการสูบตะกอนเหล่านั้นออก โดยปกติการสูบตะกอนจะทำทุกๆ 2 ปี ในกรณีที่มีการทิ้งขยะหรือกระดาษชำระลงมามาก ช่วงเวลาที่ต้องทำการสูบตะกอนทิ้งก็จะสั้นเข้ามา
4. ตรวจสอบท่อเติมอากาศภายในถัง ถ้าหากมีการรั่วหรืออุดตันให้แก้ไขทันที
5. ตรวจสอบท่อสูบตะกอนกลับและท่อส่งอากาศ ถ้ามีการอุดตันให้แก้ไขทันที
6. ตรวจสอบคุณภาพน้ำตามตัวชี้วัดต่อไปนี้ BOD,SS,pH (เพื่อการประเมินขั้นต้น)

โดยการบำรุงดูแลรักษาในให้ทำเป็นประจำทุกๆ 3 เดือน

และวันนี้ผมนำรูปถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปที่แตกเสียหายมาฝากกัน สาเหตุไม่แน่ชัด แต่การสูบตะกอนออกจากถังหรือการติดตั้งถังใหม่ ระวังด้วยนะครับจะต้องมีน้ำอยู่ในถังประมาณ 1 ใน 3 เป็นอย่างน้อย (ข้อนี้ขอให้ปรึกษาผู้ผลิตนะครับ) ไม่อย่างนั้นความดันของดินโดยรอบจะดันให้ถังแตกเสียหายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น